Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
หญิงป้าหน้าโรงงาน
•
ติดตาม
5 ส.ค. 2020 เวลา 08:34 • สุขภาพ
Chapter 11 : น้ำตาลเป็นใคร ทำไมใครๆ ก็กลัวน้ำตาล!
คุณๆ ก็กล้าๆ กลัวๆ น้ำตาลกันอยู่ใช่มั้ยล่ะ!? มาๆๆ มาดูกันหน่อยสิว่าจริงๆ แล้วน้ำตาลเค้าน่ากลัวจริงหรือเปล่า
น้ำตาลจริงๆ แล้วคืออะไรอ่ะเหรอ จริง ๆ แล้ว น้ำตาล หรือ sugar เป็นสารประกอบคาร์โบไฮเดรต ซึ่งสามารถแบ่งตามโครงสร้างได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (monosaccharide) ที่จะคุ้นๆ หูพวกเราก็น่าจะเป็น glucose กับ fructose อ่ะนะ
2. น้ำตาลโมเลกุลคู่ (disaccharide) เช่น sucrose หรือที่เราคุ้นเคยกันก็คือ น้ำตาลทรายนั่นเองงงง
3. น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ (polysaccharide) ก็เช่น แป้ง กับไกลโคเจน
นี่คือป้ายกตัวอย่างแค่ที่คิดว่าพวกเราจะคุ้นๆ ชื่อกันนะจ๊ะ จะได้นึกภาพตามกันออก
เอาล่ะ ทีนี้ น้ำตาลแต่ละตัวมันเกี่ยวข้องพัวพันกับเรายังไงล่ะ...อันที่จริงแล้ว ร่างกายมนุษย์เราเนี่ย ต้องการน้ำตาลนะ เพราะร่างกายสามารถนำเอาน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไปใช้เป็นพลังงานในการดำรงชีวิตได้ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการเผาผลาญ การหายใจ ไปจนถึงกระบวนการขับของเสีย ก็ต้องใช้พลังงานจากน้ำตาลทั้งนั้นเลย พูดกันง่ายๆ กว่านี้ก็คือ เนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกายเรา ต้องการน้ำตาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลูโคส...ยกตัวอย่างอวัยวะสำคัญอย่างสมองของเราเนี่ย สมองต้องการกลูโคสวันละ 110-130 กรัมเลยนะฮะ
แต่เดี๋ยวก่อน! นี่ไม่ใช่ข้ออ้างในการยกโทรศัพท์มากดสั่งชานมไข่มุกนะจ๊ะพวกเธออออออ หยุดก่อนนน อ่านต่อก่อนนนน
สิ่งแรกที่ต้องจำให้ขึ้นใจเลยคือ สรรพสิ่งที่ธรรมชาติสรรสร้างมาเป็นอาหารให้เรานั้น ส่วนใหญ่แล้ว จะมีคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลปนมาด้วยอยู่แล้วนะจ๊ะ....และมักจะให้มาพร้อมกับวิตามินหรือแร่ธาตุต่างๆ ในนั้น...เช่น ผักคะน้า เห็นเขียวๆ อี๋ๆ นี่แหละ ในผักคะน้า 100 กรัมนั้น ธรรมชาติก็ยังอุตส่าห์ดีดคาร์โบไฮเดรตใส่มาให้ 6 กรัม นอกเหนือจากวิตามินเอ วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และอื่นๆ อีกมากมาย แต่นะ ในสรรพสิ่งทั้งหลาย ก็อาจจะประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต หรือน้ำตาลหลายๆ ชนิด อาจจะมีทั้งที่มาในรูปของเซลลูโลสหรือกากใย ที่ร่างกายย่อยไม่ได้ อันนี้ก็จะไปสร้างประโยชน์ให้เราในเรื่องระบบขับถ่ายไป แต่ถ้าเป็นคาร์บหรือน้ำตาลประเภทที่ร่างกายสามารถย่อยได้ ร่างกายก็จะย่อยออกมาให้อยู่ในรูปน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานให้กับเซลล์และเนื้อเยื่อต่อไปได้
ทีนี้..ถ้าคุณๆ เติมน้ำตาลลงไปด้วยล่ะ เช่น...ข้าวโพดหวานคลุกน้ำตาล....อูยยยยย....นัวใช่มั้ยล่ะ ข้าวโพดนี่ คาร์บนำหน้ามาเรยยย แล้วพี่ยังเติมน้ำตาลทราย หรือซุโครสเข้าไปด้วย /อร่อยแหละ พูดเลย/ แต่ร่างกายเอาน้ำตาลไปใช้ไม่หมดค่ะคุณ...ที่เหลือไปไหนจ๊ะ ร่างกายยังหวงไว้ค่ะ หวังว่าอาจจะมีสักวันที่คุณอดอยากปากแห้ง ร่างกายจะได้หยิบเอาน้ำตาลที่เกินๆ นั้นมาใช้ประโยชน์ต่อ
ดังนั้น...โน่นค่ะ ไปฝากไว้ที่ตับในรูปไกลโคเจน แล้วเมื่อมีมากเกินรับไหว ตับก็จะส่งต่อไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายในรูปของกรดไขมันฮ่ะ ซึ่งกรดไขมันพวกนี้ ก็จะถูกสะสมไว้ตามอวัยวะภายในต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ตับ ไต ...คุ้นๆ มั้ยคะ...ไหนๆ สารภาพมา ว่าใครตรวจสุขภาพแล้วหมอบอกว่า ยินดีด้วย คุณมีไขมันเกาะตับแล้ววววว!
เหรียญมีสองด้านค่ะคุณ น้ำตาลก็เช่นกัน จะขาดไปเลยก็ไม่ได้ แต่มากไปก็เป็นพิษ
คำแนะนำจากหลายสำนักเลยก็คือ...ยับยั้งชั่งใจ และ “หยุด” เติมน้ำตาลส่วนเพิ่มลงไปในอาหารของคุณค่ะ
ตัวอย่างง่าย ๆ ให้เห็นภาพ นอกจากข้าวโพดหวานคลุกน้ำตาลที่ว่าไปแล้วนั้น ก็เช่น นมรสหวานจ้ะ ในนมสดนั้น มีแลคโตส ซึ่งเป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอยู่แล้วฮ่ะ ไม่ต้องไปเพิ่มหวานจากซูโครสเข้าไปอีกหรอกนะที่รัก ร่างกายมนุษย์เราต้องการน้ำตาลกรุบกริบ ถ้าให้มากไป มันจะไปพอกไว้ที่ตับไตไส้พุง และต้นขาของเธอนะจ๊ะ!
จบแหละวันนี้ ป้าก็หวังว่าครั้งต่อไปที่คุณๆ จะเปิดกระปุกน้ำตาล จะคิดถึงป้า และตับไตไส้พุงของตัวเองก่อนตักน้ำตาลไปเพิ่มในอาหารกันนะจ๊ะ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย