5 ส.ค. 2020 เวลา 10:31 • ประวัติศาสตร์
เปิดประวัติภัยพิบัติเชอร์โนบีล จากเรื่องจริงสู่ภาพยนตร์และซี่รี่
เหตุการณ์เริ่มขึ้น ณวันที่ 25-26 เมษายน 1986 เกิดอุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เลวร้ายที่สุดในโลก ในพื้นที่ที่ปัจจุบันคือเมือง เชอร์โนบิล ซึ่งตั้งอยู่ ทางตอนเหนือของประเทศยูเครน โดยหลังจากผ่านมากว่า 30 ปี นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่าพื้นที่รอบๆ โรงงานไม่สามารถอยู่อาศัยไปอีกราว 20,000 ปี
- เชอร์โนบิล (Chernobyl) ตั้งอยู่ในเขตของ เมืองพริเพียต (Pripyat) ประเทศยูเครน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ในสมัยที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของอดีตสหภาพโซเวียต
-โครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งนี้เริ่มต้นขึ้นในปี 1977 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวโซเวียต ได้ติดตั้งเตาปฏิกรณ์แบบแชนแนลแกรไฟต์
-เมื่อวันที่ 25 เมษายน 1986 ขณะเจ้าหน้าที่กำลังจัดการทดสอบเตาปฏิกรณ์หมายเลข 4 ว่า ระบบหล่อเย็นยังคงทำงานได้ตามปกติหรือไม่ หากไม่มีพลังงานไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ระหว่างการทดสอบ เจ้าหน้าที่ได้ละเมิดเกณฑ์ความปลอดภัย และพลังงานในเตาปฏิกรณ์ได้พุ่งสูงขึ้น แม้จะพยายามปิดระบบเตาปฏิกรณ์ทั้งหมดแล้ว แต่พลังงานที่เพิ่มขึ่นก่อให้เกิดปฏิกริยาลูกโซ่ของการระเบิดภายใน ในที่สุด แกนหลักของนิวเคลียร์เกิดระเบิด และได้ปล่อยวัตถุกัมมันตรังสีสู่ชั้นบรรยากาศปกคลุมทางตะวันตกของสหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันออก ยุโรปตะวันตก ยุโรปเหนือ ทางการยูเครน เบลารุส และรัสเซีย ต้องอพยพประชากรมากกว่า 336,000 คน ออกจากพื้นที่อย่างฉุกเฉิน มีผู้ได้รับผลกระทบจากการระเบิดโดยตรงมากกว่า 600,000 คน มีผู้เสียชีวิตทันทีหลังการเกิดระเบิด 56 คน แต่ผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งจากการสัมผัสกัมมันตรังสีอาจสูงถึง 4,000 คน
- บริเวณป่าโดยรอบพื้นที่ที่เกิดการระเบิด มีชื่อใหม่ว่า “ป่าแดง” เนื่องจากรังสีนิวเคลียร์ทำให้ใบไม้กลายเป็นสีน้ำตาลแดงแทบทั้งหมด นอกจากนี้สัตว์ต่างๆ ที่อยู่ในละแวก 30 กิโลเมตรรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล ก็มีอัตราการตายก่อนอายุขัยสูงมากขึ้น อีกทั้งยังมียีนที่ผิดปกติ ไม่ใช่แค่ในสัตว์เท่านั้น แต่รังสีนิวเคลียร์ยังมีอานุภาพส่งถึงคนอีกด้วย ตัวอย่างก็คือ ตาของนักดับเพลิงที่ชื่อ "วลาดิมีร์ ปราวิก" เปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า
-อุบัติเหตุครั้งนี้เป็นหนึ่งในสองครั้งที่ได้รับการจัดความรุนแรงไว้ที่ระดับ 7 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดตามมาตราระหว่างประเทศว่าด้วยเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์
-รังสีที่แผ่ออกมาจากแร่ ยูเรเนียม235 เปรียบเสหมือนกระสุนที่สามารถวิ่งผ่านได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต เหล็ก อาคารบ้านเรือนแล้วนับประสาอะไรกับมนุษย์ ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ 1กรัมของแร่ที่แผ่รังสียูเรเนียมออกมาเท่ากับกระสุน หนึ่งพันล้านล้านนัด แล้วที่เชอร์โนบีลนั้นมีเจ้าสิ่งนี้อยู่ถึง3ล้านกรัม
-สาเหตุการระเบิด เพราะการผิดพลาดของผู้ควบคุมเครื่อง ความผิดพลาดของผู้ควบคุมเครื่องอาจจะเกิดจากการขาดความรู้ด้านฟิสิกส์ของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และวิศวกรรมนิวเคลียร์ รวมทั้งการขาดประสบการณ์และการฝึกอบรม ในช่วงเวลาของการเกิดอุบัติเหตุ เครื่องปฏิกรณ์ดำเนินการในขณะที่ระบบความปลอดภัยที่สำคัญหลายอย่างถูกปิด ที่สะดุดตาที่สุดได้แก่ระบบทำความเย็นแกนฉุกเฉิน (ECCS) LAR (ระบบควบคุมอัตโนมัติท้องถิ่น) และ AZ (ระบบลดพลังงานฉุกเฉิน) บุคลากรมีความเข้าใจไม่เพียงพอในรายละเอียดของขั้นตอนทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
-อาการที่ผู้รับรังสีโดยตรงจะได้พบเจอ ผิวหนังของพวกเขาเปลี่ยนสีแทบทุกวัน บางวันแดง น้ำเงิน ม่วง สุดท้ายก็จะดำลง ไขกระดูกทั้งหมดจะตาย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจะล่ม อวัยวะภายในจะเน่า เส้นเลือดจะรั่วออก อาการมันจะดำเนินแบบนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าพวกเขาจะตาย
-ปัจจุบันเมืองเชอร์โนบีล เปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมและนักท่องเที่ยวสายแนวผจญภัย แต่! ต้องมากับไกด์ที่ได้รับอนุญาติจากรัฐบาลและปฏิบัติตามกฏอย่างเคร่งครัด จะมีเกณท์ว่านักท่องเที่ยวจะเข้าไปได้ในระดับไหนบ้าง อันตรายน้อย-จนถึงมาก เป็นต้น
-ซึ่ง ซีรีย์ทางโทรทัศน์ HBO / Sky นำเหตุการณ์น่ากลัวเหล่านั้นกลับมามีชีวิตอีกครั้งเป็นที่โด่งดังและประสบความสำเร็จจากเวทีประกวด การสร้างเรื่องราวแห่งประวัติศาสตร์ขึ้นครั้งใหม่ครั้งนี้ ทำให้สายตาของผู้คนหันกลับไปมองภูมิภาคทางตอนเหนือของยูเครนมากขึ้น แม้ว่ามันอาจจะเป็นเรื่องที่อันตรายสำหรับการเข้าไปในพื้นที่ปนเปื้อนรังสี แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเดินชมซากปรักหักพังที่น่าขนลุกของเชอร์โนบิลและบริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทัวร์ที่ได้รับอนุญาตเข้าไปในเขตยกเว้น ในระยะ 30 กิโลเมตรรอบ ๆ
-เชอร์โนบีล เป็นสถานที่ที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนใครในโลกใบนี้ เป็นสถานที่ที่ธรรมชชาติฟื้นคืนชีพจากการล่มสลายของน้ำมือมนุษย์ เป็น สถานที่ที่เป็นเมืองร้างอย่างแท้จริง แม้พื้นที่ส่วนใหญ่ของเชอร์โนบีล จะเปิดรับนักท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี2554 แต่ท่าทีล่าสุดของผู้นำยูเครนก็มีแนวโน้มที่จะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบมืด หรือ Dark Tourism
-สารกัมมันตภาพรังสีที่ระเบิดในเหตุการณ์เชอร์โนบีล เมื่อเทียบกับระเบิดปรมานูที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ มีสารกัมมันตภาพรังสีมากกว่าระเบิดปรมาณูถึง200เท่า
-วรรณสิงห์ เคยเข้าไปถ่ายรายการในพื้นที่เมื่อปี2560(ออกอากาศทางช่อง Thai pbs) ในพื้นที่ไม่อนุญาติให้ดื่มน้ำหรืออาหารในพื้นที่โล่ง เหตุที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ดื่มกินทุกคนคงพออนุมาณได้ว่าอาจปนเปื้อนสารกัมมันภาพรังสีจากสภาวะแวดล้อมได้ตลอด(ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้คุณเป็นมะเร็งได้ในอนาคต) และห้ามจับสิ่งของใดๆในพื้นที่ รวมถึงห้ามกระทั่งการวางของลงบนพื้นไม่ว่าจะกล้อง กระเป๋า หรือใดๆก็ตาม
-ในระยะ10กิโลเมตรจากพื้นที่โรงงาน ให้ใส่หน้ากากเข้าตลอด และห้ามค้างคืนเด็ดขาด
-โดยทางรัฐบาล ยูเครน คาดว่าต้องใช้เวลาอีก 24000 ปี กว่าผู้คนจะกลับไปอยู่ในเมืองได้อย่างปลอดภัย
-ในตอนที่โรงไฟฟ้าระเบิดเจ้าหน้าที่ต่างพากันหาวิธีควบคุมแต่ไม่สำเร็จ จนสุดท้ายรัสเซียต้องใช้แท่งเหล็กมาครอบเตาปฏิกรณ์นิวเครียส *ต้องใช้เหล็กกล้ากว่า7000ตันในการหลอมแท่งเหล็กมาครอบเตาปฏิกรณ์นั้น
-แล้วไฟฟ้าไทยมาจากไหน มาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รึป่าว?
ปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมทั้งประเทศอยู่ที่ประมาณ 42,000 เมกะวัตต์ ซึ่งมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ หรือ 28,129 เมกะวัตต์ ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ อีกประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ ผลิตจากถ่านหิน ที่เหลือเป็นไฟฟ้าที่ได้จากเขื่อน พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวล แสงอาทิตย์ ลม และรับซื้อจากต่างประเทศ ได้แก่ ลาวและมาเลเซีย อีก 10 เปอร์เซ็นต์
-ดังนั้นจะเห็นว่าไทยใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก โดยโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ทั้งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และของเอกชน ส่วนมากเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซ
-แต่ปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังลดลงเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตไทยจะพึ่งพาก๊าซธรรมชาติได้น้อยลง หรืออาจต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศเพื่อผลิตไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ
-ขณะที่การใช้พลังหมุนเวียนในประเทศไทยยังมีน้อยอยู่ เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่หันมาให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนเพราะต้องการแก้ปัญหาโลกร้อน หลายประเทศ เช่น แคนาดา สวีเดน เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์ได้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตทั้งประเทศแล้ว
-ย้อนกลับมาที่ไทย หากไม่นับเขื่อนขนาดใหญ่ ทุกวันนี้โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในไทยที่ กฟผ.รับซื้อไฟฟ้ามีอยู่ 58 แห่ง และมีกำลังผลิตรวมอยู่ที่ประมาณ 1,300 เมกะวัตต์เท่านั้น หรือเท่ากับ 3 เปอร์เซ็นต์ (ข้อมูลเดือนมิถุนายน 2561) และทั้งหมดเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่มีกำลังผลิตต่ำกว่า 100 เมกะวัตต์
*ในประเทศยุโรป ซึ่งรวมไปถึงประเทศเยอรมันประกาศที่จะเลิกพึ่งพาพลังงานนิวเคลียร์ในอีก10ปีข้างหน้าแล้วหันมาใช้พลังงานทางเลือกพลังงานไฟฟ้ารวมถึงพลังงานทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ เป็นต้น
-ใครอยากดูซีรี่ Chernobyl แนะนำเลยครับ เป็นมินิซีรีส์จำนวน 5 ตอนจบ ตอนละ 1 ชั่วโมง สร้างโดย HBO แพร่ภาพเมื่อ 6 พฤษภาคม และจบเมื่อ 3 มิถุนายน 2019
โฆษณา