9 ส.ค. 2020 เวลา 04:41 • ความคิดเห็น
มิตินักข่าวเศรษฐกิจทำข่าวการเมือง เรื่องแก๊งตบทรัพย์ในสภาฯ
วันนี้เข้าเวรวันหยุด เลยได้แว๊บมาทำข่าว พรรคการเมือง
โชคดี เจอเจ้ากระทรวงทรัพย์ฯ ที่กำลังมีเผือกร้อน อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล แฉว่า มีอนุกรรมาธิการฯบางรายโทรศัพท์เรียกเงิน 5 ล้านบาทแลกกับการผ่านงบฯ
ถาม นายวราวุธ ศิลปอาชา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก็ตอบแบบคาดเดาได้ว่า
จะเรียกทุกฝ่ายที่อยู่ในที่ประชุมชี้แจงในรายละเอียดเรื่องที่เกิดขึ้น
แถมบอกว่า การถกเถียงแบบนี้ ท้ายสุดอาจไม่มีอะไร อาจเป็นการถกเถียง ข่มขู่กัน อาจจะไม่มีประเด็นอย่างที่เป็นข่าว
ก็ยังได้ยินเรื่องนี้ มาหลายทาง แหล่งข่าวยังพูดไม่ตรงกันเลย
วราวุธ บอกว่า ... หน่วยงานที่มีภารกิจงาน และงบประมาณมากขึ้น ที่จะมีข่าวในทำนองนี้ เรื่องอาจจะเป็นปกติของ(วราวุธ) แต่ค่อนข้างแปลกใจ สำหรับเรา
การที่ “อนุกรรมาธิการ ที่มีผลกับการตัดสินใจอนุมัติงบ (ภาษีของประชาชน) กำลังต่อรอง ผลปรโยชน์กับตัวเอง กับ ข้าราชการ (ที่มีหน้าที่รับใช้ประชาชน นี่คือความคิดในอุดมคติ)
เมื่อไหร่ก็ตามที่ ข้าราชการไม่ดี คล้อยตาม ข้อต่อรองเหล่านี้ ของคนพวกนี้ ... ประเทศเสียหายยับเยิน
เมื่อก่อนส่วนตัวเรากับเฉยๆ คำว่า คอร์รัปชั่น รู้สึกไกลตัวมาก
มาวันนี้ เจอบ่อยเหลือเกิน เข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้วว่า ทำไม ? ว่าทำไม ต้องมีสื่อมวลชน ทำหน้าที่ ตรวจสอบการทำงาน การทำหน้าที่ของพวกเขาเหล่านี้
ในมิติของนักข่าวเศรษฐกิจ มองต่อไปอีกว่า ถ้าไม่มีการโกงกิน เงิน หรือ โครงการต่างๆ งบประมาณ ถึงประชาชนรากหญ้าแบบ 100 % ไม่ใช่ หักหัวคิว หรือ เงินทอน
แน่นอนโครงการต่างๆ ถ้าเอาเงินลงไปหมุนจากฐานรากจริงๆ แบบ 100 บาท มันย่อมดีกว่า 70 บาท
แล้วถ้า มันก็หมุนขึ้นมาจากฐานราก วิ่งวนไปยัง cycle ของเศรษฐกิจอีกไม่ต่ำกว่า 3 รอบ แน่นอน ประชาชนตาดำๆ ย่อมได้กินได้ใช้ตามวงรอบเศรษฐกิจจากเงินที่รัฐบาลอนุมัติลงไป
แต่ถ้างบมันกลายเป็นทอน หรือ หักเป็นค่าน้ำชาให้กลุ่มเบี้ยใบ้รายทาง แน่นอนมันเข้าองค์กร เข้าบริษัทใด บริษัทหนึ่ง ที่มีหน้าตาเดิมๆ
โฆษณา