9 ส.ค. 2020 เวลา 13:23 • การศึกษา
เจ้าแก้วนวรัฐ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งมหานครเชียงใหม่
พระบรมฉายาลักษ์ เจ้าแก้วนวรัฐ Cr.เชียงใหม่นิว
วันนี้ผมได้เห็นโพสนึงในเฟสบุ๊ค มันทำให้ผมอยากจะย้อนเวลากลับไปยังสมัย100กว่าปีที่ผ่านมา มีเพจนึงได้เขียนโพสว่า ทางการได้รื้อเรือนจำเก่ากลางเมืองเชียงใหม่ แล้วจะสร้างอะไรให้เป็นสถานที่ที่มีประโยชน์กับชาวเชียงใหม่
บางคอมเม้นต์ก็บอกว่า สร้างลานจอดรถมั่ง สร้างสวนสาธารณะมั่ง ถ้าคิดเผินๆ ก็โอเคนะ เป็นประโยชน์ต่อสังคมด้วย แต่ใครจะรู้ว่าอดีตเรือนจำแห่งนี้มีตำนานที่ไม่ค่อยจะมีใครรู้ซักเท่าไหร่ เพราะมันคือ "คุ้มเวียงแก้ว"ในอดีตเป็นที่ประทับของเจ้านายฝ่ายเหนือและเป็นที่ราชการแผ่นดินอีกด้วย ก่อนจะมาเป็นเรือนจำในช่วงเวลาต่อมา
คุ้มแก้วนวรัฐ ถูกสร้างใหม่ แทนคุ้มเวียงแก้ว และย้ายไปตั้งในพื้นที่โรงเรียนยุพราชในปัจจุบัน แต่ปัจจุบันถูกรื้อถอนไปแล้ว
ตามเรื่องเล่าจากอดีต การทำลายคุ้มเวียงแก้ว และสร้างเรือนจำนั้นเป็นเพราะทางการสยามต้องการข่มดวงเมืองเชียงใหม่ ที่เคยเป็นราชธานีล้านนาประเทศ และต้องการลดอำนาจเจ้านายฝ่ายเหนือให้เชียงใหม่เป็นจังหวัดหนึ่งของไทยโดยสมบูรณ์และต่อมาก็ยกเลิกระบบเจ้าเมืองหลังเจ้าแก้วนวรัฐเจ้าเมืององค์สุดท้ายสิ้นพระชนลง และมาปกครองแบบผู้ว่าราชการแทน
เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าหลวงองค์สุดท้ายแห่งเมืองเชียงใหม่
พระราชประวัติ
เจ้าแก้วนวรัฐประสูติเมื่อวันที่29กันยายน2405 เป็พระราชโอรสในเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าหลวงองค์ที่7แห่งราชวงศ์ทิพย์จักร กับเจ้าแม่เขียวเทวี เจ้าแก้วนวรัฐเริ่มรับราชการเมื่อพระชนมายุได้15พรรษา ในรัชสมัยของพระบิดา ซึ่งในสมัยนั้นเจ้าหลวงเชียงใหม่มีสิทธิ์ปกครองอย่างเจ้าประเทศราชของสยาม ต้องถวายบรรณาการแก่กรุงสยามทุกๆ3ปี
ต่อมาเมื่อวันที่6มีนาคม2447 ได้รับพระราชทานให้ดำรงตำแหน่งพระมหาอุปราชเชียงใหม่ ในรัชกาลเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์เจ้าหลวงองค์ที่8 ครั้นสิ้นเจ้าอินทรวโรรสสุริยวงษ์พระเชษฐาสวรรคต พระเจ้าดารารัศมี พระชายาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกษ จึงทูลเกล้ากับพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ยกเจ้าแก้วนวรัฐเป็นเจ้าหลวงองค์ที่9 ครองนครเชียงใหม่ แทนพระราชโอรสของเจ้าอินทรวโรรสซึางยังทรงพระเยาว์อยู่
เจ้าแก้วนวรัฐประพาทโดยเสลียงสำรวจเมือง
พระราชกรณียกิจ
-ปี2420 เจ้าอินทวิชยานนท์ โปรดให้คุมราษฎรชาวเชียงใหม่-ลำพูน ไปสร้างบ้านเมืองที่เชียงแสนซึ่งตอนนั้นเป็นเมืองร้าง
-ปี2433 ยกพลไปปราบกบฎ พญาผาบ ที่อำเภอสันทราย โดยเหตุเกิดจากนายอากรขูดรีดภาษีราษฎรจนเกิดการรวมตัวกันต่อต้านและสังหารนายอากรจนเกิดการจราจลครั้งใหญ่
-ปี2445 ระงับเหตุเงี้ยว ก่อจารจลที่อำเภอฝาง
-ปี2464 ดำริให้มีการขุดบ่อกักเก็บน้ำมันอำเภอฝางและเป็นจุดเริ่มต้นบ่อน้ำมันดิบอำเภอฝางในปัจจุบัน
-ปี2464 สร้างสะพานนวรัฐ เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำปิง
จนปลายรัชสมัยเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองปี2475 ของสยามความสำคัญระบอบกษัตริย์หัวเมืองก็เริ่มลดบทบาทลง อำนาจของเจ้าหลวงก็ถูกแทนที่ด้วยข้าหลวงที่ส่งมาจากสยาม ในตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด
ปี พ.ศ.2482 เจ้าแก้วนวรัฐ สวรรคตด้วยโรคชรา ในวันที่ 3มิุนายน สิริพระชนมายุ 76 พรรษา ครองราชอยู่ 28ปี
กู่เจ้าแก้วนวรัฐ ณ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่
Cr.เชียงใหม่นิว
ฝากติดตามผลงานด้วยนะครับ
:หัวโบราณ
โฆษณา