12 ส.ค. 2020 เวลา 06:04 • การศึกษา
ลืมใบขับขี่ , พรบ.รถขาด ตำรวจมีอำนาจยึดรถ ได้หรือไม่ ???
สวัสดีครับ วันนี้เรามาพูดคุยกันเกี่ยวกับ
กรณีที่เราขับรถไปแล้ว
"ลืมใบขับขี่" , "พรบ.รถขาด"
เมื่อเจอด่านตรวจ หรือเจอตำรวจ
ตำรวจจะมีอำนาจ "ยึดรถ" ได้หรือไม่ ?
ในเรื่องนี้ผมขอหยิบยก คำพิพากษาของศาล
มาเทียบนะครับ
เป็นคำพิพากษาใน "คดีแพ่ง"นะครับ
โดยในคดีนี้โจทก์
ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากตำรวจ
จากการที่ตำรวจไปยึดรถ
ซึ่งคำพิพากษานี้ ได้อธิบายกรณี "ยึดรถ"
ไว้ค่อนข้างชัดเจนเลย
คำพิพากษาที่ว่าเป็นคำพิพากษาของ
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้
คดีหมายเลขดำที่ 9172/2542
คดีหมายเลขแดงที่ 8143/2546
ข้อเท็จจจริง มีว่า โจทก์ในคดีนี้เคย
ถูกตั้งข้อหาโดยจำเลย(ตำรวจ) ว่าโจทก์
- ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายสุด
-***ไม่พกพาใบขับขี่***
-ปลอมและใช้ใบประกันภัยฯปลอม
ซึ่งศาลในคดีนี้วินิจฉัย โดยมีใจความโดยสรุป ว่า
..ข้อหาดังกล่าวมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือ
พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
พรบ.จราจร พ.ศ.2522
พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522
พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522
ประมวลกฎหมายอาญา
ซึ่งตาม
พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 28
พรบ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 59
กฎหมายได้ให้อำนาจ "ยึดรถ" เฉพาะตามกรณีในมาตรา
ดังกล่าว
ส่วน
พรบ.พรบ.รถยนต์ พ.ศ.2522
พรบ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522
1
ไม่ได้ให้อำนาจ!!! นายทะเบียนหรือเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่ในการยึดรถที่มี
การกระทำผิดฝ่าฝืนตามพรบ.ดังกล่าวได้
((ซึ่งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับ
"ไม่พกใบขับขี่" อยู่ในกฎหมาย
พรบ.รถยนต์ฯ และ
พรบ.การขนส่งทางบกฯ))
ไม่ต่อ "พรบ.รถ" อยู่ในกฎหมาย
พรบ.รถยนต์ฯ))
เมื่อข้อกล่าวหาที่จำเลยถูกกล่าวหาไม่ต้องด้วยบทบัญญัติ
ที่จะยึดรถได้ จึงไม่มีอำนาจยึดรถ
และกรณีนี้ถือไม่ได้ว่ารถที่ถูกยึดมา
เป็นทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิด
หรือเป็นทรัพย์ซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด
หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้มาโดยได้กระทำความผิด
จึงไม่ต้องด้วยบทบัญยัติตามประมวลกฎหมายอาญา
ที่จะทำให้ตำรวจมีอำนาจยึดรถ
และที่จำเลย(ตำรวจ)อ่างว่า มีอำนาจยึดรถส่งไปตรวจ ตาม
ประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ข้อ 9.2 นั้น
เห็นว่า ระเบียบตาม ข้อ 9.2 ต้องเป็นกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ
ไม่ทราบว่า ใครเป็นเจ้าของรถหรือเป็นผู้มีสิทธิขอรับรถ
และรถนั้นต้องเป็นรถที่ ไม่มีแผ่นป้ายทะเบียน เท่านั้น
จึงจะสามารถยึดเพื่อนำไปตรวจสอบได้
ซึ่งผลสรุปในคดีนี้ ศาลได้ให้ทางจำเลย(สำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
ชดใช้ค่าเสียหาย
ตามพรบ.ความรับผิดทางละเมิดฯ ที่จำเลยที่2-3(ตำรวจ)
ได้กระทำไป
กล่าวโดยสรุปง่ายๆ จากคำพิพากษาดังกล่าว คือ
ในกรณี "ลืมใบขับขี่" , "พรบ.รถขาด" นั้น
กฎหมาย "ไม่ได้ให้อำนาจ" ตำรวจในการยึดรถ
จากสาเหตุดังกล่าวได้
โฆษณา