11 ส.ค. 2020 เวลา 09:12 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
11 สายพันธุ์สัตว์ประหลาดใต้ทะเลลึกในโลกปัจจุบัน ที่คุณอาจไม่เคยเห็นมาก่อน!!
สิ่งที่น่ากลัวกว่าสิ่งอื่นใด..ก็คือความกลัวของเราเอง
มหาสมุทรของโลกเราช่างกว้างใหญ่ แน่นอนว่าเรารู้จักปะการังและปลาหลากหลายชนิดที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ผิวน้ำสีครามเหล่านั้น หากแต่หลายคนอาจยังไม่ได้ตระหนักว่า ยังมีอีกหลายส่วนของทะเลเหลือเกินที่มนุษยชาติยังไม่ได้ทำการสำรวจเลยสักนิด
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมนุษย์ยังไม่ได้เข้าไปสำรวจ ก็ย่อมหมายความว่าทะเลยังมีความ เร้นลับซ่อนอยู่อีกมากมาย และด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีนั้น นักวิทยาศาสตร์จึงได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ใต้ทะเล มีสิ่งมีชีวิตมากมายใต้ทะเลลึกที่ไม่เคยรู้และไม่ เคยเห็นมาก่อน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นน่าตาจะเป็นอย่างไรบ้างไปชมกันครับ
1.ปลาพระอาทิตย์ (Ocean sunfish)
ปลาที่มีชีวิตอยู่ใต้ท้องน้ำทะเลที่ลึกมากจนแสงอาทิตย์แทบจะไม่สามารถส่องลงไปได้ถึง ขนาดน้ำหนักของมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1 ตัน
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า โมลา โมลา (mora mora) เป็นปลาขนาดใหญ่ที่มีลักษณะแปลกมากๆ ลำตัวของมันนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม ส่วนหัวมีขนาดใหญ่มากจนดูเหมือนว่าหัวหน่ะคือทั้งตัว ขณะที่ครีบมีขนาดสั้นมาก แลดูคล้ายคล้ายครีบของฉลามยังไงยังงั้น จึงทำให้พวกมันว่ายน้ำได้ช้า(แต่ก็ว่ายเร็วพอที่จะล่าเหยื่ออย่างแมงกระพุนมากินได้ ปากของมันมีลักษณะเหมือนปากนกแก้ว แต่อ้าค้างอยู่ตลอดเวลา)
พวกมันเป็นปลาที่บังคับทิศทางได้แย่สุดๆ (ไม่มีครีบหางเหมือนปลาทั่วไป) จึงเป็น เหตุให้พวกมันมักจะว่ายไปชนเรือลำใหญ่ๆอยู่บ่อยครั้ง
2
2.Megamounth Shark
พวกมันถูกพบได้ยากมาก จัดว่าเป็นหนึ่งในฉลามที่หายากที่สุดในโลก จากรายงาน Megamouth shark ถูกพบเพียงแค่ 39 ครั้ง และบันทึกภาพไว้ได้เพียง 3 ครั้งเท่านั้นครับ
เป็นฉลามน้ำลึกขนาดใหญ่ มันถูกพบครั้งแรกในปี 1976 โดยซากของมันไปติดอยู่กับสมอเรือรบ AFB 14 ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในตอนนั้นมันถูกมองว่าเป็นสัตว์ประหลาดที่มีความยาว 4.5 เมตร และหนักราว 3-4 ตัน มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ปากกว้างริมฝีปากเป็นหนังเหนียว ภายในปากเต็มไปด้วยฟันแหลมคมเหมือนเข็มยาวที่ยาวไม่เกิน 5 มิลลิเมตร เรียงกันอยู่จำนวน 7 แถว นักวิทยาศาสตร์ผู้ตรวจซาก ดร.ลีห์ตัน อาร์. เทย์เลอร์ พบว่าด้านบนของปากมีพื้นผิวสีเงินแวววาวสะท้อนแสง คาดว่ามันจะมีไว้เพื่อสะท้อนแสงล่อเหยื่อเข้ามากิน อย่างเช่นแพลงก์ตอนขนาดเล็ก
4
3.Gulper Eel ปลาไหลกัลเปอร์
1
ปลาไหลกัลเปอร์ มีลักษณะเด่น คือ สามารถเปลี่ยนรูปร่างเพื่อข่มขู่สัตว์นักล่าได้ อีกทั้งยังมีขากรรไกรที่ใหญ่กว่าลำตัว และขยายได้กว้างเพื่อเขมือบกินเหยื่อขนาดใหญ่กว่า
บ่อยครั้งที่เราได้เห็นการค้นพบสัตว์แปลก ๆ จากท้องทะเลลึก และครั้งล่าสุดนี้เป็นภาพที่เหล่านักวิทยาศาสตร์บนเรือวิจัย อีวี นอติลุส บันทึกไว้ได้ ขณะสำรวจมหาสมุทรแปซิฟิก ใกล้กับฮาวาย โดยเป็นภาพของ "ปลาไหลกัลเปอร์" (Gulper eel) ที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้อย่างน่าทึ่ง
1
ปลาไหลกัลเปอร์ เป็นปลาทะเลในวงศ์ Saccopharyngidae ที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกที่ระดับ 1,800 เมตร (6,000 ฟุต) มีลำตัวเรียวยาวสีดำไม่มีเกล็ด เมื่อโตเต็มวัยอาจยาวได้ถึง 2 เมตร
ลิงค์วิดีโอการกินอาหารของปลาไหลกัลเปอร์
4.Angler Fish ปลาแองเกลอ
ปลาแองเกลอ หรือ ดวงไฟมรณะ
เป็นปลาที่มีรูปร่างลักษณะที่น่ากลัวมาก จะอยู่ในทะเลน้ำลึก
ลึกมากจนแสงอาทิตย์ไม่สามรถที่จะส่องถึงได้ เป็นปลาที่ อาศัยอยู่ในน้ำลึกมากกว่า 200 เมตร
จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์จึงได้มีการคาดเดาว่า
ปลาแองเกลอวิวัฒนาการเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 130-100 ล้านปีที่แล้ว หรือในช่วงกลางของยุค cretaceous
2
5.ฉลามผี หรือปลาคิเมียรา (Chimaera)
เป็นปลากระดูกอ่อนในลำดับ Chimaeriformes โดยปลาคิเมียรานั้นเป็นญาติห่างจากปลาฉลามเนื่องจากการวิวัฒนการของพวกมันนั้นแยกตัวออกมาจากฉลามตั้งแต่ 400 ล้านปีที่แล้ว
ส่วนมากแล้วเราได้เจอตัวมันตามทะเลลึกโดยอยู่ที่ระดับความลึกถึง 2,600 เมตร แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่มันว่ายอยู่ที่ระดับน้ำลึกแค่ 200 เมตร
3
6.หมึกยักษ์ (Giant squid)
เป็นสัตว์ลึกลับที่พบเห็นได้ยากมากเพราะส่วนใหญ่มันจะอยู่แต่ใต้ทะเลลึกไม่ค่อยขึ้นมาบนผิวน้ำ ทำให้เรารู้เรื่องเกี่ยวกับหมึกชนิดนี้น้อยมาก มีบางครั้งที่มีการจับหมึกขนาดใหญ่นี้ได้หรือมีการพบซากมันโดนพัดมาเกยบนชายฝั่ง แต่แทบไม่เคยมีใครเห็นหมึกชนิดนี้ตอนยังมีชีวิตอยู่ ทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของมันยังคงเป็นปริศนาอยู่จนถึงทุกวันนี้
ภาพถ่ายหมึกยักษ์โดยทีมของ Tsunemi Kubodera ปี ค.ศ.2006
ภาพถ่ายหมึกยักษ์ตัวเต็มวัยที่ยังมีชีวิตอยู่ภาพแรกถ่ายขึ้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ.2002 ที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น มันถูกจับบริเวณใกล้ๆ ผิวน้ำหลังจากนั้นก็ถูกนำมาผูกติดไว้ใกล้ๆ ท่าเรือ แต่มันก็ตายลงในวันรุ่งขี้น หมึกยักษ์ตัวนี้มีขนาดประมาณ 4 เมตร และปัจจุบันก็ถูกนำมาตั้งแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ National Science Museum of Japan
7.Frilled Shark ปลาฉลามครุย
1
ปลาฉลามครุย Frilled shark เป็นปลาฉลามชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างประหลาดมากคล้ายปลาไหล อาศัยอยู่ในน้ำลึก 1,968 – 3,280 ฟุต
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chlamydoselachus anguineus ลักษณะลำตัวคล้ายปลาไหล มีหัวเหมือนงู เมื่อโตเต็มวัยจะมีลำตัวยาวกว่า 135-150 เซนติเมตร นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าฉลามชนิดนี้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ ยุคครีเทเซียส ประมาณ 65 ล้านปีก่อน แต่กลับเป็นที่ฮือฮาอีกครั้งเมื่อมีการค้นพบปลาดังกล่าวในเขตน้ำตื้นของญี่ปุ่นในปี 2007 ใกล้เมืองซิซุโอะ ภาคตะวันตกของกรุงโตเกียว ในตอนที่พบมันกำลังใกล้ตาย เพราะอุณหภูมิของน้ำที่ญี่ปุ่นสูงเกินไป
จากการวิเคราะห์เศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะพวกมัน พบว่า 61% ของอาหารที่พบเป็นกลุ่มปลาหมึก ทำให้สามารถอธิบายถึงลักษณะฟันของพวกมันได้ว่า พวกมันมีฟันที่เหมือนกับส้อมแหลม ที่ใช้เจาะเข้าไปในเนื้อนุ่ม ๆ ลื่น ๆ ของปลาหมึก เพื่อป้องกันไม่ให้เหยื่อตัวนั้นหลุดลอดไปได้ และแม้จะไม่มีใครเคยเห็นทักษะในการล่าเหยื่อของพวกมัน แต่คาดว่า พวกมันจะใช้การพุ่งโจมตีอย่างรวดเร็วเหมือนงู โดยซ่อนตัวอยู่ตามซอกหิน
3
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า พวกมันคือ “ฟอสซิลมีชีวิต” เนื่องจากรูปร่างของมันไม่น่าเปลี่ยนแปลงต่างจากในอดีตมากนัก และการอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 600-1,500 เมตร อาจทำให้พวกมันรอดตายจากเหตุการณ์โลกแตกที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปทั้งหมดก็เป็นได้
1
8.สตาร์เกเซอร์ (Northern Stargazer)
1
ขนาดตัวของมันเฉลี่ยแล้วจะยาวประมาณ 8-18 นิ้ว แต่สามารถเติบโตได้ถึง 22 นิ้ว มีหัวตาและปากขนาดใหญ่ มีสีดำ น้ำตาล และจุดสีขาว
ป็นสายพันธุ์ขของปลานักล่าที่ดุร้ายและสามารถซ่อนตัวได้อย่างแนบเนียนมาก มีใบหน้าอยู่ส่วนบนสุดของหัว เพราะฉะนั้นมันเลยเลือกที่จะซ่อนตัวอยู่พื้นทะเลเพราะสามารถระวังภัยจากนักล่าที่อยู่เหนือตัวมันได้ตลอดเวลา
2
ถึงแม้จะเชื่องช้า ทักษะการพรางตัวของมันก็ถือว่าสุดยอด พวกมันเป็นสัตว์มีพิษ แถมยังสามารถช็อคกระแสไฟฟ้าใส่เหยื่อได้อีกด้วย
1
ถึงมันจะไม่ใช่ปลาที่มีอันตรายต่อมนุษย์ แต่มันอาจทำให้เราขนหัวลุกได้ ถ้าไปเจอ หน้าตาแบบนี้เข้าไป โชคดี ที่มันไม่ได้มาอยู่แถวบ้านเรา เหอะๆ
2
9.ปลาหัวใส ( barreleye fish )
บริเวณส่วนหน้าที่เห็น 2 จุดเล็กนั้นไม่ใช่ ตาแต่เป็น อวัยวะรับกลิ่น
วยหัวปลาพันธ์นี้ที่คล้ายกับ ส่วนช่องคนขับเครื่องบินรบ ( fighter-plane cockpit ) ปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก (Pacific barreleye fish) หรือ (Macropinna microstoma)เป็น ปลาน้ำลึก ที่ถูกค้นพบอาศัยอยู่ในน้ำลึกมากกว่า 2000 ฟุต ( 600 เมตร ) บริเวณเขตน่านน้ำ แคริฟอร์เนียกลาง ( California’s central coast ) โดย Monterey Bay Aquarium Research Institute (MBARI) ซึ่งมันเป็นการค้นพบสายพันธ์ใหม่ของ ปลาที่มี หัวเป็นโดมโปร่งใส
1
ปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก (Pacific barreleye) มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 6 นิ้ว ( 15 เซ็นติเมตร ) บริเวณส่วนหน้าที่เห็น 2 จุดเล็กนั้นไม่ใช่ ตาแต่เป็น อวัยวะรับกลิ่น และที่เห็นเป็นโดมสีเขียวนั้นคือตัวกรองแสงอาทิตย์จากด้านบน และมีดวงตาเป็นจุดเล็กๆ ลางๆ เหนือรูรับกลิ่น ปลาบาร์เริลอายเป็นที่รู้จักแล้วมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1939 แต่สถาพในการค้นพบครั้งแรก ปลาได้เสียชีวิต และมีสภาพเสียหายอย่างมากจากการถูกจับได้ด้วยการลากอวน แต่รูปที่ได้เห็นชุดนี้ได้รับการบันทึกได้ในขณะมีชีวิต และมีสภาพสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552
จากการศึกษาจากเครื่องมือระยะไกล และจับมาศึกษา นายคิม ( Kim Reisenbichler ) กล่าวว่า พบว่าดวงตาของปลาบาร์เริลอายแปซิฟิก นั้นสามารถโฟกัส จับภาพเหยือได้เหมือนนกนักล่าทีเดียว
2
10.Goblin Shark ปลาฉลามกอบลิน
1
ฉลามกอบลินสามารถยาวได้ถึง 3.3 เมตร หนักได้ถึง 159 กิโลกรัม
ปลาฉลามสายพันธุ์น้ำลึกที่อาศัยอยู่ในระดับความลึกตั้งแต่ 2,000 - 3,000 ฟุตใต้ทะเล หรือประมาณ 610 - 914 เมตร นับว่าเป็นสายพันธุ์ฉลามที่อาศัยในระดับความลึกมากที่สุด
ฉลามจะมีอวัยวะพิเศษเรียกว่า ampullae of Lorenzini ซึ่งสามารถใช้จับคลื่นกระแสไฟฟ้าของสัตว์ที่อยู่รอบตัว ซึ่งลักษณะหัวที่ยื่นยาวของฉลามก็อบลิน John Carlson นักชีววิทยาทางทะเลมีความเห็นว่า น่าจะเพื่อขยายขอบเขตการรับสัญญาณไฟฟ้า ทำให้สามารถล่าเหยื่อได้ง่ายขึ้นในระดับความลึกที่แสงสว่างส่องไปไม่ถึง
1
ปลาฉลามก็อบลินในภาพ จับได้เป็นครั้งที่สองในบริเวณอ่าวเม็กซิโก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ซึ่งฉลามชนิดนี้จะพบได้ในประเทศบราซิล ฝรั่งเศส โคลอมเบีย แต่ส่วนใหญ่มักจะพบบริเวณประเทศญี่ปุ่น
1
11.แมงกะพรุนยูเอฟโอ (FLYING SAUCER JELLYFISH, DEEP-SEA CROWN JELLY)
นี่คืออีกหนึ่งสกุลแมงกะพรุนน้ำลึกที่มีความพิเศษ ซึ่งนอกจากรูปร่างหน้าตาจะเหมือน UFO แล้ว มันยังสามารถกะพริบจุดแสงเรืองสีฟ้าไล่วนเป็นวงรอบๆ ขอบของร่ม ในยามที่มันรู้สึกว่ามีศัตรูเข้ามาใกล้ ได้อีกด้วย ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสัญญาณจุดแสงสีฟ้านี้ แทนที่จะเอาไว้ไล่ศัตรูไปไกลๆ กลับน่าจะวิวัฒนาการขึ้นมาเพื่อเรียกหาสัตว์ผู้ล่าตัวที่ใหญ่กว่า เพื่อมาข่มขู่หรือจัดการกับศัตรูตัวแรกแทน
3
เทคนิคการใช้แสงเรืองสีฟ้ารอบขอบของร่มหนวดนี้ เป็นแรงบันดาลใจ Dr. Edith Eidder พัฒนาระบบติดตามที่เรียกว่า “Eye in the Sea” ขึ้นมา โดยนอกจากจะใช้ไฟสีแดงอ่อนซึ่งไม่รบกวนทะเลลึกแล้ว เธอยังติดไฟวงแหวนสีฟ้าสดเพื่อดึงดูดสัตว์ผู้ล่าต่างๆ ให้เข้ามาหาและทีมงานของเธอจะได้ศึกษาอย่างสะดวก
1
นอกจากนี้ หนวดของมันยังมีความน่าสนใจอีกนิดด้วย นักวิทยาศาสตร์ที่สังเกตพวกมันจากเรือดำน้ำลึกพบว่า หนวดแต่ละเส้นของมันจะยาวไม่เท่ากัน หนวดที่ยาวทำหน้าที่จับเหยื่อประเภทไซโฟโนฟอร์ แมงกะพรุน หรือหวีวุ้น ส่วนหนวดที่สั้นกว่ามีไว้ จับแพลงก์ตอนสัตว์
โฆษณา