14 ส.ค. 2020 เวลา 02:00 • ประวัติศาสตร์
ถึงคราวพินาศ! จุดจบของ 'นิโคไล เชาเชสกู' จอมเผด็จการโรมาเนียที่ถูกโค้นล้มจากการลุกฮือของประชาชน
WIKIPEDIA PD
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
นิโคไล เชาเชสกู เขาเป็นนักการเมืองสายคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์โรมาเนีย คือผู้นำเผด็จการของโรมาเนียระหว่างปี ค.ศ.1967 – 1989 หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และก้าวเข้ามาสู่ยุคสงครามเย็น ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายโลกเสรีที่นำโดยสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ในตอนนั้น ประธานาธิบดีนิโคไล เชาเชสกู สัญญากับประชาชนว่าจะนำพาความมั่งคั่งรุ่งเรืองมาสู่โรมาเนีย แต่สุดท้ายเขาก็ไม่ได้ทำในสิ่งที่สัญญาเอาไว้
1
ในยุคสมัยที่เขาเรืองอำนาจนั้น กล่าวได้ว่าโรมาเนียเป็นประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์ที่ยากจนเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ชาวโรมาเนียส่วนใหญ่ตกงาน คนที่ยังมีงานทำก็มีรายได้น้อยนิด แทนที่ชนชั้นนำของประเทศจะหาวิธีแก้ปัญหาปากท้อง แต่กลับเมินเฉยปัญหาดังกล่าวและหันมาตักตวงผลประโยชน์เข้าสู่ตนเองและพรรคพวก
WIKIPEDIA PD
นอกจากไม่สนใจปัญหาปากท้องของประชาชนแล้ว ประธานาธิบดีเชาเชสกูยังอนุมัติให้รัฐบาลสร้างรัฐสภา ‘Palace of the Parliament’ เพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งหมดนี้เพียงเพราะประธานาธิบดีเชาเชสกูต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าประเทศโรมาเนียภายใต้การปกครองในระบอบคอมมิวนิสต์นั้นยิ่งใหญ่มากเพียงใดเท่านั้นเอง
1
WIKIPEDIA CC DENOEL PERIS
รัฐบาลของประธานาธิบดีเชาเชสกูปกครองประเทศโรมาเนียมายาวนานกว่าสองทศวรรษ ประชาชนถูกกดขี่ขมเหง เกิดการทุจริตคอรัปชั่นโดยที่ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ พร้อมกันนี้รัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีเชาเชสกูยังก่อตั้งหน่วยตำรวจลับเอาไว้สำหรับสอดส่องพฤติกรรมของประชาชนอีกด้วย
เมื่อไม่สามารถอดทนต่อการถูกกดขี่ข่มเหงของรัฐบาลเผด็จการเชาเชสกูได้อีกต่อไป ชาวโรมาเนียทั่วประเทศได้ลุกฮือขึ้นมาก่อจลาจลทั่วโรมาเนีย โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองตีมีชวารา พวกเขาเริ่มลงถนนเพื่อประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีเชาเชสกู โดยประธานาธิบดีเชาเชสกูก็ไม่ได้ยี่หระต่อการลุกฮือของประชาชน พร้อมกับสั่งให้หน่วยตำรวจลับและเจ้าหน้าที่ออกปราบปรามกลุ่มผู้ประท้วงอย่างรุนแรง จนทำให้ฝ่ายผู้ชุมนุมได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
WIKIPEDIA CC FORTEPAN
การจลาจลเริ่มลุกลามไปทั่วประเทศโรมาเนีย จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก สื่อมวลชนของโรมาเนียที่ถูกอำนาจของประธานาธิบดีเชาเชสกูกดขี่ และสื่ออิสระทั้งหลายพยายามช่วยเหลือประชาชนด้วยการส่งข่าวไปให้สื่อมวลชนต่างประเทศเพื่อตีแผ่ความจริง จนทำให้สหภาพโซเวียตที่เป็นพี่ใหญ่ของโรมาเนียต้องกดดันให้ประธานาธิบดีเชาเชสกูลาออก
WIKIPEDIA
ประธานาธิบดีเชาเชสกูเมินข้อเสนอของสหภาพโซเวียตและแสดงท่าที่ดึงดันที่จะดำรงตำแหน่งต่อไป โดยอ้างว่าโรมาเนียจะเจริญรุ่งเรืองอยู่ได้ภายใต้การนำของเขา พร้อมกับเรียกร้องใช้ชาวโรมาเนียสามัคคี แต่ชาวโรมาเนียส่วนใหญ่ไม่ต้องการประธานานาธิบดีเชสกูอีกต่อไปแล้ว
WIKIPEDIA
เมื่อสถานการณ์เริ่มเลวร้ายลง ประธานาธิบดีเชาเชสกูจึงประกาศใช้กฎอัยการศึกพร้อมกับสั่งให้ตำรวจและทหารออกตรวจตราทั่วเมือง และได้ปะทะกับชาวเมืองที่โกรธแค้น โดยเฉพาะในกรุงบูคาเรสต์ ที่ตกอยู่ภายใต้ความโกลาหลครั้งใหญ่ สุดท้ายพวกทหารเริ่มทนไม่ไหวที่ต้องมาสังหารประชาชน จึงมีการหยุดยิงและหันมาเข้าร่วมกับประชาชนขับไล่ประธานาธิบดีเชาเชสกูแทน
WIKIPEDIA CC DENOEL PERIS
เมื่อเห็นท่าไม่ดี ประธานาธิบดีเชาเชสกูจึงรีบหลบหนีออกจากโรมาเนียพร้อมกับ เอเลนา เชาเชสกู ภรรยาที่ควบตำแหน่งรองประธานาธิบดีหลบหนีออกจากกรุงบูคาเรสต์ แต่ทั้งคู่ถูกจับกุมตัวไว้ได้ที่เมือตีร์โกวิชเต ทั้งสองถูกนำตัวขึ้นศาลทหารเพื่อตัดสินความผิด
นิโคไล เชาเชสกู และ เอเลนา เชาเชสกู ถูกตัดสินความผิดในข้อหาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทำลายเศรษฐกิจของชาติและใช้อำนาจทางการทหารต่อชาวโรมาเนียในทางมิชอบ และต้องถูกลงโทษด้วยการประหารชีวิต แม้ทั้งคู่จะพยายามต่อสู้คดี แต่ไม่ประสบความสำเร็จ นิโคไล เชาเชสกูและภรรยาของเขาถูกประหารชีวิตในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ.1989
WIKIPEDIA CC DENOEL PERIS
ภายหลังเหตุจลาจลครั้งนี้ถูกเรียกว่า การปฏิบัติโรมาเนีย ที่จบลงด้วยการมีชาวโรมาเนียเสียชีวิตราว 1,104 คน และบาดเจ็บอีก 3,352 คน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา