11 ส.ค. 2020 เวลา 14:25 • หนังสือ
สรุปหนังสือ กล้าที่จะถูกเกลียด
เรื่องราวการถกเถียงระหว่างชายหนุ่มผู้มีความทุกข์ ที่เชื่อว่าชีวิตถูกกำหนดมาแล้วจากเรื่องในอดีต กับนักปรัชญาที่ยึดแนวคิดของอัลเฟรด แอดเลอร์ ที่มองว่าชีวิตนั้นเรียบง่าย และทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มีความสุขได้ทันที ตั้งแต่วันนี้
1
ชายหนุ่มมีเป้าหมายจะไปหักล้างความคิดของนักปรัชญา แต่ถ้าหักล้างไม่ได้ก็จะยอมคุกเข่าขอเป็นลูกศิษย์
การสนทนาใช้เวลายาวนานถึง 5 คืน
ข้อคิดที่ได้จากการสนทนาในคืนแรก ว่าด้วยเรื่องแผลใจไม่มีอยู่จริง
1. ชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยอดีต ดังนั้นจึงเปลี่ยนแปลงได้
แผลใจในอดีตไม่มีอยู่จริง แต่เรามักใช้เป็นข้ออ้างที่จะอยู่ในโซนปลอดภัยของตัวเอง หรือใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่าง เช่น อยากให้พ่อแม่สนใจ เลยกลัวการออกจากห้อง
2. ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ว่ามีสิ่งใดเกิดขึ้น แต่อยู่ที่เราให้ความหมายกับสิ่งนั้นอย่างไร
น้ำที่อุณภูมิเดียวกัน แต่ความรู้สึกเมื่อได้ดื่มต่างกัน หากเราวิ่งมาจะรู้สึกว่าน้ำเย็นสดชื่น แต่หากอากาศหนาว จะรู้สึกเฉย ๆ
3. ไม่สำคัญว่าสิ่งที่ได้รับมาเป็นอย่างไร สำคัญที่เราจะใช้สิ่งที่มีอยู่อย่างไร
เกิดมาเป็นอย่างไรไม่สำคัญ ใช้ชีวิตต่อไปอย่างไรสำคัญกว่า
2
4. เราเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะตัดสินใจจะไม่เปลี่ยนแปลง
2
แม้สิ่งที่เป็นอยู่จะไม่มีความสุข แต่เราก็สามารถควบคุมได้ จึงไม่อยากเปลี่ยนแปลง เพราะไม่รู้จะเจอกับอะไรบ้าง
แม้มีเรื่องไม่ชอบใจ แต่ก็ง่ายกว่าการเปลี่ยนแปลง
5. การเปลี่ยนแปลงต้องใช้ความกล้าในการเลือกไลฟ์สไตล์ใหม่
คนเราเลือกไลฟ์สไตล์จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตามตอนอายุประมาณ 10 ขวบ ซึ่งสามารถเลือกใหม่ได้ แต่ต้องใช้ความกล้าที่มากพอ
จิตวิทยาแบบแอดเลอร์ ให้ความสำคัญกับ " ความกล้า"
คืนที่ 2
1. ความทุกข์ของมนุษย์ล้วนเกิดจากความสัมพันธ์กับผู้อื่น
2. ความต่ำต้อย ไม่ใช่ ข้อเท็จจริง แต่เป็น ความรู้สึก ที่เราปั้นแต่งขึ้นมาเอง เมื่อไปเปรียบเทียบกับคนอื่น
5. ปมด้อย คือการเอาความรู้สึกต่ำต้อยมาเป็นข้ออ้างให้ตัวเองยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้อยู่ที่เดิมโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลง
1
คนไม่มีความกล้าจึงมักโยนความผิดไปที่ปมด้อย (คนที่ชอบใช้คำว่า "ถ้า...")
1
คนขี้โอ่ คือคนที่รู้สึกต่ำต้อย จึงสร้างปมเด่นขึ้นมา เพื่อให้รู้สึกเหนือกว่าคนอื่น
1
6. คนที่เอาความทุกข์ของตัวเอง มาเป็นอาวุธเพื่อให้เป็นคนพิเศษ ที่คนอื่นต้องดูแล ทนุถนอม จะต้องพึ่งพาความทุกข์ไปตลอดกาล
7. เราเดินไปข้างหน้าไม่ใช่เพื่อแข่งกับคนอื่น แต่เพื่อไปให้ไกลกว่าจุดที่ตัวเองอยู่ในปัจจุบัน
3
เป้าหมายด้านพฤติกรรมมี 2 อย่าง
- พึ่งพาตัวเองได้
- อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้
เป้าหมายด้านจิตใจ
- รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถ
- รู้สึกว่าทุกคนเป็นมิตรของเรา
เป้าหมายเหล่านี้จะสำเร็จเมื่อเราเผชิญหน้ากับ "ภารกิจของชีวิต" = การสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ทั้งด้านการงาน สังคมและความรัก
คืนที่ 3
1. จงเลิกปรารถนาการเป็นที่ยอมรับ และเลิกใช้ชีวิตบนความคาดหวังของคนอื่น
2. แยกแยะธุระของแต่ละคนออกจากกัน และทิ้งธุระที่ไม่ใช่ของตัวเอง
3. อำนาจในการกำหนดความสัมพันธ์ อยู่ในมือตัวเราเอง เสมอ
คืนที่ 4
1. เราจะมีคุณค่าเมื่อรู้สึกว่าตัวเอง มีประโยชน์ต่อใครสักคน
1
สำคัญคือ ไม่ตัดสินคุณค่าของคนอื่น ซึ่งทำได้ด้วยการสร้างความสัมพันธ์แบบเท่าเทียม
2. การชื่นชม หรือ ดุว่า เป็นความสัมพันธ์แบบแบ่งชนชั้น และตัดสินคุณค่าคนอื่น
3. จงขอบคุณอย่างจริงใจ ในคุณค่าของคนอื่น
คืนที่ 5
1. จงยอมรับในตัวเอง ไม่ใช่เชื่อมั่นในตัวเอง
ยอมรับในตัวเอง คือ ยอมรับในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ และกล้าเปลี่ยนในสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
ยอมรับตัวเอง => เชื่อใจคนอื่น => ช่วยเหลือผู้อื่น => รู้สึกมีประโยชน์ => ยอมรับตัวเอง
2. ความสุขคือการรู้สึกว่าได้ช่วยเหลือคนอื่น
3 ชีวิตคือจุดที่เชื่อมต่อกัน จงทุ่มเททำ "วินาทีนี้" ให้ดีที่สุด
4. มอบความหมาย ให้กับชีวิตที่ไม่มีความหมาย ด้วยการช่วยเหลือผู้อื่น
1
5. ใช้ชีวิตให้เหมือนการเต้นรำ ทำทุกก้าวให้สมบูรณ์ที่สุด ไม่ต้องแข่งกับใคร ไม่จำเป็นต้องมีจุดหมายปลายทาง เพราะการเต้นรำนั้นจะพาเราไปที่ไหนซักแห่งเอง
4
สุดท้ายชายหนุ่มคิดว่าเข้าใจ และชื่นชมแนวคิดของแอดเลอร์ จึงกลับไปพร้อมกับความหวังว่าจะเปลี่ยนแปลงตนเอง และเผยแพร่แนวคิดของแอดเลอร์ออกไปในวงกว้าง
ขอบคุณชาช่า ที่ให้ยืมหนังสือมาอ่านจ้า 😊
ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์นะคะ
โฆษณา