12 ส.ค. 2020 เวลา 12:28 • ปรัชญา
2 จิตวิทยา"ใกล้ตัว"ที่ทำให้เราดู YouTube โดยไม่ทันคิด
YouTube คือ Application ที่เรามักจะนึกถึงเสมอเป็นอันดับ 1 เวลาที่เรามีความรู้สึกว่าอยากจะดูคลิปวีดิโออะไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นตอนตื่นเช้า หรือก่อนเข้านอน เราก็มักจะใช้เวลาไปกับ YouTube เป็นส่วนใหญ่
เมื่อใดก็ตามที่เราเข้า YouTube เราก็จะเจอ Channel ต่างๆที่เราเคย Follow หรือติดระฆังแจ้งเตือนเอาไว้ ทำให้เวลาเราเข้ามาใน YouTube เราก็มักจะเจอ Channel ที่เราต้องการดูตลอด
https://pantip.com/topic/39396099
แต่ Channel ที่เราติดตามทั้งหมดก็ใช่ว่าเราจะดูทั้งหมด เพราะบางครั้งเราอาจไม่มีเวลาดูมากพอที่จะดู YouTube ทุกช่องที่เราติดตามได้ ทำให้เราเลือกที่จะดูเพียงแค่บางช่องที่แสดงภาพที่"เตะตา"และหัวข้อ content ที่"โดนใจ"เราเท่านั้น หลังจากนั้นเราก็จะกดเข้าไปดูใน Channel นั้นๆโดยที่เราไม่ได้รู้สึกตัวเลยว่า Content นั้นมันจะตรงกับปกภาพตามที่เขาแสดงให้เห็นในหน้าแรกหรือไม่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนมีจิตวิทยาอยู่เบื้องหลังครับ
และจิตวิทยาอะไรที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกอยากจะเข้ามาดูใน YouTube Channel โดยไม่ทันได้คิด Near us จะอธิบายให้ฟังครับ
Rolf Dobelli ได้อธิบายถึงหลักการทางจิตวิทยาที่จะทำให้เราเห็นถึงภาพลวงตาที่เกิดจากการเชื่อมโยงความคิดทางสมองที่อาจก่อให้เกิดความผิดพลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากความมั่นใจของเราที่อาจจะลืมมองเห็นความจริงอีกด้านที่เราอาจไม่ทันคิดครับ
Rolf Dobelli
โดยหลักการทางจิตวิทยาที่ทำให้เราดู YouTube โดยไม่ทันคิดมีอยู่ 2 อย่างหลักๆด้วยกัน ได้แก่
1.จิตวิทยา "ภาพลวงตาที่ว่าด้วยจุดสนใจ"
https://www.youtube.com/watch?v=s8oEARA2gmI&t=4s
Rolf Dobelli ได้อธิบายว่า "ภาพลวงตาที่ว่าด้วยจุดสนใจ ซึ่งหมายถึงการที่คนเรามั่นใจว่าตัวเองมองเห็นทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า แต่ความจริงแล้วเรามักจะเห็นเฉพาะสิ่งที่เราให้ความสนใจเท่านั้น"
จากภาพใน YouTube ข้างต้น คุณคิดว่าภาพและหัวข้อ Content ดูเป็นสิ่งที่น่าเตะตาดีใช่ไหมครับ ที่จู่ๆจะมีผู้ชายมาแก้ผ้าต่อหน้าผู้หญิงโดยที่ผู้หญิงรู้สึกเฉยๆทั้งๆที่อยู่ในห้องกันสองต่อสอง
แต่ความจริงอีกด้านหนึ่งที่เราอาจจะไม่สังเกตุเพราะเรากำลังสนใจในสิ่งที่เรากำลังสนใจอยู่นั่นก็คือ มันมีภาพที่จริงๆแล้วผู้ชายยังใส่กางเกงในอยู่ โดยที่เขาไม่ได้แก้ผ้าจริงๆเหมือนอย่างที่หัวข้อ Content ดังรูป
ภาพนาทีที่ 1.33
Rolf Dobelli ยังได้ทิ้งท้ายอีกว่า "คุณต้องกำจัดภาพลวงตาที่ว่าด้วยจุดสนใจด้วยการตั้งคำถามแบบเหนือความคาดหมายว่ามีอะไรบ้างที่ถูกซุกซ่อนหรืออยู่เบื้องหลังประเด็นสื่อที่น่าสนใจ เพราะคนเรามักมองข้ามสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ไม่ว่ามันจะมีขนาดใหญ่หรือเตะตามากแค่ไหนก็ตาม"
มาดูอีกตัวอย่างก็ได้ครับ มีช่อง YouTube Channel หนึ่งที่ทำ Content เกี่ยวกับสามีภรรยาแกล้งกัน โดยมีชื่อช่องช่องว่า RAK...G(ไม่ขอเอ่ยชื่อเต็มนะครับ) ซึ่งมีอยู่คลิปหนึ่งที่เขาได้ฉลอง 500,000 Subscribe โดยทำคลิป Q&A ขึ้นมา ซึ่งมันมีอยู่คำถามหนึ่งครับที่ช่อง RAK...G ได้นำมาไว้ช่วงคลิปแรกๆในช่วง Intro ของช่องจะเปิดตามมา คำถามมีอยู่ว่า
1
"พี่สองคนเวลามีอะไรกันใครเป็นคนเริ่มครับ"
แต่พอผมดูจนจบ ก็ไม่เห็นเขาจะตอบคำถามนี้ในคลิปนั้นเลย....
และนี่ก็เป็นอีก 1 ตัวอย่างที่น่าสนใจครับ เพราะเขาเอาคำถามที่"เตะหู"มาเป็น Intro ในหน้าคลิปเพื่อให้ผู้ชมหวังดูจนจบโดยที่ไม่ได้ตอบคำถามนี้เลย
ผมไม่ได้อยากจะมาลามกอนาจารใส่นะครับ เพราะถ้ามันไม่ดี เขาก็ควรจะตัดจุดตรงนี้ทิ้ง แล้วทำไมเขาถึงไม่ตัดทิ้งล่ะ แถมเอามาไว้หน้า Intro คลิปด้วยซ้ำ?
2. จิตวิทยา "ภาพลวงตาที่ว่าด้วยแบบแผน"
Rolf Dobelli ได้อธิบายว่า "คุณเคยมองเห็นก้อนเมษแล้วเห็นเป็นหน้าคนหรือมองหินแล้วเห็นว่ามันมีรูปร่างเหมือนสัตว์บ้างไหม อันที่จริงนี่เป็นเรื่องจะแสนธรรมดา เพราะสมองของมนุษย์จะมองหาแบบแผนและกฏเกณฑ์ต่างๆอยู่เสมอ ถ้าหาไม่เจอมันจะสร้างขึ้นมาเอง ยิ่งสิ่งที่พบเจอนั้นคลุมเครือมากเท่าไหร่ สมองของเราก็จะยิ่งสร้างแบบแผนและกฎเกณฑ์ให้สิ่งนั้นได้ง่ายขึ้น"
แล้วคุณล่ะครับ เคยคิดว่าการที่เห็นลักษณะเส้นเซนเซอร์อินฟาเรตในกล้องไคเนคที่ที่นอกเหนือจากคนว่าเป็นวิญญาณและสิ่งที่มองไม่เห็นหรือไม่? ดังรูป
https://www.thairath.co.th/news/society/1880777
และคุณเคยหรือไม่ ที่นำเอาเหรียญบูชาที่ไม่ใช่วัตถุมงคลทางศาสนาที่ตนนับถือเป็นสรณะมาบูชาจากช่องบางช่องที่กำลังโดนแฉเรื่องประเด็นดราม่าเงินบริจาค? ดังรูป
https://news1live.com/detail/9630000068133
และคุณเคยหรือไม่ ที่เชื่อเรื่องราวเหนือธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการติดต่อกับพระมหากษัตริย์และการติดต่อกับสิ่งลี้ลับต่างๆที่เกิดจากเรื่องเล่าของใครบางคนที่ไม่อาจพิสูจน์เป็นหลักฐานได้เลย? ดังรูป
https://www.sanook.com/news/8199746/
โดยในคลิป อ.เ..นนี่ บอกว่า ตนเองได้ญาณมาหลังจากประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ แขนหัก ขาหัก คอหัก ตายไปแล้ว แต่มาฟื้นขึ้นมาในห้องดับจิต เพราะคุณแม่เดินทางมาดูศพ เนื่องจากตอนนั้นตนเองยังอายุไม่ถึง 20 ปี ซึ่งหลังจากฟื้นขึ้นมา ตนเองได้ฝึกจิต และเห็นดวงวิญญาณ เห็นกรรมของผู้อื่นขึ้นที่หน้า เห็นการเป็น เห็นการตายของคนๆ นั้น
Rolf Dobelli ยังได้ทิ้งท้ายอีกว่า "คนเรามีแนวโน้มที่จะเห็นแบบแผนของสิ่งต่างๆ ดังนั้น คุณต้องตั้งข้อสงสัยอยู่เสมอ"
ปิดท้ายด้วยจิตวิทยาที่น่าสนใจ
Rolf Dobelli ได้อธิบายถึงจิตวิทยา"การบิดเบือนความจริง"เอาไว้ว่า "คนที่อยู่รอดอาจไม่ใช่คนที่เหมาะสมที่สุด แต่คือคนที่กุเรื่องเหลวไหลออกมาพูดได้น่าเชื่อถือที่สุด"
คำถามก็คือ ขณะที่เรากำลังดู YouTube Channel ของใครซักคนที่เราชอบ สิ่งที่เราเห็นคือความจริงที่เป็นความจริง หรือ ความจริงที่เป็นเรื่องเหลวไหลที่ดูน่าเชื่อถือ กันแน่?
บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาจะชี้นำเพื่อให้ก่อเกิดความแตกแยกทางสังคม โปรดใช้วิจารณญาณด้วยนะครับ
Reference
1.หนังสือ 52 วิธี ตัดสินใจให้ไม่พลาด
โฆษณา