Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
TAX ME IF YOU CAN
•
ติดตาม
13 ส.ค. 2020 เวลา 16:24 • ธุรกิจ
ภาษี x เราเที่ยวด้วยกัน
เงินสนับสนุนจากรัฐเสียภาษีไหม? ออกใบกำกับภาษียังไง?
สืบเนื่องจากวิกฤติ Covid-19 ที่กระทบอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างรุนแรง ทำให้มีโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" เพื่อกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งเราขอสรุปสั้นโครงการสั้นๆ ดังนี้
1. ค่าที่พัก : เราจ่าย 60% รัฐจ่าย 40% (ไม่เกิน 3,000)
2. ค่าอาหารและท่องเที่ยว : เราจ่าย 60% รัฐจ่าย 40% (ไม่เกิน 600 บาท)
3. ค่าตั๋วเครื่องบิน : รัฐจ่ายคืน 40% (ไม่เกิน 1,000 บาท)
เงินจากรัฐบาล เสียภาษีไหม?
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่ารูปแบบการจ่ายเงินของโครงการนี้ คือ รัฐจ่ายเงินให้ผู้ประกอบการโรงแรม / ร้านอาหาร / สายการบิน ในนามของประชาชน หมายความว่า แทนที่จะโอนเงินค่าโรงแรมให้ประชาชนไปจ่ายโรงแรม รัฐก็โอนเงินให้โรงแรมโดยตรงภายหลังจาก Check out แต่สำหรับ e-voucher ค่าอาหารและท่องเที่ยว และค่าตั๋วเครื่องบิน ค่อนข้างชัดเจน ว่าประชาชนได้เงินจากโครงการจริง
จากรูปแบบธุรกรรมข้างต้น ผู้เข้าร่วมโครงการย่อมมีภาระ "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" เนื่องจากเงินที่รัฐจ่ายให้ถือเป็นเงินได้ของบุคคลนั้นๆ และเมื่อจัดประเภทแน่ชัดไม่ได้ จึงถือเป็นเงินได้ประเภท 40 (8) ประกอบกับการไม่สามารถพิสูจน์ค่าใช้จ่ายได้ในกรณี จึงหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
"เงินสนับสนุนค่าที่พัก" ค่าอาหารและท่องเที่ยว ค่าตั๋วเครื่องบินทั้งหมด "ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน"ในปี 2563 ที่ต้องนำมารวมคำนวณในการยื่นแบบฯ ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อออกโครงการนี้ ทางกระทรวงการคลัง ก็มีแผนให้กรมสรรพากรออกกฎหมายยกเว้นเงินได้ดังกล่าว เช่นเดียวกับโครงการชิมช็อปใช้ในปีก่อนๆ ดังนั้น ประเด็นนี้ไม่ต้องกังวล :)
ออกใบกำกับภาษียังไง?
เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบการโรงแรม เนื่องจากเป็นโครงการที่โรงแรมได้เงินจาก 2 ส่วน คือ ประชาชน (ตอน Check in) และ รัฐบาล (ตอน Check out หรืออาจช้ากว่านั้น) ส่วนอีกสองโครงการได้เงินจากประชาชน 100% ณ เวลาชำระราคา จึงไม่มีปัญหาในการออกใบกำกับภาษี
1
การใช้บริการโรงแรมถือเป็น "บริการ" ซึ่ง Tax Point เกิดขึ้นเมื่อชำระราคา ดังนั้น เมื่อโรงแรมได้รับชำระเงิน ต้องออกใบกำกับภาษีทันที นั่นคือ
1. เมื่อลูกค้า Check-in ชำระ 60% : โรงแรมออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าสำหรับค่าที่พัก 60% และ
2. เมื่อได้รับชำระ 40% จากรัฐบาลในนามของลูกค้า : โรงแรมออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้า (หากโรงแรมไม่ออกใบกำกับภาษีและนำส่งให้ลูกค้า จะมีความผิด)
ข้อดีของวิธีนี้ คือ โรงแรมไม่ต้องนำส่ง VAT สำหรับส่วน 40% ล่วงหน้าให้รัฐในกรณีลูกค้ามาพักเดือนนึง แต่รัฐบาลโอนเงินมาให้เดือนถัดไป
ข้อเสีย คือ โรงแรมต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งส่วน 40% ให้ลูกค้า ซึ่งหากโรงแรมดำเนินการผิดพลาด เบี้ยปรับและเงินเพิ่มสำหรับเรื่องนี้ ไม่ใช่น้อยๆ
วิธีด้านบนเป็นวิธีที่ถูกหลักการทั่วไปของการออกใบกำกับภาษีสำหรับการให้บริการ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันผิดพลาดที่โรงแรมจะลืมออกใบกำกับภาษีส่วน 40% มีอีกวิธีหนึ่งที่โรงแรมสามารถทำได้เช่นกัน นั่นคือ เมื่อลูกค้า Check-in ชำระ 60% : โรงแรมออกใบกำกับภาษีให้ลูกค้าสำหรับค่าที่พัก 100% ทันที
คำถาม คือ การออกใบกำกับภาษี 100% เลย ผิดกฎหมายหรือไม่ ???
คำตอบ คือ ไม่ผิดแน่นอน เพราะถึงแม้ว่ากฎหมายภาษีจะกำหนดให้ Tax point สำหรับการให้บริการจะเกิดขึ้นเมื่อชำระราคา แต่กฎหมายได้มีข้อยกเว้นไว้ คือ ให้ Tax point เกิดเมื่อ "ออกใบกำกับภาษี" ดังนั้น เมื่อโรงแรมออกใบกำกับภาษี 100% เลย จึงเป็นการใช้ข้อยกเว้นของกฎหมายที่สามารถทำได้ (ตามมาตรา 78/1 แห่งประมวลรัษฎากร)
ข้อดีของวิธีนี้ คือ โรงแรมไม่มีความเสี่ยงในการไม่ออกใบกำกับภาษี
ข้อเสีย คือ อาจจะต้องนำส่ง VAT ให้รัฐล่วงหน้า
เมื่อมีวิธีที่ถูกต้อง 2 วิธี นั่นคือ 1. วิธีตามหลักทั่วไป 2. วิธีตามข้อยกเว้น โดยไม่มีกฎหมายกำหนดว่าต้องใช้วิธีใด ผู้ประกอบการควรเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมกับตัวเองที่สุด เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งทางเรามีความเห็นว่าควรเลือกใช้วิธีตามข้อยกเว้น โดยออกใบกำกับภาษีเต็มจำนวน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในอนาคต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งไปเลย มิฉะนั้น คงเกิดคำถามจากสรรพากรอย่างไม่ต้องสงสัย
1 บันทึก
2
8
1
2
8
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย