Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
The Thinker Man
•
ติดตาม
15 ส.ค. 2020 เวลา 00:30 • การเมือง
***เหตุวิบัติในนาอูรู*** : จะเกิดอะไรขึ้น?? เมื่อคนใช้ทรัพยากรจนชาติต้องล่มจม!!!
"นาอูรู" อาจเป็นชื่อที่เราหลายคนไม่คุ้นหูคุ้นตา ประเทศเกาะเล็กๆแถบๆกลางแปซิฟิกแห่งนี้ ครั้งหนึ่งใครจะเชื่อว่านี้คือประเทศที่เคยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงที่สุดในโลก แถมยังได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอัตราคนอ้วนต่อประชากรสูงที่สุด ถ้ายังประหลาดใจไม่พอ ในปัจจุบันนาอูรูถือเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกประเทศหนึ่งด้วย และทั้งหมดนี้เกิดขึ้นแค่ในช่วงอายุของคนรุ่นเดียว!!!!
"นาอูรู" เป็นเกาะเล็กๆขนาดประมาณ 21 ตารางกิโลเมตร (2/3 ของพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ) ในแปซิฟิกกลางห่างจากออสเตรเลียประมาณ 4,385 กิโลเมตร ในปัจจุบันมีประชากรราว 10,000 คน
ในอดีตชาวเกาะ "นาอูรู" มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเฉกเช่นขาวเกาะอื่นๆในแถบแปซิฟิกตอนกลาง จนกระทั่งมีการค้นพบฟอสเฟตมหาศาลบนเกาะในปี ค.ศ.1968 ทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป อ้างอิงภาพจาก [1]
จากเกาะเขตร้อนแดนสวรรค์สู่เหมืองฟอสเฟตระดับโลก!!!
ตามประวัติศาสตร์แล้วเกาะนี้ถูกคนพบโดยกัปตันจอห์น เฟิร์น ชาวอังกฤษในปี 1798 ก่อนที่จะตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งเยอรมันนีในช่วงสงครามโลก ในอดีตเกาะนี้มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ สวยงามจนมันได้ชื่อเรียกเล่นๆว่า "Pleasant Island" แต่แล้วทุกอย่างก็เปลี่ยนไปในปี ค.ศ. 1968
มูลนกที่สะสมมาอย่างอย่างนานหลายล้านปีบนเกาะนาอูรู คือแหล่งทำเหมืองฟอสเฟสบนหน้าดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนนักลงทุนจากออสเตรเลียตัดสินใจเริ่มทำเหมือง
แม้จะมีการค้นพบแหล่งแร่ฟอสเฟตบนเกาะมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1899 โดย Sir Albert Ellis แร่ฟอสเฟตเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปุ๋ย มันจึงเป็นที่ต้องการอย่างมากสำหรับเกษตรกรทั่วโลก แต่เนื่องจากแร่ฟอสเฟตแหล่งอื่นๆทั่วโลกจำเป็นต้องทำเหมืองแบบใต้ดินซึ่งอันตรายมาก แตกต่างจากที่นาอูรูที่ขุดเหมืองเปิดบนผิวดินได้เลย
การทำเหมืองฟอสเฟตจริงๆจังเพื่อการส่งออก กลับริเริ่มโดยนักธุรกิจชาวออสเตรเลียในปี ค.ศ. 1968 โดยพวกเขาเสนอว่าจะย้ายชาวเกาะทั้งหมด (ราวๆ 7,000 คนในขณะนั้น) ไปอยู่ที่ออสเตรเลียพร้อมออกเงินสร้างที่พักให้อีกกว่า 400 ล้านเหรียญ เพื่อสร้างบ้าน สร้างงานให้ชาวนาอูรูมีชีวิตที่ดีกว่า ชดเชยกับที่ทำลายเกาะไป คิดสิครับว่าชาวเกาะจะตัดสินใจอย่างไรต่อ!!!
การทำสัมปทานเหมืองแร่ฟอสเฟตในนาอูรูคือแหล่งรายได้หลักของประเทศกว่า 70% ซึ่งนำความร่ำรวยมหาศาลมาสู่เกาะเล็กๆแห่งนี้ อ้างอิงจาก [2]
แน่นอนว่าด้วยความหัวใสขั้นสุด พวกเขาเลือกที่จะไม่รับข้อเสนอและขอประกาศเอกราชพร้อมกับกำหนดสัมปทานเหมืองฟอสเฟต และดูเหมือนการตัดสินใจนั้นจะถูกต้องเมื่อรายได้จากเหมืองทำเงินในช่วงสูงสุดได้เกือบถึง $1,000 ล้านเหรียญสหรัฐติดต่อกันหลายสิบปี แม้จริงๆพวกเขามีรายได้หลักจากหักให้เจ้าของกิจการชาวต่างชาติแล้วราวๆ 22% แต่นั้นก็มากพอ (เกินซะด้วยซ้ำ) ที่จะแบ่งให้ทุกคนบนเกาะ
ว่ากันว่าในยุคที่รุ่งเรืองสุดๆของเหมืองฟอสเฟตราวทศวรรษที่ 1970s - 80s ชาวนาอูรูมีเงินมากพอจะซื้อรถ บ้าน และทรัพย์สินใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งเที่ยวรอบโลกแบบชิลๆ แน่นอนว่าเมื่อเงินหนาขนาดนี้พวกเขาจึงมีเงินเหลือพอที่จะซื้ออาหารแพงๆ ที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียเพราะง่ายและสะดวกกว่าเพาะปลูกเองบนเกาะซึ่งพื้นที่ส่วนมากกว่า 70% ถูกเปลี่ยนเป็นเหมืองหมดแล้ว!!! แต่พฤติกรรมการบริโภคแบบตามใจปากเหล่านี้จะนำผลร้ายที่คาดไม่ถึงมาให้ชาวเกาะในอนาคตอันใกล้!!
ในยุคที่รุ่งเรืองสุดๆราวทศวรรษที่ 1970s - 80s คือช่วงที่นาอูรูได้ชื่อว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดในโลก รวยแบบไม่รู้เรื่องรู้ราวจนนำภัยมาสู่ตัวในที่สุด [1]
นางฟ้าตกสวรรค์จากประเทศรวยสุดๆสู่ยาจกในไม่กี่สิบปี!!!
แม้มีการพยายามเอาเงินไปลงทุนกับอย่างอื่น อย่างซื้อทรัพย์สินในต่างประเทศแต่ด้วยการคอร์รัปชั่นกันหนักหน่วงและการลงทุนที่ผิดพลาด เงินจึงไม่งอกเงยมากนัก แต่ดูเหมือนเหตุการณ์จะเลวร้ายลงไปอีกเมื่อธุรกิจเหมืองเริ่มปิดกิจการลงราวๆต้นปี 2000 เนื่องจากแหล่งขุดแร่หมดลง จนไม่เหลือแร่ให้ขุดอีกต่อไปแล้ว!!!
โรคอ้วนและเบาหวานกำลังกลืนกินชีวิตชาวนาอูรูช้าๆ เนื่องจากวิถีชีวิตแบบ"คนเคยรวย" ในอดีตของพวกเขาเอง
ตั้งแต่ยุค 2000s นาอูรูก็เรียกได้ว่าล้มละลายแล้วเพราะทรัพยากรที่เคยเลี้ยงปากเลี้ยงท้องอย่างแร่ฟอสเฟตก็หมดลง หลักจากขุดอย่างหนักหน่วงมาแค่ไม่ถึง 50 ปี เมื่อเหมืองถูกทิ้งร้างแม้จะเหลือแร่อยู่น้อยนิดแต่ชาวนาอูรูก็จนปัญญาที่จะรื้อฟิ้นเหมืองเพราะพวกเขาไม่เคยทำมันมาก่อน ทำให้ประชากรกว่า 90% ของเกาะว่างงาน ระบบการศึกษาและสาธารณสุขก็อ่อนแอเพราะขาดงานและเม็ดเงินหล่อเลี้ยง
มูลค่าการส่งออกและปริมาณการขายแร่ฟอสเฟตของนาอูรูนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968 ก่อนจะตกวูบตั้งแต่ทศวรรษที่ 2000s เนื่องจากแหล่งแร่หมดลงแล้ว [2]
ซ้ำร้ายประชากรชาวเกาะกว่าร้อยละ 71% ยังเป็นโรคอ้วน และกว่า 40% เป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากอยู่ดีกินดีเกินเหตุในช่วงที่เคยร่ำรวย อีกทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะไม่สามารถเพาะปลูกพืชผักได้ ทักษะการหาอาหารจากบรรพบุรุษก็สูญหายไปตามกาลเวลา พวกเขาจึงได้แค่กินอาหารกระป๋องที่นำเข้ามาจากออสเตรเลียเป็นส่วนใหญ่ นี้ยิ่งซ้ำเติมปัญหาสุขภาพให้แย่เข้าไปใหญ่
วิบัติจากทรัพยากร!! พวกเขาแก้ปัญหากันอย่างไร?
เพื่อหาแหล่งรายได้เสริมจากเม็ดเงินที่หายไป ชาวนาอูรูจึงไม่มีทางเลือก พวกเขาใช้สถานะความเป็นประเทศ ประกาศว่าใครมีเงินแค่ $20,000 ก็สามารถตั้งธนาคารในประเทศได้โดยคิดค่าธรรมเนียมเล็กน้อย แน่นอนว่านาอูรูจึงกลายเป็นแหล่งฟอกเงินผิดกฏหมายจากธุรกิจสีเทาอย่างเป็นล่ำเป็นสันจนถึงปัจจุบัน
อีกธุรกิจหนึ่งที่สร้างรายได้อย่างงามให้นาอูรูในปัจจุบันคือ การเปลี่ยนเกาะตนเองให้เป็นค่ายพักผู้หลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายของรัฐบาลออสเตรเลีย แน่นอนว่าธุรกิจนี้ก็แม้จะทำเงินแต่ก็ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนอย่างมีข้อกังขา เนื่องจากรัฐบาลออสซีมีกฏหมายที่เข้มงวดมากสำหรับลงโทษคนลักลอบเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นต่างหวังจะหนีมาออสเตรเลียเพื่อชีวิตที่ดีกว่า
แต่ทางการออสเตรเลียก็ตอบโต้ด้วยการส่งผู้อพยพผิดกฎหมายเหล่านี้ไปขังไว้ที่เกาะอันห่างไกลอย่างนาอูรู ด้วยสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายและบ่อยครั้งที่ผู้คุมมักก่อเหตุข่มขืนผู้อพยพ นอกจากจะติดต่อใครไม่ได้แล้ว ทำให้ผู้อพยพบางคนทนไม่ไหวและก่อเหตุฆ่าตัวตายกันอยู่เนืองๆ กรณีที่โด่งดังที่สุดคือ โอมิด มาซูมาลี ผู้ลี้ภัยชาวอิหร่านได้เผาตัวตายในปี ค.ศ. 2016 เนื่องจากทางUNHCR บอกว่าเขาต้องอยู่บนเกาะนี้ไปอีกนับสิบปี
ผู้ประท้วงออกมาชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียยกเลิกการส่งผู้อพยพผิดกฎหมายไปขังไว้ที่เกาะนาอูรู เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคุกบนดินแบบนั้น [3]
ปัญหาความรุนแรงและการฆ่าตัวตายของผู้อพยพทำให้เกิดกระแสเรียกร้องให้รัฐบาลออสซี่ย้ายผู้อพยพไปขังในดินแดนใหม่ที่ปลอดภัยกว่านาอูรู ทำให้ในปัจจุบันผู้ลี้ภัยได้รับการช่วยเหลือออกไปจากนาอูรูเป็นจำนวนมาก นั้นทำให้นาอูรูขาดรายได้ลงไปอีก พวกเขาจึงต้องเผชิญกับความยากจนและวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ค่ายพักผู้อพยพที่เข้าเมืองอย่างผิดกฏหมายของรัฐบาลออสเตรเลีย ครั้งหนึ่งเคยเป็นแหล่งรายได้ของนาอูรู แต่ปัจจุบันกำลังถูกทิ้งร้างพร้อมชะตากรรมอันไม่แน่นอนของชาวเกาะ [1]
บทเรียนจากนาอูรูสอนอะไนเราบ้าง? ใครต้องเป็นคนรับผิดชอบ? เรื่องนี้คงพูดกันได้หลายประเด็น แต่อย่างน้อยนาอูรูก็ให้บทเรียนที่สำคัญว่า "เมื่อคุณใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่าเกินขีดจำกัด" ถ้าเป็นคุณจะทำอย่างไรปัญหานี้?
จากเกาะที่แดนสวรรค์ที่เหลือทิ้งไว้เพียงบาดแผลจากประวัติศาสตร์แห่งความวิบัติ
อ้างอิง
[1]
https://pantip.com/topic/40128837?fbclid=IwAR0mTIIcSRG1U3IT8lUv3N12sY38afxPgsu0s0VBVitr3je4niKHmZqM3Uk
[2]
https://en.wikipedia.org/wiki/Phosphate_mining_in_Banaba_and_Nauru#/media/File:Exportations_de_phosphate_Nauru.png
[3]
https://www.theguardian.com/world/2018/sep/04/corruption-incompetence-and-a-musical-naurus-riches-to-rags-tale
[4]
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2214790X19300784
[5]
http://i-newsmedia.net/2016/05/03/14729/out/
2 บันทึก
2
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย