15 ส.ค. 2020 เวลา 16:50 • อาหาร
Carlo Petrini ผู้ให้กำเนิด “Slow Food Movement” วิถีการกินช้าแบบหอยทาก- ตอนที่ 1
.
ทุกครั้งที่เราซื้ออาหาร
สิ่งที่อยู่ในจาน
บ่งบอกถึงผู้คนที่เรานั้นสนับสนุน
เพราะอาหารแต่ละจาน
ต่างประกอบไปด้วยวัตถุดิบ
ที่มีผู้คนเป็นจุดกำเนิด
.
อาหารจึงเกิดเป็นสายใยเชื่อมโยง
ระหว่างผู้คน
วัฒนธรรม
การเมือง
และโลกใบนี้
.
เมื่อคุณจ่ายให้อาหารหนึ่งจาน
เงินจะถูกส่งต่อไป
ถึงผู้คนที่มีส่วนในการผลิตอาหารนั้น
ต่อมา เงินจะถูกกระจายไป
ในสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่
.
และไม่ว่าคุณจะตั้งใจหรือไม่
มันจะหมุนเวียนไปถึงนักการเมือง
ที่พวกเขาสนับสนุน
ท้ายที่สุดการใช้จ่ายจากมือของคุณ
จะส่งผลต่อโลกใบนี้
ในแบบที่มันถูกจัดการ
โดยผู้คนที่คุณจ่ายเงินนั้นให้
.
แต่การตัดสินใจเลือกอาหารนั้น
เราอาจไม่ใช่ผู้กำหนดมันทั้งหมด
ความเร่งรีบในชีวิต
ทางเลือกที่เข้าถึงได้
และจำนวนเงินในกระเป๋า
ล้วนแต่มีผลต่อการตัดสินใจของเรา
ต่อคำถามที่มีผล
ต่อความเป็นความตาย ครั้งแล้วครั้งเล่า
ในแต่ละวันที่ว่า “กินอะไรดี”
.
จึงไม่น่าแปลกแต่อย่างใด
ของการถือกำเนิดขึ้น ของ “McDonald’s”
ร้านอาหาร “Fast Food”
ที่น่าภาคภูมิใจ ของชาวอเมริกัน
ที่สามารถเสริ์ฟอาหารอุ่นร้อน
ได้ภายในเวลาอันสั้น
และทุกคนสามารถเข้าถึงมัน
ได้ทุกสาขาที่ตั้งอยู่ ทั่วทุกหัวมุมเมือง
ด้วยราคาเพียง 15 เซนส์
ในช่วงแรกที่เปิดขายเมื่อปี 1955
.
ดูเหมือนผู้คนจำนวนมาก
ต่างอ้าแขนรับ
อาหารจานด่วนนี้อย่างอบอุ่น
จน McDonald’s สามารถขยายสาขา
ครบ10,000 แห่ง ได้ในปี 1988
.
ใช้เวลาเพียง 33 ปี
วัฒนธรรมการกินอาหารเมนูซ้ำๆ
ที่เสริ์ฟรวดเร็วแบบนี้
ก็แทรกซึมอยู่ในวัฒนธรรมการกิน
เกือบทุกหัวเมืองใหญ่ทั่วโลก
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่
ต่อผู้คนในวงการธุรกิจอาหาร
.
แม้ผู้นำ
แห่งการสร้างสรรค์อาหารแห่งยุโรป
อย่างประเทศ “อิตาลี”
ก็ไม่อาจหลีกหลี้
จากวงจรการเปลี่ยนแปลงนี้ได้
.
ในปี 1986 McDonalds
ได้เปิดสาขาแรกในอิตาลี
ที่ใจกลางกรุงโรม ณ Piazza di Spagna
หรือ จัตุรัสสเปน
ย่านเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศ
ถูกสร้างตั้งแต่เมื่อครั้งกรุงโรม
เคยถูกสเปนเข้าครอบครองในอดีต
.
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่ดีใจ
ต่อการมาถึง
ของวัฒนธรรมการกินแบบใหม่นี้
โดยเฉพาะชาวไร่ท้องถิ่น
พวกเขาต่างออกมาประท้วง
ต่อการมาถึงของ McDonalds
ในเมืองของตนเอง
.
คุณอาจพบรถแทรคเตอร์
เข้าไปจอดประท้วง ถึงหน้าประตูร้าน
และมีการตะโกนด่า ชูป้ายสาธยาย
ถึงที่มาอันน่าเกลียด
ของอาหารจานด่วน ที่ราคาถูกจนน่าตกใจ
.
เพราะเมื่อสืบลึกลงไป
จะพบว่า
แฮมเบอร์เกอร์ของ McDonalds นั้น
ใช้เพียงเศษเนื้อราคาถูก
บดแล้วขึ้นรูปใหม่
เสริ์ฟคู่กับขนมปัง
ผลิตครั้งละจำนวนมาก
โดยโรงงานขนาดใหญ่
ผักแทบไม่ถูกพบ
ในร้านอาหารผู้นำเทรนด์ใหม่นี้
เหล่าชาวไร่ผู้ตั้งใจผลิตวัตถุดิบชั้นดี
ย่อมไม่มีอยู่ในรายการ
ที่พวกเขาจะสนับสนุน
.
นอกจากจะไม่ได้เป็นผู้สนับสนุนวัตถุดิบจากชาวไร่รายย่อยแล้ว
McDonalds ยังเป็นคู่เเข่งทางธุรกิจ
ที่อันตรายต่อร้านอาหารขนาดเล็ก
ที่ใช้วัตถุดิบจากชาวไร่ท้องถิ่นเป็นหลักอีกด้วย
.
Carlo Petrini ชายชาวอิตาลี
ผู้เป็นนักเขียน
และนักเคลื่อนไหวทางการเมือง
ก็รู้สึกไม่ต่างออกไป
จากชาวไร่ท้องถิ่นทั้งหลาย
ด้วยความรักในอาหารการกิน
อันเลิศรสของบ้านเกิด
จึงเข้าร่วมการประท้วง
ต่อต้าน McDonalds
ตั้งแต่ครั้งแรกที่เปิดสาขาในอิตาลี
.
แต่หลังจากเข้าร่วมการประท้วงหลายครา
เขาก็เห็นว่า
วิธีการใช้ความรุนแรงนั้น “ไม่ได้ผล”
เขาไม่สามารถต่อต้านกระแสนิยมอเมริกา
ผู้เป็นดั่ง “ฮีโร่”
ซึ่งช่วยพลิกฟื้นอิตาลีขึ้นมา
หลังจากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้
.
และการเจาะตลาดอิตาลี
ของ McDonalds นั้น
ก็ต่างออกไปจากอเมริกาบ้านเกิด
คือเริ่มเปิดตลาดในหัวเมืองใหญ่
มีผู้คนศรีวิไลส์มาใช้บริการ
หาใช่เริ่มเข้าสู่ตลาดในหัวเมืองห่างไกล
แล้วค่อยๆขยายเข้ามาในเมืองหลัก
.
ทำให้เชนร้านอาหารสัญชาติอเมริกัน
ยิ่งกลายเป็นสัญญลักษณ์
ของคนรุ่นใหม่ในอิตาลี
บวกกับกระแสความนิยมอเมริกา
ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
นั้นแรงหนักหนา
เมื่อเป็นเช่นนี้
ธุรกิจร้านอาหารท้องถิ่นของอิตาลี
ย่อมถึงคราสุ่มเสี่ยง
ต่อความพ่ายแพ้ได้เร็วยิ่งขึ้น
.
เพราะเมื่อยึดหัวเมืองใหญ่ได้แล้ว
ก็ไม่ยากอะไร
ที่จะขยายวงการยึดครองออกไป
ในเมืองเล็กกว่า
ที่เป็นผู้ติดตามกระแสเมืองใหญ่มาช้านาน
.
แล้ว Carlo Petrini
ชายชาวอิตาลีทำอย่างไร
เพื่อต่อสู้กับธุรกิจอาหาร
ที่ครองใจ หนุ่มสาวสมัยใหม่
โดยไม่คำนึงถึงคุณค่า
ที่ถูกส่งต่อไป
ถึงคนกลุ่มใหญ่
ในประเทศที่ตนอาศัยอยู่
.
โปรดติดตามตอนต่อไปใน Carlo Petrini ผู้ให้กำเนิด “Slow Food” วิถีการกินช้าแบบหอยทาก และทำสงครามกับ McDonalds’ ตั้งแต่เปิดสาขาแรกในอิตาลี- ตอนที่ 2
.
เขียนและโพสต์ครั้งแรกโดย
W.M.Thailand
Facebook page :
.
References:
โฆษณา