17 ส.ค. 2020 เวลา 05:16 • ประวัติศาสตร์
บทเรียนที่ 2/21 เมื่อโตขึ้น เธอจะไม่มีงานทำ
ระบบชีวะเคมี เป็นตัวกำหนดอารมณ์และความรู้สึกของมนุษย์ ซึ่งอัลกอริทึมของ AI ล่วงรู้สิ่งเหล่านี้ได้ดีและสามารถประมวลผลออกมาเป็นผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยมและเป็นกลาง อย่างที่เรารู้กันใน สื่อสังคมออนไลน์ เก็บบันทึกตัวตนของพวกเราบางส่วนเอาไว้มากน้อยตามแต่ที่พวกเราจะต้องการด้วย โพส รูปภาพ สถานะ คอมเม้น ถ้าอยากจะถามว่าใครสักคนจะเป็นคู่รักที่ดีของคุณได้หรือไม่ อีกไม่นานนักเราคงเลือกจะพึ่งพาอัลกอริทึมของ Facebook มากกว่าหมอดู เป็นแน่แท้
.
ชีวะเคมีในร่างกายของสิ่งมีชีวิตนั้นคาดเดาหรือพยากรได้ยากก็จริงแต่ถ้าเรามีระบบ Bigdata ที่ใหญ่เพียงพอจะเก็บข้อมูลทุกอย่างของบุคคลไว้และสร้างการเชื่อมโยงกับความรู้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเชิงพฤติกรรม อาจจะสามารถสร้างตัวตนของพวกเราขึ้นอีกคนในโลกไซเบอร์ที่เคลื่อนไปด้วยความเร็วแบบนี้ได้ไม่ยากนัก
.
อัลกอริทึมรู้ดีว่าเวลาที่พวกเราทำงาน ไม่ว่าจะเป็นโรงงานทอผ้า เหมืองแร่ ยานยนต์ หรือ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มีรายงานความผิดพลาดจากการทำงานด้วยมนุษย์เสมอ เคมีทางชีวะวิทยาของพวกเราส่งผลต่อความรู้สึกและพฤติกรรมโดยตรง ทั้งความง่วง เบื่อ ตื่นเต้น โศกเศร้า อิจฉา ไปจนถึงสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แค่เหงื่อหยดเดียว ก็เป็นต้นเหตุของความผิดพลาดในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาได้ทั้งนั้น
.
ฉะนั้น การเข้ามาแทนที่แรงงานด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติ กำลัง Disruption ไม่เว้น แม้แต่นายธนาคารทุกแห่งถูกแทนที่ด้วย Application E-Banking อันสะดวกและแม่นยำ แล้วกลุ่มแรงงานในอาชีพดั้งเดิมจะทำอย่างไร รอให้รัฐบาลโลกเข้ามาดูแลส่งมอบสวัสดิการว่างงานให้ไปจนกว่าจะหางานใหม่ได้เช่นนั้นหรือ อาจยังพอมีทางรอดหรือไม่ถ้าคนว่างงานเหล่านั้นเรียนรู้พัฒนาทักษะของการทำงานให้อยู่ในระดับสูงขึ้น ยากเกินไปที่จะตอบคำถามที่ท้าทายเช่นนี้ ชาวไร่ข้าวโพดจะทำอย่างไรถ้าถูกแทนที่ด้วยรดเครื่องจักร์เก็บเกี่ยวและไถพรวนได้ในคราวเดียวกัน คนงานนับพันอาจต้องออกจากงานและรับค่าชดเชยเพียงไม่กี่เดือนซึ่งสั้นเกินไปในการฝึกทักษะใหม่เพื่องานที่ยังขาดแคลนอยู่เช่น ช่างซ่อมบำรุงกลไกอัตโนมัติ เซนเซอร์ความร้อน การควบคุมด้วยรีโมท หรือพนักงานโค๊ดดิ้งที่สามารถดึงรายงานผลผลิตและประมาณการวางแผนการเพาะปลูกในระยะยาวได้
.
หลักจากตกงานแล้วพวกเขาจะเป็นอย่างไร Covid-19 เร่งความเร็วของเหตุการณ์เหล่านี้เข้ามาใกล้ขึ้นอย่างน่าเหลือเชื่อ ผู้คนกว่า 40 ล้านคน ในสหรัฐฯ กำลังจะถูกยึดบ้านที่พวกเขาขาดส่งค่างวด และผู้ว่างงานอีกนับร้อยล้านทั่วโลก เรียกร้องสวัสดิการที่จะต่อชีวิตของพวกเขาออกไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมีโอกาศจากรายได้ใหม่เข้ามา รัฐจะทำอย่างไรดี จะเลี้ยงคนว่างงานเหล่านี้ไปเรื่อยๆ เพื่อคะแนนเสียงในสมัยหน้า หรือหาทางอัพเกรดทักษะที่จะเป็นสำหรับอาชีพใหม่ก็ยังพอจะมีโอกาสรอดหรือไม่
.
เราสามารถเก็บสิ่งของที่ไม่มีประโยชน์แล้วทิ้งไปได้อย่างง่ายดายแต่คงจะเป็นคนละเรื่องในการใช้วิธีเดียวกันนี้กับมนุษย์ที่มีทักษะล้าหลัง เรื่องท้าทายนี้ต้องใช้เวลาในการเคลื่อนผ่านช่องว่างของอาชีพเก่าไปสู่อาชีพใหม่ด้วยเหตุผลทางมนุษยธรรม เพราะมันส่งผลกระทบไปยังโครงสร้างหลักของประเทศที่ไม่ใช่แค่เรื่องเศรษฐศาสตร์ การค้า แต่เป็นเรื่องประชากร ไม่แน่ว่ารัฐบาลโลกอาจนำแนวคิดที่ครั้งหนึ่งจีนเคยนำมาให้กับประชากรลูกดกของพวกเขาคือ 1 ครอบครัว ลูก 1 คน สวัสดิการสำหรับเด็กคนที่ 2 เป็นต้นไปจะถูกจำกัด ต้นทุนในการมีลูกจะสูงขึ้นมาก วิชาการโปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจถูกบรรจุในหลักสูตรของเด็กประถมต้นและอีก 30 ปี เราอาจได้เห็น เด็กเริ่มทำงานตอนอายุ 15 จะใช้เวลาเรียนไปถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปทำไมถ้าอัลกอริทึมบอกได้ตั้งแต่แรกแล้วว่าเด็กแต่ละคนมีแนวโน้นจะพัฒนาไปยังทักษะชั้นสูงในวิชาชีพไหนได้บ้าง เช่นโปรแกรมเมอร์ นักชีวกลศาสตร์ ช่างซ่อมบำรุงโดรน วิศวกรอาหาร และอีกหลายอาชีพล้ำสมัยเกินกว่าจินตนาการในตอนนี้
.
อากาศยานไร้คนขับบินอยู่เหนือน่านฟ้าประเทศผู้ถือครองทรัพยากรปิโตเลียม แต่น่าขันนักทั้งๆ ที่ไม่ต้องมีคนขับแต่กองทัพก็ยังขาดแคลนช่างซ่อมบำรุงโดรนพิฆาตถึง 80 คน ในช่วงเวลาจำเป็น เช่นเดียวกับโปรแกรมหมากรุกโปรแกรมเมอร์ศึกษาวิธีเดินหมากของแชมป์โลกแล้วนำไปสร้างเป็นซอฟแวร์นักหมากรุก เพื่อนำมันมาโค่นแชมป์โลก ผลคือซอฟแวร์มีชัยเหนือมนุษย์ผู้เป็นแชมป์ แต่อีกไม่กี่ปีแชมป์ผู้พ่ายแพ้ศึกษาวิธีการเดินมากของซอฟแวร์และกลับมาชนะได้อย่างไม่ยากนัก เพราะเขาได้พัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ ขึ้นมารับมือกับซอฟแวร์ที่มีข้อจำกัดเรื่องแผนการนอกเหนือจากข้อมูลที่ Input มาให้ตั้งแต่แรก เห็นชัดว่าต้องมีการ Update
.
มนุษย์คือผู้อัพเกรดเครื่องจักร มนุษย์คือผู้สร้างการเรียนรู้และสรรหาวิธีใหม่ๆ ได้เสมอ ทั้งเรื่องช่างซ่อมโดรนและโปรแกรมหมากรุกบอกเราว่า จะไม่มีใครผงาดได้แค่คนใดคนหนึ่ง มนุษย์จะไม่ได้อำนาจในการครองโลกอย่างสิ้นเชิงเช่นเดียวกับเครื่องจักร เพราะทั้งคู่ยังต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่างน้อยก็ก่อนปี 2050 ตามที่อาจารย์โนวาล ได้กล่าวไว้ ในบทนี้ อาชีพดั้งเดิมจะหายไป และอาชีพใหม่ก็จะเพิ่มขึ้นมากพอๆ กัน แต่ของใหม่นี้ต้องการทักษะชั้นสูงที่พวกเราไม่คุ้นเคยนัก
.
ผู้ถือครองเทคโนโลยีจะเป็นมหาอำนาจโลก ประเทศกำลังพัฒนาจะล่มสลายนอกเสียจากจะฝากเนื้อฝากตัวกับลูกพี่ใหญ่ได้ทันเวลา ถึงตอนนั้น เสรีนิยมและสังคมนิยม จะกลับมาสร้างความหมายใหม่ให้กับโลกอีกครั้งหรือไม่ แรงกระเพื่อมทางเทคโนโลยีจะสร้างสงความในรูปแบบใดต่อจากนี้ ซึ่งผมเชื่อว่าไม่ใช่ในรูปแบบที่เราคุ้นเคยกันอย่างแน่นอน ทางแก้ในจุดที่เล็กลงกว่านั้นในระดับประชากรครัวเรือนของเราคือ การเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด “ lifelong learning “
.
ระบบสังคม วัฒนธรรม และการเมือง ยังคงต้องทำหน้าที่รักษาความรู้สึกภักดีต่อเรื่องเล่าอันเป็นรากฐานความมั่นคงของชนชั้นแรงงานและความมั่นคั่งของพวกนายทุนเอาไว้ให้คงอยู่อย่างแนบแน่นประหนึ่งว่ามันจะไม่มีวันพังทลายลงเพราะการเปลี่ยนแปลงไปสู่เทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ อาจทำให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงและเหล่านายทุน รู้สึกไม่ชอบใจอย่างยิ่งถ้าประเทศประกาศให้ลดการใช้นำมันลงครึ่งหนึ่งแล้วหันมาใช้และลงทุนกับพลังงานสะอาดแทนซึ่งเรื่องแบบนี้มีการวิจัยและพัฒนามามากกว่าสิบปีแล้วแต่อุปสรรคคือการเปลี่ยนผ่านยังคงต้องสร้างความเชื่อมั่นต่อผลกำไรให้พวกนายทุนอีกด้วย จะเปลี่ยนไปทำไปใช้ไฟฟ้าทำไมกันในเมื่อน้ำมันยังทำกำไรได้อยู่ รัฐชาติจะบอกกับเกษตรกรอย่างไรว่าไม่จำเป็นต้องมีชาวไรอ้อยและผู้เลี้ยงสุกร อีกต่อไปแล้วเพราะนักวิจัยของเราได้คิดค้นอาหารที่สามารถแทนที่โปรตีน กูลโคส และกรดอมิโน บางตัวได้สำเร็จโดยใช้ต้นทุนและจำนวนคนที่น้อยกว่าได้แล้ว ความสำเร็จของหลายๆ โครงการจิงไม่ได้นำไปสู่การใช้ประโยขน์จริง หยุดอยู่แค่ต้นแบบ(Prototype) และรอนายทุนคนใหม่ที่มีอำนาจมากกว่าเห็นความสำคัญและนำไปลงทุนเข้าตลาดต่อไป
โฆษณา