17 ส.ค. 2020 เวลา 13:29 • การเมือง
พอเห็นการชุมนุมของกลุ่มนักศึกษาในวันที่ 16 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา
เลยหวนคิดถึงบทความชิ้นหนึ่ง ที่เคยอ่านในหนังสือ Why So Democracy
เขียนโดยไอติม พริษฐ์
จึงอยากมาชวนคุยกัน ในหัวข้อว่า
เรายังเป็นประชาธิปไตยอยู่ไหม
ถ้าคนทั้งประเทศโหวตเลือกเผด็จการ
1
ประชาธิปไตยคืออะไร
ก่อนจะไปคิดเรื่องอื่น
มาลองถามตัวเองกันก่อนดีกว่า ว่าประชาธิปไตยในความคิดของคุณคืออะไร
.... .
....
... (เว้นช่วงสักนิด เพื่อคิดคำตอบในใจ)
..
.
ถ้าถามเรา คงจะตอบว่า
เป็นระบบที่ให้เสียงของคนทุกคนเท่าเทียมกัน
และตัดสินใจตามที่เสียงส่วนมากเลือก
ถ้ายืมคำนิยามจาก wikipedia มา จะได้ว่า
ประชาธิปไตย (อังกฤษ: democracy) เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหารอำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมืองผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย
โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วยตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้
ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และกำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและเจตนาของตนเท่าเทียมกัน
2
ถ้าประชาธิปไตยคือแค่การอิงเสียงส่วนใหญ่
งั้นคำถามที่ว่า
หากคนทั้งประเทศโหวตเลือกเผด็จการ เราจะยังเป็นประชาธิปไตยอยู่ไหม
คำตอบต้องเท่ากับ ใช่ อย่างนั้นหรือ
ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง คงไม่ใช่สังคมที่ดีในความคิดเรา
...แล้วมันมีความหมายอื่นใดอีกได้ไหม ที่อธิบายคำว่าประชาธิปไตยได้ครบถ้วน
ที่ไม่ใช่เพียงตอบแค่ "กระบวนการ" ตามที่เสียงข้างมากเลือกมา
3
ไอติมเขียนไว้ว่า
"ประชาธิปไตยไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่กระบวนการที่ใช้ในการตัดสินใจ
แต่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระของผลลัพธ์ที่ได้ด้วย"
แปลว่าประชาธิปไตยที่แท้จริง อาจต้องมีทั้ง "กระบวนการ" และ "ผลลัพธ์"
"ผลลัพธ์" ที่คำนึงถึงความหลากหลายและความเท่าเทียมกันของมนุษย์
4
ยกตัวอย่างเช่น
ครอบครัวหนึ่งมีสมาชิกอยู่ 5 คน
ประกอบด้วย คุณพ่อ คุณแม่ และลูก 3 คน
สมมติครอบครัวนี้ต้องการทานอาหารเย็น
ประชาธิปไตยก็คงให้โหวตกัน
หากพ่อและลูกทั้ง 3 คนโหวตว่าอยากกินสเต๊ก ในขณะที่แม่เป็นมังสวิรัติ
เราจะเรียกเหตุการณ์นี้ว่าเป็นประชาธิปไตยได้หรือไม่
...
คงจะตอบไม่ได้เต็มปาก
เพราะผลลัพธ์ที่ได้ไม่ได้คำนึงถึงคุณแม่ ที่อาจจะไม่ได้ทานอะไรเลยในมื้อนั้น
ผลลัพธ์ดังกล่าวไม่ได้เคารพความหลากหลายของแต่ละคน ที่ทานอาหารได้ไม่เหมือนกัน
ทั้งที่จริง เราอาจเลือกร้านอาหารใหม่ที่ขายอาหารหลายแบบ
ทำให้คุณแม่ได้ร่วมโต๊ะอาหารด้วยกันพร้อมหน้าก็ได้
5
สรุปแล้ว
ประชาธิปไตยอาจไม่ใช่เพียง "กระบวนการตัดสินใจ" ด้วยเสียงข้างมากเท่านั้น
แต่เป็นการคำนึงถึงสาระสำคัญของ "ผลลัพธ์" ที่เคารพความหลากหลายและเท่าเทียมกันของมนุษย์ด้วย
เราเห็นหลากหลายความเห็น และการโต้เถียงทางการเมือง
ซึ่งอาจไปอิงกับ "กระบวนการตัดสินใจ" อาทิ การเลือกตั้งหรือบอกว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย มากเกินไป
โดยอาจลืมนึกถึง "ผลลัพธ์" ที่เคารพความหลากหลายและเท่าเทียมกัน
ว่าคนมีหลายกลุ่ม หลายความคิด
แนวทางที่ดีที่สุดไม่ใช่การใช้เสียงส่วนมาก เพื่อจำกัดสิทธิหรือปิดปากคนที่เห็นต่าง
แต่เป็นการรับฟังกัน ด้วยเหตุและผล
อย่างที่ไอติมยกตัวอย่างในหนังสือ
เราคงไม่ปล่อยให้คุณแม่ที่เป็นมังสวิรัติไม่ได้ทานอาหาร
ทั้ง ๆ ที่เราเลือกทางอื่นได้
6
เราจึงอยากเชิญชวนทุกท่าน
ให้เปิดใจรับฟัง
เห็นต่างไม่ผิด
แต่ต้องคุยกันด้วยเหตุผล
ชี้แจงด้วยหลักฐานและตรรกะ ไม่ใช่อารมณ์
3 ข้อเรียกร้อง 2 จุดยืน 1 ความฝัน ของนักศึกษา
เราเชื่อว่าสังคมจะเดินหน้าไปทางที่ดีขึ้นได้
แล้วผู้อ่านคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ
Tell Me More !
เพราะความอยากรู้มีไม่จำกัด
บันทึกไว้อ่านเองซะส่วนใหญ่ แบ่งปันกันได้ตามโอกาส
เรื่องราวการเงิน ธุรกิจ การลงทุน รอบตัว
— ทุกการกดไลค์ กดแชร์ กดติดตาม คำติชม สร้างกำลังใจให้ผู้เขียน
ติดตามได้ที่
อ้างอิง
หนังสือ Why So Democracy ประชาธิปไตยมีดีอะไร?
ผู้เขียน พริษฐ์ วัชรสินธุ
โฆษณา