18 ส.ค. 2020 เวลา 10:47 • การศึกษา
มีใครตอบได้ไหมว่า😅😅😅
 
"พรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น"
..ผู้คนส่วนใหญ่ก็มักจะปลอบใจตัวเองว่า
"อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
วันข้างหน้าไม่มีใครรู้" ว่าจะเกิดอะไรขึ้น.
ดี หรือ แย่ เราจะเผชิญกับความสูญเสีย หรือไม่ หรือเกิดความเสียหาย ต่อชีวิต และทรัพย์สินเราหรือไม่ หรือเสียหายต่อเงินเก็บ เงินออม เงินลงทุน ธุรกิจ หรือไม่ เราไม่อาจรู้
แต่เราสามารถกำหนดการกระทำของเราที่ส่งผลต่อวันนี้ของเราได้ นั่นคือ
 
"ทำวันนี้ให้ดีที่สุด"🤩🤩🤩
..
อย่างไรก็ตาม...
พวกเราส่วนใหญ่ ปรารถนาที่จะให้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นเรื่องดีงาม และส่งผลดีต่อชีวิต ไม่อยากให้เกิดความเสียหาย และถ้าเกิดขึ้น เราอยากให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
...
...
...
แต่ในเมื่อเราไม่มีทางล่วงรู้อนาคต 😱😱😱
เป็นไปได้ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นในชิวิต อาจเป็นสิ่งที่เราไม่คาดคิด...
และส่งผลเสียหายต่อชีวิต หรือทรัพย์สินที่หาได้ด้วยความยากลำบาก ซึ่งส่งผลต่อความสูญเสียทางรายได้และเงินออม หรือสูญเสียโอกาสในการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเงิน หรือ กระทบแผนเกษียณกันเลยทีเดียว
🏖🏖🏖
ถึงแม้จะไม่สามารถรู้อนาคต แต่เราสามารถรับมือความรุนแรงของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ โดยการเตรียมมาตรการป้องกัน ให้เสียหายน้อยที่สุด หรือ ลดความเสียหายให้มากที่สุด
⚡️⚡️⚡️
"การประกันภัย" จึงถือเป็นมาตรการรับมือในการบรรเทา แบ่งเบาความรุนแรง ของเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและเป็นส่วนสำคัญใน🎯🎯การวางแผนการเงินส่วนบุคคล
เป็นวิธีการหนึ่งในการลดความสูญเสียทางการเงิน ทำให้บุคคลสามารถลดภาระค่าใช้จ่าย คุ้มครองเงินออมและทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปอันเนื่องจากเหตุการณ์ไม่คาดคิดโดยบริษัทที่รับประกันภัยจะทดแทนค่าเสียหายให้ตามจำนวนเงินและเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ การประกันภัยจึงเป็น ทางเลือก ในการสร้างความมั่นคงทางการเงินหรือปกป้องความมั่งคั่ง (welth protection)
1
ประกันชีวิต กับ การโอนความเสี่ยง
วันนี้พี่ตาจะมาพูดถึง แนวทางการจัดการความเสี่ยงโดยใช้การประกันภัย เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยง
👉ก่อนที่พี่ตาจะเข้าเนื้อหาในเรื่องของความเสี่ยงภัยๆอยากให้พวกเราทุกคนรู้ก่อน ว่าความเสี่ยงภัยคือ อะไร วันนี้ก็จะแอบเนื้อหากึ่งๆไปทางวิชาการนิดๆนะคะ
💥💥ความเสี่ยงภัย(Risk)
ความเสี่ยงภัย หมายถึง โอกาสหรือความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันจะนำมาซึ่งความสูญเสียชีวิตหรือทรัพย์สินและจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังสถานะทางการเงินและสภาวะทางจิตใจของผู้ประสบความเสี่ยงภัย
⚡⚡ภัย หมายถึง สาเหตุของความเสียหายซึ่งอาจเกิดจาก
 
1.ภัยธรรมชาติ (natural perils) สาเหตุของความเสียหายเกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งอยู่เหนือความควบคุมของมนุษย์เช่นแผ่นดินไหวพายุน้ำท่วม ฟ้าผ่า เป็นต้น บ้านเราไม่มีแผ่นดินไหวเราก็จะเจอแต่น้ำท่วมเป็นหลัก
 
2. ภัยจากมนุษย์ (human perils) สาเหตุของความเสียหายเกิดจากฝีมือหรือการกระทำของมนุษย์ เช่น เพลิงไหม้,รถชน,การโจรกรรม ,การฆาตกรรม ,การจราจล ,การขโมย เป็นต้น
 
3. ภัยเศรษฐกิจ(economic perils) สาเหตุหลักของความเสียหายเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจ เช่นภาวะเงินเฟ้อเงินฝืดหรือการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หรือ การเกิดภาวะเงินฝืด หรือ ภาวะโรคระบาดโควิด ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจทั่วโลก
สมัยรุ่นพ่อรุ่นแม่ มีเงิน 10 ล้าน ดบ. 12% ไม่ต้องทำอะไร ก็อยู่ได้สบาย หรือเกิดจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
 
🌋ภัยต่างๆ เหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อผู้ประสบภัย เช่นเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตในวัยเกษียณ ทุขพลภาพ ว่างงาน เราไม่อาจรู้ว่าภัยต่างๆเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อใดแต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเมื่อเกิดภัยความเสียหายหรือความสูญเสียจะตามมาดังนั้นเราควรจะมีแนวทางในการจัดการความเสี่ยง
🗯🗯🗯🗯
☄☄แนวทางการจัดการความเสี่ยง
รูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคนย่อมมีโอกาสที่จะเผชิญกับความเสี่ยงไม่เท่ากัน เช่นความเสี่ยงด้านอุบัติเหตุ ความเสี่ยงต่อชีวิต หรือ ความเสี่ยงต่อทรัพย์สิน
ดังนั้นเราทุกคนควรมีการจัดการความเสี่ยงที่ตนเองจะต้องเผชิญอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. การหลีกเลี่ยงความเสี่ยงภัย (risk avoidance) เป็นการป้องกันความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ หรือสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายโดยการไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือสาเหตุที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ถ้าเรากลัวอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม หกล้ม เราก็ควรตรวจสอบ พื้นรองเท้า พื้นถนน ว่ามีความเปียกไหม ถ้าเปียกก็ไม่เดินไปตรงนั้น หรือ ถ้ากลัวรถชน ก็ไม่ขับรถ
2. การลดความเสี่ยง (risk reduction)
และลดความรุนแรงของความเสียหาย
(loss reduction)
ในกรณีที่เราเลี่ยงไม่ได้ละ เราจำเป็นต้องเผชิญในการใช้ชีวิตตแต่ละวัน เราอาจลดความเสียหายได้ตามนี้
🧿ใช้มาตรการป้องกัน เพื่อลดการเกิดความเสี่ยง เช่น ถ้าเราเป็นนักวิ่ง เราต้องดู เรื่องรองเท้า เรื่องที่กันกระแทกสำหรับเข่า หรือ ถ้าร่างกายเราไม่พร้อม เราควรงดวิ่ง ถ้าเราจะเดินทางนทางไกล โดยใช้รถยนต์ เราก็ควรตรวจเช็คสภาพรถก่อนเดินทางเป็นต้น ในชีวิตวิตจริง อาจป้องกันไม่ได้ แต่การเตรียมการทำให้เราสามารถ ลดความเสี่ยงลงได้
🧿 การใช้มาตรการรับมือ เช่น รัดเข็มขัดนิรภัย เพื่อลดความรุนแรงของความสูญเสียหาย
🧿 การกระจายความเสี่ยง โดยไม่เก็บทรัพย์สินมีค่าไว้ที่เดียว อาจแบ่งไว้ที่บ้าน หรือ ที่เซฟของธนาคาร เพื่อลดการโจรกรรม
3. การยอมรับความเสี่ยงไว้เอง อันนี้ ชัดเจนมากในความหมาย " ถ้าคุณไม่ทำประกัน ก็เท่ากับคุณทำประกันอยู่ดี" ...
แต่เป็นคุณที่ต้องจ่ายเองทั้งหมด ในกรณีเสียหายเกิดขึ้น แทนที่จะให้บริษัทประกันมาช่วยรับความเสี่ยง บางกรณี เช่น การทำประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก เบี้ยต่อปี ราคาค่อนข้างแพง ถ้าเราร่างกายแข็งแรง การรับความเสี่ยงไว้เอง อาจเป็นการประหยัดเบี้ย แต่ถ้าเกิด เป็นความดันโลหิตสูง ที่ต้องไปรับยาทุกเดือน การมีประกันแบบผู้ป่วยนอก ก็จะทำให้เราจ่ายน้อยกว่าในกรณีมีประกัน
4. การโอนความเสี่ยงภัย
ในกรณีที่ไม่สามารถ รับความเสี่ยงเอาไว้ได้เราก็ควรจะใช้วิธีการโอนความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับตัวเราไปให้บุคคลอื่น ซึ่งกรณีนี้อาจจะทำได้ 2 แบบ
1. การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บุคคลอื่นที่ไม่ใช่บริษัทประกัน เช่นกรณีที่มีสัญญากู้ยืมเงินที่เจ้าหนี้กำหนดให้ลูกหนี้หาบุคคลมาค้ำประกัน แทนลูกหนี้ แต่คนค้ำประกัน ก็ต้องมีความสามารถในการชำระหนี้ แทน
2. การโอนความเสี่ยงภัยไปให้บริษัทประกันเป็นการโอนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กับสุขภาพชีวิต หนี้สิน หรือทรัพย์สินของบุคคลไปให้กับบริษัทประกันภัยโดยผู้โอนความเสี่ยงหรือผู้เอาประกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันและผู้รับโอนความเสี่ยงหรือบริษัทประกันให้สัญญาว่าจะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เอาประกันภัยซึ่งการโอนความเสี่ยงในกรณีนี้จะได้รับค่าชดเชยหลังเกิดการสูญเสียและทำให้ทราบค่าใช้จ่ายที่แน่นอนในการจัดการความเสี่ยงรวมทั้งรู้ว่าเบี้ยประกันที่เราต้องจ่ายในกรณีที่เป็นประกันชีวิต และยังลดหย่อนภาษีส่วนบุคคลได้
แต่อย่างไรก็ดีบริษัทประกันไม่ได้รับทุกความเสี่ยงดังนั้น เราต้องพิจารณา ว่าความเสี่ยงประเทศใดที่สามารถโอนได้และเงื่อนไขต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงคำนึงถึงความสามารถในการชำระค่าเบี้ยประกันซึ่งจะกลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายประจำที่เพิ่มขึ้นด้วย
 
และต้องคำนึงไม่ให้เกิดความเสี่ยง
ทางศีลธรรม หรือ moral Hazard ขึ้นมาแทน อย่างเช่น กรณีที่เราทำประกันรถแล้วละเลยไม่ปิดประตูบ้านให้แน่นหนา แถม เสียบกูญแจ คาไว้ที่รถ โดยไม่สนใจว่าทรัพย์สินในบ้านจะถูกโจรกรรมเป็น ต้น แบบนี้ ประกัน อาจไม่จ่ายได้ เพราะเกิดจากความประมาทเลิ่นเล่อร้ายแรง
ถึงตรงนี้ พี่ตาอยากจะบอกว่า
ไม่ว่าคุณจะทำประกัน หรือ
..
ไม่ทำประกัน คุณ ก็ทำประกันอยู่ดี
..
🔥ทำแบบให้บริษัทประกันรับความเสี่ยงไป
หรือ
🌋ทำแบบถือความเสี่ยงเอาไว้เอง...
ในสถานะการณ์หลัง ความเสียหาย อาจรุนแรงเกินกว่าเราจะรับมือได้
ก็เป็นไปได้นะคะ
..
🥰🤩😍รักครอบครัว ห่วงอนาคต..
..
อย่าลืมป้องกันความเสี่ยง
..
เพื่อปกป้องความมั่งคั่ง👨👩👧👩👧👨👧👦👨👩👧👦
เป็นประโยชน์ อย่าลืมส่งกำลังใจให้
ผู้เขียนด้วยนะคะ
กดไลก์
กดแชร์ หรือ
ติดตามกันได้ผ่านช่องทาง FB
นะคะ รักทุกคน
และขอขอบคุณทุกคนที่อ่านจนจบค่ะ
เจอกัน เมื่อเจอกันคร้า🥰🙏💝💞
ขอบคุณมาก ๆ นะคะ
กดติดตามพี่ตาได้อีกช่องทางนะคะ
ขอบคุณที่มา #การบริหาการเงินส่วนบุคคล
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ถ้าอ่านบทความจบ แล้วงง ๆ
คือ ไม่ใช่พี่นะ กิน IF 16/8 มาเป็นวันที่ 4 ละ เริ่มรู้สึกว่ามึน ๆ หรือ อาหารไม่พอ หรือ เป็นเรื่องปกติ ที่พี่ตาจะมาแบบงง. เช่นนี้เอง...
โฆษณา