20 ส.ค. 2020 เวลา 01:35 • ธุรกิจ
#กรณีศึกษา กระแส #แบนสปอนเซอร์เนชั่น ความเสี่ยงทางธุรกิจ…ที่แบรนด์ไม่อาจรับไหว เรื่องราวมันเป็นยังไง #เดี๋ยวสรุปให้ฟัง
1) เรื่องมีอยู่ว่า… ตอนนี้ในโลกออนไลน์โดยเฉพาะ Twitter ได้มีแฮชแท็ก #แบนสปอนเซอร์เนชั่น โดยมีการแชร์รูปธุรกิจที่เป็นสปอนเซอร์ของช่องเนชั่นทีวี เพื่อชักชวนกันให้เลิกใช้สินค้าหรือบริการจากสปอนเซอร์เหล่านี้…
2) เรื่องมันเริ่มต้นมาจาก "เหตุการณ์ชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย" เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม 2563 โดยนักข่าวของทางช่องเนชั่นทีวีได้ออกไปทำข่าวการชุมนุม… แต่ในช่วงหนึ่งได้มีการขอสัมภาษณ์ผู้ชุมนุมโดยอ้างว่าตนเองเป็น "นักข่าวจากอีกช่องหนึ่ง" (ช่อง NewTV 18)
3) ความมันแตกตรงที่ผู้ให้สัมภาษณ์ดันไปเห็น “คลิปตัวเอง” แต่ไม่ใช่ในช่อง News TV… แต่ดันเป็นช่อง "เนชั่นทีวี!" เอาล่ะสิ…ความแตก จากนั้นเพื่อนของผู้ให้สัมภาษณ์คนนี้เลยได้ tweet ถึงเหตุการณ์นี้ และต่อมามีผู้ Retweet ต่อถึงกว่า 9 หมื่นครั้ง… รวมถึงดันแฮชแท็ก #แบนสปอนเซอร์เนชั่น ให้ติดอันดับ Top 10 ของเทรนด์ Twitter...
4) จากนั้นทางช่องเนชั่นทีวีได้มีการพูดถึงประเด็นนี้ในรายการข่าว…โดยผู้ประกาศหญิงท่านหนึ่งได้แจ้งว่าจากการตรวจสอบแล้ว พบว่านักข่าวมีการทำผิดจริง… และได้มีการขอโทษผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายผ่านทางรายการ… และยังบอกอีกว่าช่วงนี้เริ่มมีสปอนเซอร์หลายรายติดต่อมาที่บริษัทเพื่อขอ “ถอนโฆษณา” ออกจากเนชั่นทีวี เพราะกระแสการ #แบนสปอนเซอร์เนชั่น ในโลกออนไลน์…
5) ทางเนชั่นทีวีได้ออก “แถลงการณ์จากใจ” ต่อสังคมชี้แจงถึงประเด็นที่เกิดขึ้น มีใจความว่า…ทางช่องต้องขอโทษสังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่นักข่าวคนนั้นทำไปเพราะรู้สึกวิตกกังวลเนื่องจากทางเนชั่นถูกกดดันการปฏิบัติหน้าที่ ถูกคุกคาม และถูกด่าทอด้วยคำหยาบคายจากการลงพื้นที่ทำข่าวชุมนุมมาโดยตลอด
นอกจากนี้ยังพูดถึงเรื่องการ #แบนสปอนเซอร์ ว่าสปอนเซอร์ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับทางช่องเนชั่น ขอให้หยุดนำโลโก้สปอนเซอร์มาเกี่ยวข้องกับการรายงานข่าว หรือใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพราะเป็นการสร้างความเสียหายต่อแบรนด์อย่างไม่เป็นธรรม…
1
และสุดท้าย… เนชั่นแจ้งว่าข้อมูลหลายอย่างของเนชั่นทีวีที่ปรากฏอยู่บนโลกออนไลน์เกือบทั้งหมดเป็นข้อมูลที่ “ถูกบิดเบือน” โดยมีการใช้ Hate Speech เพื่อสร้างความแตกแยกในบ้านเมือง และทางเนชั่นทีวีจะให้ฝ่ายกฎหมายดำเนินคดีถึงที่สุด... อีกทั้งยังย้ำว่า เนชั่นทีวีเป็นสถานีข่าว ปฏิบัติงานด้วยพื้นฐานของจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดย “ไม่เลือกปฏิบัติ” #ครับ
6) หลังจากแถลงการณ์นี้… กระแสก็ตีกลับอีกรอบ (ตามคาด) กลายเป็นยิ่งเพิ่มความร้อนแรงในโลกออนไลน์ให้ #แบนสปอนเซอร์เนชั่น มากขึ้นกว่าเดิม… มีผู้ใช้งาน Twitter หลายคนถึงกับ tweet ถามกันเองว่า จะใช้สินค้าอะไรมาแทนสินค้า xxx ที่สนับสนุนเนชั่นทีวีได้บ้าง… เพราะตั้งใจจะเลิกใช้ทั้งหมด เป็นต้น…
7) ในต่างประเทศ เราจะเห็นเหตุการณ์แบบนี้อยู่บ่อยครั้ง… และหลายครั้งที่ “แบรนด์” เลือกที่จะหยุดให้การสนับสนุนธุรกิจ หรือ บุคคล เพื่อป้องกันปัญหาภาพลักษณ์ขององค์กร
ตัวอย่างเช่น กรณีนักเทนนิสสาว “มาเรีย ชาราโปวา” ในปี 2016 เธอถูกตรวจพบการใช้สารกระตุ้นซึ่งเป็นที่ต้องห้ามในวงการ… ทำให้แบรนด์ที่เธอเป็น Brand Ambassador ในขณะนั้นซึ่งก็คือแบรนด์นาฬิกาหรู “Tag Heuer” และ “NIKE” ได้ตัดสินใจไม่ต่อสัญญากับเธอ เพื่อเป็นการตัดปัญหาภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อแบรนด์…
1
#สรุปแล้ว เราจะเห็นว่า… เมื่อเกิดภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อตัว “สื่อ” ซึ่งในทีนี้ก็คือ “เนชั่นทีวี” หรือในกรณีของต่างประเทศคือตัวนักเทนนิส “มาเรีย”… แบรนด์หรือธุรกิจที่สนับสนุน “สื่อ” เหล่านั้นก็ตัดสินใจอย่างรวดเร็วในการ “เลิกสนับสนุน” เพราะมันเป็นความเสี่ยงที่แบรนด์ “ไม่อาจรับไหว” หากเหล่าลูกค้าพากันเลิกใช้สินค้า จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม สุดท้ายแล้วมันส่งผลต่อรายได้ของธุรกิจ การตัดสินใจ “เลิกสนับสนุน” ก็ดูจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในจังหวะนี้…
#ทิ้งท้าย ถ้าถามแอดมิน… ถ้ามั่นใจว่าผู้ติดตามช่องของเรา “พร้อมสนับสนุน” จริงๆ ก็คงไม่ต้องออกแถลงการณ์อะไรแบบนี้… เพราะถ้ามีลูกค้ากลุ่มนึงบอกจะ “เลิกซื้อสินค้า” ก็ย่อมต้องมีอีกกลุ่มนึงออกมาบอกว่า “พร้อมสนับสนุนสินค้า” โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย… ดังนั้น คำถามคือ...แล้วคุณมั่นใจรึเปล่าล่ะ?
1
โฆษณา