20 ส.ค. 2020 เวลา 09:57 • สุขภาพ
นอนยังไงให้ สดชื่นเวลาตื่น
ใครเคยเป็นบ้าง นอนก็เยอะแล้วแต่ตื่นมาก็ยังไม่สดชื่น พยายามนอนเร็วก็นอนไม่ หลับ วันนี้เราลองมารู้จัก การนอนที่มีประสิทธิภาพกันหน่อยดีกว่า กระซิบดังๆนอนดีช่วยลดความอ้วนได้ด้วยนะ
“กฎการนอน 90 นาที” ใครเคยรู้จักบ้างมั๊ย ลองมาทำความรู้จักกันดู
โดยปกติเมื่อเรานอนหลับ จากผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า สมองของเราจะทำงานต่อไป โดยขณะหลับสมองจะทำงานเป็นรอบ ๆ ซึ่งในแต่ละรอบการทำงานนั้นจะใช้ เวลาประมาณ 90 นาที ทำให้เกิดช่วงเวลาที่เรียกว่าช่วง “หลับลึก” และ “หลับตื้น” หากเราตื่นขึ้นมาในช่วงที่เรากำลังหลับลึก เรามักจะเกิดอาการเพลียและงัวเงียเป็นอย่างมาก เราจึงควรตื่นในช่วงเวลาหลับตื้นของสมอง เราจึงควรทำความรู้จัก "กฎการนอน 90 นาที " เพื่อที่จะได้นำไปปรับใช้ในการตั้งนาฬิกาปลุกของเรา และ ขจัดอาการเพลียหลังตื่นนอนไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไป
การทำงานของสมองขณะหลับ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง
NON REM (NON Rapid Eye Monement) เป็นการนอนในช่วงเริ่มต้น ประมาณ 80 นาที การนอนช่วงนี้ประกอบด้วย
-ช่วงเริ่มหลับ มีอาการงัวเงีย ใช้เวลาประมาณ 5-10 นาที
- ช่วงหัวใจเริ่มเต้นช้าลง ยังรับรู้ความเคลื่อนไหวจากข้างนอกได้อยู่ ช่วงนี้จะใช้ เวลาอีก 20 นาที
-หลับลึก ร่างกายจะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้ และตอบสนองกับสิ่งรอบข้างได้น้อยมาก ถ้าถูกปลุกช่วงนี้ ร่างกายจะอ่อนเพลีย ง่วงเหงาหาวนอน
REM (Rapid Eye Monement) ช่วงของการ “หลับตื้น”สมองเราจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่ตื่น ทำให้เกิดความฝันขึ้นได้ และส่วนมากคนก็จะฝันกันในช่วงนี้ ระยะเวลาในช่วงการหลับ REM จะอยู่ที่ประมาณ 10 นาที
ใน1 คืนที่เรานอน การนอนจะวนเป็น Cycle อย่างนี้ไปเรื่อยๆทั้งคืน ดังนั้น ถ้าเรา คำนวนเวลาให้ตื่น หรือตั้งนาฬิกาให้ปลุกในช่วง ของการ หลับตื้นได้ เราจะตื่นมา แล้วสดชื่น เช่น เราต้องการตื่น เวลา 05.30 น. ให้เวลาที่เราควรเข้านอน ได้แก่ 20.30 น. / 22.00 น. / 23.30 น. และไม่ต้องกังวลกับการที่ต้องมาคำนวนเองลองเข้าไปใน Internet จะมี web ที่สามารถคำนวนเวลาได้ เช่น https://sleepcalculator.co
ปัญหาที่มักพบบ่อยคือเข้านอนแล้วแต่นอนไม่หลับ ลองมาดู เทคนิคการทำให้เรา หลับได้ง่ายขึ้น
1. งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม โกโก้ และ แอลกอฮอล์ทุกชนิด ก่อนนอน
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาการมื้อหนัก ก่อนนอน 2 ชั่วโมง
3. ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน แต่ควรออกกำลังกายทุกวัน และห่างจากเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
4. งดการเล่นอุปกรณ์ไอทีและเครื่องมือสื่อสารบนเตียงนอนและก่อนนอนถ้าจำเป็น ต้องใช้งานควรให้ห่างเวลานอนอย่างน้อย 30 นาที -1 ชั่วโมง
5. เข้านอนและตื่นเป็นเวลา รวมทั้งไม่ทำกิจกรรมที่กระตุ้นจิตใจก่อนนอน เช่น ดูหนังสยองขวัญ
6.การจัดสภาพแวดล้อมในการนอนที่เหมาะกับตัวเอง
การนอนช่วยลดน้ำหนักได้นะ รู้มั๊ย
การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน“เลปติน” (Leptin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้สมองระงับความอยากอาหาร ทำให้ไม่รู้สึกหิวหรืออยาก กินอะไร ทำงานโดยกระตุ้นการเผาผลาญพลังงานขณะนอนหลับ
ในขณะเดียวกัน เมื่อร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนน้อย หรือนอนดึก จะหลั่ง ฮอร์โมน “เกรลิน” (Ghrelin) เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อทำให้เกิดความ อยากอาหาร
Growth Hormone :ช่วยซ่อมแซมร่างกาย ผ่อนคลายความเครียด ลดไขมัน โดยปกติGrowth Hormone จะออกมาตอน ช่วงเที่ยงคืนจนถึงตีหนึ่งครึ่ง และต้อง หลับสนิท ซึ่งการหลับสนิทจะใช้เวล 1 ชั่วโมงหลังจากการหลับ ดังนั้น ถ้าหลับหลังตีหนึ่งเราจะไม่ได้Growth Hormoneเลย ดังนั้น การหลับที่ถูกต้องคือ หลับไม่เกิน ห้าทุ่ม และปริมาณGrowth Hormoneจะลดลงหรือถูกสลายไปเมื่อมีน้ำตาลสูง ดังนั้น ก่อนนอนจึงไม่ควรบริโภคอาหารที่มีน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต
โฆษณา