23 ส.ค. 2020 เวลา 10:00 • ประวัติศาสตร์
ตำนานโหดสัสรัสเซีย! 'โจเซฟ สตาลิน' จอมเผด็จการโซเวียตผู้ถูกนิยามว่าเป็นบุรุษที่โหดเหี้ยมและเลือดเย็นที่สุดในประวัติศาสตร์
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
เบื้องหลังดวงตาสีดำที่ดูอบอุ่นอ่อนโยนของ โจเซฟ สตาลิน หนุ่มใหญ่ที่ดูท่าทางใจดีเมื่อได้พบเห็นเป็นครั้งแรก แต่ความจริงแล้วภายใต้ดวงตาที่ดูอบอุ่นอ่อนโยนคู่นั้นกลับมีแต่ความแข็งกระด้างและความเด็ดขาดซุกซ่อนอยู่ กล่าวกันว่าเขาไม่เคยลังเลในการสังหารคนจำนวนมากเพื่อเติมเติมความฝันและความทะเยอทะยานในการนำพาสหภาพโซเวียตเป็นชาติมหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียวของโลก พิสูจน์ได้จากชาวโซเวียตหลายล้านคนที่ถูกกำจัดทิ้ง เพียงเพราะพวกเขาคิดต่างและต่อต้าน ในจำนวนนี้บางคนก็เคยเป็นเพื่อนของสตาลิน และอีกหลายสิบล้านคนถูกส่งไปใช้แรงงานที่ค่ายกักกัน
โจเซฟ สตาลิน มีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์สะเทือนขวัญของชาวโซเวียตสองครั้ง ครั้งแรกคือเหตุการณ์ความอดอยากในพื้นที่ยูเครนของสหภาพโซเวียตระหว่างปี ค.ศ.1932 – 1933 จากนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ตามแนวทางแผนปฏิรูป 5 ปีของสตาลิน จนทำให้เกิดภาวะอดอยาก บวกกับในช่วงเวลานั้นเกิดภัยแล้งจนทำให้มีชาวโซเวียตเสียชีวิตไปกว่า 5 ล้านคน และอีกครั้งคือการกวาดล้างกลุ่มผู้เห็นต่างทางการเมืองในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 จนทำให้สตาลินกลายเป็นผู้นำเผด็จการที่ไม่มีใครกล้าคิดต่อต้านอีกต่อไป
WIKIPEDIA PD
ด้วยความตั้งใจของสตาลิน ที่ต้องการนำสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นมาเป็นชาติมหาอำนาจ เขาได้ใช้นโยบายเกษตรรวมศูนย์ และได้กำจัดพวกเกษตรกรรายใหญ่ที่เป็นเจ้าของที่ดินร่ำรวยและมีแรงงานเป็นของตัวเอง เพื่อความมั่นใจว่าแผนปฏิรูปอุตสาหกรรมของเขาจะประจำความสำเร็จ หากใครที่คิดต่อต้านจะต้องถูกเนรเทศไปอยู่ชนบท เพื่อให้คนกลุ่มนี้ได้รู้จักกันดิ้นรนเอาชีวิตรอด และถ้าหากใครต่อต้านก็จะต้องถูกสังหารทิ้งเสีย
ความจริงแล้ว โจเซฟ สตาลิน คาดหวังว่าเกษตรกรผู้ยากไร้จะต้องยินดีกับนโยบายแผนปฏิรูปของเขา แต่ความเป็นจริงก็คือ เกษตรกรยากจนกลุ่มนี้ไม่มีการศึกษาที่ดีพอ และพวกเขาก็คุ้นเคยกับชีวิตดั้งเดิมของพวกเขา จนนำมาสู่การต่อต้านผู้นำทางทหารที่สตาลินส่งมาเพื่อให้มาบอกเกษตรกรยากจนกลุ่มนี้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
WIKIPEDIA PD
เมื่อโจเซฟ สตาลิน ทราบข่าว เขาโกรธมาก เขาจึงส่งตำรวจลับและทหารนอกเครื่องแบบออกไปทั่วชนบทเพื่อยึดเมล็ดพันธุ์พืชจากโรงนา และถ้าหากเกษตรกรคนใดต่อต้านก็จะต้องถูกสังหาร ไร่และฟาร์มปศุสัตว์ของพวกเขาก็จะถูกเผาทำลาย จนทำมาสู่ภาวะอดอยากทั่วสหภาพโซเวียต ระหว่างปี ค.ศ.1932 – 1933 ที่กล่าวกันว่านี่คือบทลงโทษของสตาลินด้วยความอดอยาก จนทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก แน่นอนว่าไม่มีใครทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่นอนจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ แต่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกกล่าวว่า ‘มีผู้เสียชีวิตจากภาวะอดอยากในครั้งนั้นหลายล้านคน’ เลยทีเดียว
WIKIPEDIA PD
ในปี ค.ศ.1935 ในช่วงเวลานั้นสถานะทางการเมืองของ โจเซฟ สตาลิน เริ่มมั่นคงมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเขาได้กำจัดผู้คนที่คิดต่อต้านเขา และฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง บางคนก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นกบฎต่อแผ่นดินและสมรู้ร่วมคิดกับพวกนาซีเยอรมันและจักรวรรดิญี่ปุ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น ลีออน ทรอตสกี้ คู่แข่งทางการเมืองของโจเซฟ สตาลิน ที่ถูกเนรเทศไปอยู่ที่เม็กซิโกและเสียชีวิตที่นั่นในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ เขายังได้สั่งประหารชีวิตจอมพล มิคาอิล ทูชาชอฟสกี และนายพลอีกหลายคนถูกสงสัยว่าเป็นกบฏ รวมไปถึงการกวาดล้างผู้นำคนสำคัญในรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตอีกหลายคน
WIKIPEDIA PD
ไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมโจเซฟ สตาลิน ถึงได้ถูกเปรียบเปรยว่าเป็นชายผู้แข็งกร้าว เด็ดขาด และไม่มีความเมตตาฝ่ายศัตรู เพราะแม้แต่ฝ่ายเดียวกันที่คิดต่าง โจเซฟ สตาลิน เองก็ไม่ได้แสดงท่าทีประนีประนอมด้วยเลยแม้แต่น้อย
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา