26 ส.ค. 2020 เวลา 03:00 • ประวัติศาสตร์
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยุคเขมรแดง เกิดขึ้นได้อย่างไร?
123RF
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
ประเทศกัมพูชาเคยผ่านช่วงเวลาอันแสนเลวร้าย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่แสนเจ็บปวดของคนในชาติ และเหตุการณ์ที่ว่าก็คือการสังหารหมู่โดยพวกเขมรแดง (Khmer Rouge) ซึ่งหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำว่า ‘ทุ่งสังหาร’ หรือ Killing Fields หรือแม้กระทั่งคุกโตลสเลง ก็ล้วนเป็นส่วนหนึ่งในโศกนาฎกรรมในครั้งนั้น
โดยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในครั้งนั้นเกิดขึ้นระหว่างปี 1975 - 1979 หรือเมื่อราว 40 ปีที่แล้ว โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากการทรมานหรือการประหารชีวิตเท่านั้น แต่ยังเกิดมาจากการบังคับให้ผู้คนทำงานหนักจนล้มตาย เกิดการอดอยากจนทำให้มีผู้เสียชีวิตและสูญหายไปเป็นจำนวนมาก จนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีการนับตัวเลขผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการ แต่มีการประเมินว่ายอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนั้นอาจสูงราว 1.7 - 3 ล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของประชาชนชาวกัมพูชาในขณะนั้นเลยทีเดียว โดยผู้เสียชีวิตก็มีทั้งชาวกัมพูชาและชาวเวียดนามอีกด้วย
WIKIPEDIA PD - AFP
ย้อนกลับไปในช่วงสงครามเย็น ซึ่งเป็นการเผชิญหน้ากับระหว่างฝ่ายเสรีนิยมที่นำโดยสหรัฐอเมริกา และฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียต ได้มีการพยายามสร้างอิทธิพลเหนือประเทศอื่น ๆ ด้วยการหาลูกน้องมาอยู่ฝั่งตัวเอง และมีการทำสงครามตัวแทนกัน ไม่ว่าจะเป็นสงครามเกาหลี สงครามอัฟกานิสถาน และสงครามเวียดนาม เพื่อคานอำนาจของอีกฝ่ายผ่านตัวแทน
WIKIPEDIA PD
WIKIPEDIA PD
โดยทางสหรัฐมีทฤษฎีที่เรียกว่า ‘ทฤษฎีโดมิโน่’ ที่เชื่อว่าหากโดมิโน่ตัวแรกล้ม โดมิโน่ตัวต่อไปจะล้มตาม นั่นหมายความว่าถ้าหากมีประเทศใดตกเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ ประเทศที่อยู่ข้าง ๆ ในภูมิภาคนั้นจะถูกยึดครองด้วยเช่นกัน สหรัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาขวาง ด้วยการช่วยเหลือประเทศเหล่านั้น ไม่ให้ตกอยู่ภายใต้การปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ได้ หลังจากจบสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในภูมิภาคนี้ได้รับเอกราช โดยกัมพูชาในตอนนั้นได้วางตัวเป็นกลาง คือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งเป็นความต้องการของกษัตริย์นโรดม สีหนุแห่งกัมพูชาเอง แต่ภายหลังได้เกิดสงครามเวียดนามขึ้นราวปี ค.ศ.1960 สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องส่งทหารเข้ามาสู้รบ โดยอเมริกาได้ช่วยเหลือเวียดนามใต้จากการถูกเวียดนามเหนือที่เป็นคอมมิวนิสต์สายสหภาพโซเวียตรุกราน ก่อนที่ภายหลังสหรัฐอเมริกาจะถอนกำลังออกไป เพราะเล็งเห็นแล้วว่าขืนอยู่รบต่อไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้นมา
1
WIKIPEDIA PD - WIKIPEDIA CC BEYOND SILENCE
ขณะเดียวกัน ทางฝั่งกัมพูชา กษัตริย์นโรดม สีหนุ ก็ถูกรัฐประหารจนต้องลี้ภัยไปที่จีน โดยนายพลลอน นอล ก้าวขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีและเปลี่ยนแปลงประเทศเป็นสาธารณรัฐ โดยกษัตริย์นโรดม สีหนุ ได้ขอการสนับสนุนจากคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งมี พอล พต ผู้นำเขมรแดงที่เป็นกลุ่มต่อต้านนายพลลอน นอล และพรรคพวก ที่ได้รับการหนุนหลังจากคอมมิวนิสต์จีนและสนับสนุนให้กษัตริย์นโรดม สีหนุ กลับมามีอำนาจอีกครั้ง โดยภายหลัง กลุ่มเขมรแดงของพอล พต สามารถยึดอำนาจจากนายพลลอน นอล ได้เป็นผลสำเร็จ กลุ่มเขมรแดงได้ทำการปิดประเทศ และกวาดต้อนชาวกัมพูชาที่เป็นผู้มีความรู้ไปทำไร่ไถนาในพื้นที่ห่างไกล และในช่วงเวลาดังกล่าว ได้มีผู้เสียชีวิตจากการถูกทรมานอย่างหนัก และถูกปล่อยให้อดตายเป็นจำนวนหลายล้านคนอีกด้วย จนเรียกได้ว่านี่คือช่วงเวลาที่ดำมืดที่สุดในประวัติศาสตร์ของกัมพูชา
3
AFP - กษัตริย์นโรดม สีหนุ - นายพลลอน นอล - พอล พต
หลายปีผ่านไป หลังจากพอล พต เสียชีวิตลง ก็ได้มีการจัดตั้งศาลพิเศษขึ้นมาเพื่อตัดสินความผิดผู้นำเขมรแดงที่เหลืออย่างนาย นวน เจีย และ นายเขียว สัมพัน ซึ่งนาย นวน เจีย ได้เสียชีวิต ไปเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 2019 ที่ผ่านมานี่เอง
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนให้เรามีกำลังผลิตงานต่อไปได้ทาง บัญชีกสิกรไทย
0698966939
บริษัท สโป๊คดาร์ค จำกัด
AFP นาย นวน เจีย - นายเขียว สัมพัน

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา