Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
information
•
ติดตาม
27 ส.ค. 2020 เวลา 12:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับสมมติฐาน ข้อเท็จจริง มโนทัศน์หลักการ ทฤษฎี กฎ
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่ได้จากธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์แสวงหาความรู้ จำแนกได้เป็น 6 ประเภท
1. สมมติฐาน (Hypothesis) เป็นข้อความซึ่งนักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เพื่อความคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้า ก่อนที่จะทำการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ ขึ้นอยู่กับหลักฐานเหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน ทั้งทางตรง และทางอ้อม
2.ข้อเท็จจริง ( Fact )หมายถึง ความรู้ที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม และจะต้องเป็นความจริงเสมอเมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้น แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้ ข้อเท็จจริงถือว่าเป็นอนุภาคที่เล็กที่สุดของความรู้เป็นอนุภาคที่สามารถสังเกตได้ ทดลองได้ เป็นอนุภาคที่สังเกตหรือทดลองได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง ข้อเท็จจริงเพียงอย่างเดียวจะไม่มีความหมายแต่อย่างใดในวิทยาศาสตร์
3.มโนทัศน์( Concept ) หมายถึง ความคิดหลัก ( Mainidia) ของคนที่มีต่อวัตถุ เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่ละบุคคลนั้นอาจไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความรู้เดิม วุฒิภาวะของบุคคลนั้น เกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความเหมือน ความแตกต่างสรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้น ๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความเข้าใจ ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุหรือ ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ ภาษาไทยอาจใช้คำศัพท์ต่างกันออกไปเช่น ความคิดรวบยอด สังกัป
4. หลักการ ( Principle )เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เกิดจากกลุ่มของมโนคติที่สังเกตและทดลองซ้ำได้ผลเหมือนเดิม ทุกคนเข้าใจตรงกัน สามารถนำไปใช้อ้างอิง พยากรณ์ และแก้ปัญหาเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ ที่เกี่ยวข้องได้ หลักการเกิดจากการนำเกิดจากการนำมโนมติที่สัมพันธ์กันหลาย ๆ ข้อเท็จจริงมาผสมผสานกัน
5. ทฤษฎี (Theory ) คือ คำอธิบาย หรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลาย ๆ ครั้ง และใช้อ้างอิง ทฤษฎีเป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นการสร้างทฤษฎี ต้องอาศัยข้อมูลที่รวบรวมได้ โดยการสังเกต การวัด การทดลอง หรือจากแหล่งข้อมูลอื่น ๆ แล้วจึงใช้วิธีอนุมานร่วมกับการสร้างจินตนาการ เพื่อกำหนดข้อความที่จะนำไปอธิบายถึงความสัมพันธ์ของเหตุและผลที่เกี่ยวข้อง บางครั้งก็ต้องอาศัยจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทฤษฎีขึ้นมา
6. กฎ ( Law )คือ หลักการที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล สามารถเขียนแทนด้วยสมการได้ กฎสามารถสังเกตหรือทดสอบได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้ง แต่ถ้าผลจากการสังเกตหรือจากการทดสอบใดขัดแย้งกับกฎ กฎนั้นจะต้องยกเลิกไป
อ้างอิงจาก
http://quality342.exteen.com/20070822/ent
วันที่ 23 พ.ย.54
บันทึก
1
1
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย