27 ส.ค. 2020 เวลา 13:53 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
นักวิทย์อธิบายว่าทำไมเราถึงดูดีกว่าความเป็นจริงเสมอเมื่อส่องกระจก…?
จากการสำรวจพบว่าผู้หญิงทั่วโลกมักจะใช้เวลากับกระจกหลายต่อหลายครั้งในแต่ละวัน
อย่างสถิติผู้หญิงในอังกฤษที่มีการส่องกระจกมากถึง 70 ครั้งต่อวัน
และไม่น่าแปลกใจที่เรามักจะชอบตัวเราในกระจก เพราะมันมักจะดูดีทุกครั้งที่เราส่องมันก่อนออกจากบ้าน
แต่ทำไมพอไปส่องกระจกที่อื่นหรือตอนถ่ายรูปออกมา บางครั้งมันทำให้แปลกใจว่าทำไมมันต่างกันขนาดนี้
วิทยาศาสตร์มีคำตอบ…
•กระจกควบคุมมุมมองได้ทันที
เพราะมนุษย์นั้นชอบให้ตัวเองดีดูเสมอ
เมื่อเรามองตัวเองจากและเกิดไม่ชอบมุมมองในกระจก เราจะปรับท่าทางให้ดูดีขึ้นอย่างไม่รู้ตัว
และเมื่อได้มุมที่เราชอบ เราก็จะส่องกระจกด้วยมุมเดิมๆที่เราจะดูดี
•เรื่องของแสงและมุม
แสงที่กระจกของเรานั้นมักจะเป็นอะไรที่เราคุ้นเคย
แต่กระจกบานอื่นนั้นแตกต่างออกไป
ซึ่งเป็นกรณีเดียวกันกับการถ่ายรูปที่ทำให้เราดูแย่ลง
•สภาพแวดล้อมที่กดดันกว่า
อันนี้คงเป็นเฉพาะบางคนที่ไม่มีความมั่นใจมากพอ เมื่อต้องถ่ายรูปในสถานที่อื่นที่ไม่ใช่หน้ากระจก
เป็นเรื่องธรรมดามากที่เราจะตึงเครียดกว่า เช่นการทำตาที่ไม่ธรรมชาติ ริมฝีปากยืด หรืออะไรต่างๆที่เราไม่ตั้งใจ
•เราเห็นรายละเอียดจากกระจกแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เมื่อตอนส่องกระจกเรามักจะเน้นการมองไปเฉพาะบางส่วนของใบหน้า
อย่าง ปาก จมูก หรือดวงตา ที่มีผลกับการแสดงออกท่าทางต่างๆ
ซึ่งนั่นทำให้สมองจะมองภาพเป็นหลายภาพ ไม่ใช่ภาพทั้งใบหน้า และตัดส่วนที่เราไม่สนใจออกไป
•สมองเรามักจะคิดว่าดูตัวเองดูน่าดึงดูดมากกว่าความเป็นจริงเสมอ
จากการวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโก
โดยให้ผู้เข้าร่วมได้ดูภาพตัวเองในหลายๆเวอร์ชั่น
ทั้งดูดีขึ้นและแย่ลง จากนั้นให้พวกเขาหาภาพที่แท้จริงของตัวเอง
ซึ่งแทบทุกคนเลือกภาพที่ตัวเองดูดีกว่าเสมอ และยืนยันว่านั่นคือตัวเอง
เป็นที่เข้าใจแล้วว่า มนุษย์นั้นมีความมั่นใจและหลงตัวเองซ่อนอยู่ในตัวทุกคน
โฆษณา