28 ส.ค. 2020 เวลา 05:03 • สุขภาพ
ทำไม แพทย์ต้องเรียนด้วยการ "bedside round"ด้วย?
การตามอาจารย์ เยี่ยมคนไข้ข้างเตียง มันยังจำเป็นอยู่ไหมใน ยุคนี้?
cr. wikipedia
ปรมาจารย์ ผู้ก่อตั้งสำนัก โรงเรียนแพทย์เลื่องชื่อระดับโลก ผู้เป็นต้นคิดให้นักเรียนแพทย์ ต้องเรียนจากเคสที่ข้างเตียงไม่ใช่ฟังบรรยายอย่างเดียว กล่าวเอาไว้ว่า
การตรวจรักษาคนไข้โดยไม่อ่านตำรา เปรียบได้กับการ เอาเรือออกทะเลที่ไม่มีแผนที่กำกับ ส่วนการอ่านตำราแต่อย่างเดียวก็เหมือนกับ กะลาสีที่ไม่เคยออกเรือจริงเลย
สรุปว่า วิชาสายหมอต้องเรียนจากคนไข้จริง พร้อมกับ มี ครูอาจารย์ คอยดูแลชี้แนะ แบบ real-time บ่อยๆๆๆๆ จึงจะ เก่งจริงได้
แล้วทีนี้ การศึกษา นี้มันคืออะไรกัน
การศึกษา คือ กระบวนการหนึ่งที่ทำให้คนเราเปลี่ยนไป
จากไม่รู้ ก็ให้ รู้..รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร มาอย่างไร ไปอย่างไร เกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆอย่างไร
จากเฉยๆไม่ยินดียินร้าย ก็ให้ มีค่านิยมว่า อะไรดี อะไรไม่ดี
จากที่ทำไม่เป็น ก็ให้ ทำได้ทำเป็น เรียกว่ามีทักษะ
ถ้าเกิดผลสามอย่างนึ้ จึงเรียกว่า การศึกษา สัมฤทธิผล
ถ้ามีแต่ใบประกาศคุณวุฒิ แต่ ไม่มีสามสิ่งนี้ ก็ไม่เรียกว่า ได้รับการศึกษามาจริง
แล้วการเรียนรู้มันเกิดขึ้นที่ไหน เกิดขึ้นได้อย่างไรจากประสพการณ์การเรียน?
การเรียนรู้เกิดในสมอง หากจะพูดจริงๆ แล้ว การเรียนรู้ เกิดที่การเชื่อมต่อระหว่างเซลประสาทในสมองของเรา
ในสมองมีเซลล์ประสาทจำนวนมากมาย ที่ส่งสัญญาณกันไปมา เหมือนกับ ที่ทรานซีสเตอร์ และ ไอซี ส่งสัญญาณข้อมูลไปมาระหว่างกันใน เครื่องคอมพิวเตอร์
เพราะสมองคือเครื่องประมวลผลข้อมูลที่สุดจะซับซ้อนอันหนึ่ง
ตรงจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ทีเรียกกันว่า synaps นี้เอง เป็นจุดที่เปลี่ยนแปลง ในเวลาที่เราเกิดการเรียนรู้สิ่งใดใหม่ๆ
อาจารย์ โดนัลด์ เฮบบ์ กล่าวเอาไว้ว่า เซลล์ประสาทใดที่ทำงาน ร่วมกัน (บ่อยๆ) ก็จะเกิดการเชื่อมโยงกัน(มากและง่าย)ขึ้น
ยกตัวอย่าง เซลล์ประสาทที่เห็นเป็นรูปดาวในภาพ ได้รับสัญญาณประสาทขาเข้ามาทางซ้ายมือ แต่ตัวเองมีการตอบสนอง แค่นิดเดียวไม่พอที่จะ เกิดการ ยิงสัญญาณนี้ ต่อไปได้
ต่อมาเมื่อได้รับการกระตุ้นเข้ามาอย่างถี่ๆ ก็เกิดความตื่นตัว จนสามารถ ถ่ายทอดสัญญาณขาออกไปทางขวามือได้
ในภายหลัง เมื่อได้รับสัญญาณ ประสาทขาเข้ามา เพียงเล็กน้อย ก็สามารถ ให้การตอบสนองได้ ต่างกับ สภาพ ก่อนที่จะได้รับการฝึก
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝน เพื่อให้ทำอะไรเป็นจริงๆ นั้น ต้องอาศัย การฝึกที่มีลัษณะสี่อย่าง
หนึ่ง ผู้ฝึกต้องได้ลงมือทำเอง แก้ปัญหาเอง จริงๆ
สอง งานที่เอามาฝึกทำ ต้องตรงกันกับ ระดับความเก่งหรือไม่เก่งของผู้รับการฝึก และต้อง ตรงกันกับ เป้าหมายการเรียนด้วย
สาม ต้องมีการป้อนกลับ ให้รู้ตัวว่า ทำถูกหรือผิดอย่างไร ตลอดเวลาที่ฝึก
สี่ ต้องได้ ทำการฝึกบ่อยมากๆ
คนอยากซ่อมจักรยานเป็น อ่านแต่ตำรา คงทำไม่เป็นจริง
ต้องได้ ลงมือจริงๆ กับจักรยานของจริง
ต้องให้ฝึกให้ตรงกับ ชนิดของจักรยานที่อยากจะไปซ่อมเองต่อไป
ต้องเห็นผลการทำงานของตัวเองว่า ทำแล้วดีหรือเลว
ต้องได้ซ่อม หลายคัน ไม่ใช่แค่คันเดียว
ดังนั้นการเรียนแพทย์ และการเรียนทางสายสุขภาพทั้งหลายจึงต้องอาศัยการปฏิบัติการกับคนไข้จริง ภายใต้การสอน ของครูอาจารย์
และ ต้องการประสพการณ์อย่างนี้ให้มากๆเสียด้วย
แต่เป็นที่น่าเสียใจว่า ในปัจจุบัน อัตราการใช้เวลาในการศึกษาของหลักสูตรแพทย์ มีการเรียนด้วย bedside teaching ลดลง จาก 75% ในปี 60 ลงมาเหลือเพียง 16%ในปี 2000
ชักยาวไปแล้วขอแบ่งไปเล่าต่อในตอนหน้าแล้วกันนะครับผม
สวัสดีครับ ถ้ากด follow นายแพทย์ ภาริส วงศ์แพทย์ ด้วยจะดีงามมาก เพราะหากมี follower เกิน 100 ผมจะสามารถ post video clip ให้ชมกันได้ด้วยนะรับ
โฆษณา