29 ส.ค. 2020 เวลา 00:49 • สุขภาพ
#bedside_with_ajahn_parit
ว่าด้วย การฟื้นฟูภาวะ dizziness เวียนหัวโคลงเคลงต่างๆ (ซึ่งทางเทคนิค เรียกว่า การทำ vestibular rehabilitation)
credit :https://www.physiofit.co.uk/vestibular-rehab
ความรู้ แบบกำมือเดียว
เลือกมาเล่า ตอนนี้ เฉพาะวิธีฝึกที่ไม่ยาก แต่ใช้ช่วยคนไข้ได้สารพัดกลุ่มโรค ทั้ง peripheral central vertigo
แน่นอนว่า การทำ vestibular rehabilitation ยังมีวิธีการอื่นๆอีกมาก แต่ ท่าฝึกเดียวนี้ พอเพียงสำหรับการฟื้นฟูได้ 80 %
****ยกเว้น กลุ่มบ้านหมุนรุนแรง (vertigo) ที่เกิดจากหินปูน otolith หลุดลอยเคว้งคว้าง เกะกะระรานอยู่ใน ท่อรับความรู้สึกของหูชั้นใน พวกนั้นต้อง "เขย่า" ให้หินปูนกลับเข้าที่ เรียกว่า ต้องทำ otolith re positioning จะแยกมาเล่าให้ฟังครั้งอื่นนะครับ
ต้องเริ่มที่ความเข้าใจว่า
อาการ เวียนหัว เกิดจาก signal ที่สมองได้รับ จาก sensor ที่เรียกว่า vestibular organ ตรงหูชั้นใน กับ signal จากลูกตา และ สัญญาณต่างๆจากแหล่งอื่นเช่น กล้ามเนื้อและข้อต่อที่คอ มันขัดแย้งไม่ตรงกัน สรุปไม่ได้ ว่า ตกลง ศรีษะอยู่ในตำแหน่งไหนกันแน่
โรคอะไรๆหลายโรคก็เกิดปัญหาทำนองนี้ได้ เช่นโรคของ หู ตา ก้านคอ รบกวนตัวอวัยวะรับความรู้สึก โดยตรง การ"ปั่นจิ้งหรีด"ให้น้ำในหูมันหมุนอยู่ใน semicircular canal ก็ทำให้เวียนหัวได้ ด้วยกลไกง่ายๆอย่างนี้เอง
หรือโรคจากระบบประสาทส่วนกลางที่เป็นตัวเปรียบเทียบ สัญญาณประสาทเหล่านี้มันไม่ตรงกัน ก็เวียนแล้ว
****ข่าวดี มีอยู่ว่า ระบบเหล่านี้ มีการ auto calibration ที่สามารถปรับ จูนให้สัญญาณจากตาและหูรับกันได้
มีงานวิจัยแสดงเอาไว้มากมายว่า แม้แต่ Vestibulo Occular Reflex ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มลดความไวหรือแม้แต่ทิศทางของการตอบสนองได้ หากมีการ "แกล้ง" ให้ภาพที่เข้าตาผิดไปจากปรกติเพียงไม่นาน
และยังมีการค้นพบอีกว่า เวลาที่ vestibular organ เสียหายข้างเดียว ซึ่งจะทำให้เกิด อาการ nystagmus แต่เพียงไม่กี่สัปดาห์ ระบบประสาทส่วนกลางโดยเฉพาะ cerebellar สามารถอาศัย สัญญาณภาพจากตา (ที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการกลอกตา- opto-kinetic information) เป็นตัวอ้างอิงเพื่อเปลี่ยนแปลงความไวต่อการกระตุ้นที่ผิดปรกติจาก vestibular organ ข้างที่ยังเหลือดีอยู่ข้างเดียว จนnystagmus นั้นหายไปได้
(อ้างอิง หนังสือ neurophysiology A conceptual approach โดย RHS Carpenter )
ดังนั้นแล้วการ เปิดโอกาสให้ สมอง ได้"สอบเทียบ" และ "ปรับตั้ง" ค่าการทำงานของระบบ vestibular จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด อันหนึ่ง ใช้ได้กับปัญหาการเวียนหัวบ้านหมุน หลากหลายชนิด ทั้ง peripheral และ central causes
แน่นอนว่า ในกรณีเช่น BPPV ระยะเฉียบพลันนั้น การฝึก recalibration exercise ไม่มีประโยชน์ มีแต่จะทำให้เวียนหัวมากขึ้น ต้องไปทำการรักษาโดยตรงอย่างเช่นการทำ maneuver เขย่าหินปูนกลับเข้าที่ อย่างที่เรียกกันว่า Epley Maneuver เป็นต้นนั้นเสียก่อนแน่นอน
วิธีการดังกล่าวมาแล้วนี้ เรียกว่า Cawthorn Cooksey Exercise ที่ออกสอบทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูกันอยู่เป็นประจำนั่นเอง
เมื่อเข้าใจตามนี้ก็ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามใช้วิธีนี้ให้บ่อยๆกันเถิดจะเกิดผล สาธุและ ราตรีสวัสิด์ครับผม
*** video clip สาธิตการฝึก เชิญชมในโพส อื่นของเพจ #bedside_with_ajahn_parit ได้เร็วๆนี้ครับครับ
โฆษณา