Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Amy Pantipa
•
ติดตาม
30 ส.ค. 2020 เวลา 01:18 • สุขภาพ
ทบทวนความเป็นมา..จากกระดูก 300 ชิ้น ทำไมเหลือ 206 ชิ้น คือเมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ จริงๆ แล้วกระดูก 94 ชิ้นที่เราคิดว่าหายไป มันไม่ได้หายไปไหนหรอกเพียงแต่มันรวมตัวกันกับกระดูกชิ้นที่อยู่ใกล้กัน เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงในแต่ละส่วนเพื่อรองรับร่างกายและน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น..ซึ่งได้ถูกกำหนดมาด้วยความชาญฉลาดจากธรรมชาติและวิวัฒนาการที่ยาวนาน...
** ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดจากการรวมตัวกันของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต เช่น ส่วนกระเบนเหน็บ ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (ซึ่งได้ชื่อนี้เนื่องจากอยู่ตรงบริเวณที่เหน็บชายกระเบนเวลานุ่งโจงกระเบนของคนในโบราณ) และส่วนก้นกบของกระดูกสันหลัง นอกจากนี้ในทารกแรกเกิดยังมีโครงสร้างของกระดูกอ่อนอยู่มาก เพื่อให้มีการสร้างโครงสร้างของกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต และจะมีการพัฒนาไปเป็นกระดูกทั้งหมดโดยสมบูรณ์เมื่อคนเราอายุประมาณ 20-25 ปี คือสิ้นสุดช่วงของวัยรุ่นนั่นเอง ทำให้มีกระดูกเหลืออยู่ทั้งหมด 206 ชิ้น เป็นกระดูกที่แข็งและอยู่อย่างถาวร แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะผู้ใหญ่บางคนอาจมีกระดูกสันหลังเกินมาหนึ่งชิ้น หรือกระดูกซี่โครงเกินมาหนึ่งคู่ก็เป็นได้ครับ
** การรวมตัวกันของกระดูก คือ การประกอบเข้าด้วยกันเป็นโครงกระดูกด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในกระดูกโคนลิ้น (Hyoid bone) ซึ่งเป็นกระดูกที่ไม่ติดต่อกับกระดูกชิ้นอื่นๆโดยตรง แต่จะยึดไว้ในบริเวณส่วนบนของคอหอยด้วยเอ็นและกล้ามเนื้อ
** กระดูกคนมี 206 ชิ้น ทำหน้าที่เป็นแกนค้ำจุนให้ร่างกายอยู่ในตำแหน่งและลักษณะที่เหมาะสม ช่วยในการเคลื่อนที่โดยเป็นที่ยึดของกล้ามเนื้อลาย ช่วยป้องกันอวัยวะภายในที่สำคัญ เพื่อไม่ให้ได้รับอันตราย ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงและเป็นแหล่งสะสมแคลเซียมของร่างกาย กระดูกสันหลังเป็นกระดูกที่มีรูปร่างไม่เหมือนกับกระดูกอื่นๆ ประกอบด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ เชื่อมต่อกัน กระดูกแต่ละข้อเชื่อมต่อกันด้วยกล้ามเนื้อและเอ็น ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อที่เชื่อมต่อกัน จะมีแผ่นกระดูกอ่อนซึ่งเรียกว่าหมอนรองกระดูกรองรับอยู่ ช่วยเชื่อมให้กระดูกสันหลังแต่ละข้อติดกันและช่วยป้องกันการเสียดสีขณะกระดูกสันหลังเคลื่อนไหว กระดูกซี่โครงทั้ง12 คู่จะเชื่อม อยู่กระดูกสันหลังตอนอกและกระดูกหน้าอกโดยมีกระดูกอ่อนเป็นตัวเชื่อม กระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 เป็นกระดูกซี่โครงซี่สั้นๆ ไม่เชื่อมอยู่กับกระดูกอกและไม่มีกระดูกอ่อนเรียกว่า กระดูกซี่โครงลอย ที่กระดูกซี่โครงมีกล้ามเนื้อ 2 ชุด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอก และกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านใน เมื่อกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอกหดตัวจะยกกระดูกซี่โครงขึ้นทำให้ช่องอกกว้างขึ้นเกิดการหายใจเข้าและเมื่อกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านนอกคลายตัวและกล้ามเนื้อยึดกระดูกซี่โครงด้านในหดตัวก็ทำให้ช่องอกแคบเข้าเกิดการหายใจออก
จำนวนของกระดูกทั้งหมดในร่างกาย หมายถึง กระดูกในผู้ใหญ่ที่เจริญเต็มที่แล้ว มีทั้งสิ้น 206 ชิ้น โดยแบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
1. กระดูกแกนกลาง มีทั้งหมด 80 ชิ้น ประกอบด้วย
คือ
1.1 กระดูกกะโหลกศีรษะ มี 29 ชิ้น
(1) กระดูกท้ายทอย 1 ชิ้น
(2) กระดูกข้างศีรษะ 2 ชิ้น
(3) กระดูกหน้าผาก 1 ชิ้น
(4) กระดูกขมับ 2 ชิ้น
(5) กระดูกรูปผีเสื้อ 1 ชิ้น
(6) กระดูกใต้สันจมูก 1 ชิ้น
(7) กระดูกหน้า 14 ชิ้น
(8) กระดูกหู 6 ชิ้น
(9) กระดูกโคนลิ้น 1 ชิ้น
1.2 กระดูกท่อนสันหลัง มี 51 ชิ้น
(1) กระดูกคอ 7 ชิ้น
(2) กระดูกสันหลังตอนอก 12 ชิ้น
(3) กระดูกสันหลังตอนเอว 5 ชิ้น
(4) กระดูกก้นกบ 1 ชิ้น
(5) กระดูกปลายก้นกบ 1 ชิ้น
กระดูกสันหลัง 26 ชิ้นคือกระดูกคอ C1-C7 กระดูกหลัง T1-T12 กระดูกเอวL1-L5กระดูกสะโพก 1 และกระดูกก้นกบอีก 1
กระดูกสันหลังทำหน้าที่ ช่วยค้ำจุน และรองรับน้ำหนักของร่างกาย ประกอบด้วย กระดูกที่มีลักษณะเป็นข้อ ๆ ต่อกัน ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีแผ่นกระดูกอ่อน (cartiage) หรือที่เรียกกันว่า หมอนรองกระดูก ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกนี้เสื่อมจะไม่สามารถเอี้ยว หรือบิดตัวได้ กระดูกสันหลังแต่ละข้อจะมีช่องให้ไขสันหลังสอดผ่าน และมีส่วนของจงอยยื่นออกมาเป็นที่เกาะของกล้ามเนื้อและเอ็น กระดูกสันหลังช่วงงอกจะมีกระดูกซี่โครงมาเชื่อมต่อ
(6) กระดูกซี่โครง 2 ข้าง 24 ชิ้น
(7) กระดูกอก 1 ชิ้น
กระดูกซี่โครงมีทั้งหมด 12 คู่ กระดูกซี่โครงทุก ๆ ซี่จะไปต่อกับด้านข้างของกระดูกสันหลังบริเวณทรวงอก โดยปลายอีกด้านหนึ่งเชื่อมกับกระดูกหน้าอก ยกเว้นกระดูกซี่โครงคู่ที่ 11 และ 12 จะเป็นซี่สั้น ๆ ไม่เชื่อมต่อกับกระดูกหน้าอก เรียกว่า “ซี่โครงลอย”
2. กระดูกรยางค์ มีทั้งหมด 126 ชิ้น ประกอบด้วย
2.1 กระดูกสะบัก ข้างละ 2 ชิ้น รวม 4 ชิ้น
2.2 กระดูกเชิงกราน ข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
2.3 กระดูกแขน ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น (1) กระดูกต้นแขน 2 ชิ้น(2) กระดูกปลายแขนอันใน 2 ชิ้น
(3) กระดูกปลายแขนอันนอก 2 ชิ้น
(4) กระดูกข้อมือ 16 ชิ้น
(5) กระดูกฝ่ามือ 17 ชิ้น
(6) กระดูกนิ้วมือ 18 ชิ้น
2.4 กระดูกขา มีข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
(1) กระดูกต้นขา 2 ชิ้น
(2) กระดูกสะบ้า 2 ชิ้น (3) กระดูกหน้าแข้ง 2 ชิ้น
(4) กระดูกน่อง 2 ชิ้น
(5) กระดูกข้อเท้า 14 ชิ้น
(6) กระดูกนิ้วเท้า 28 ชิ้น
** หน้าที่ของกระดูก
1. ช่วยรองรับอวัยวะต่างๆ ให้ทรงและตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ควรอยู่ (Organ of support)
2. เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนไหว เช่น พาร่างกายย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง (Instrument of locomotion)
3. เป็นโครงของส่วนแข็ง (Framework of hard material)
4. เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆ และ Ligament เพื่อทำหน้าที่เป็นคานให้กล้ามเนื้อทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
5. ช่วยป้องกันอวัยวะสำคัญไม่ให้ได้รับอันตราย เช่น สมอง ปอด และหัวใจ เป็นต้น
6. ทำให้ร่างกายคงรูปได้ (Shape to whole body)
7. ภายในกระดูกมีไขกระดูก (Bone marrow) ที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell)
8. เป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย
9. ป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูกนั้น
** ข้อต่อและกระดูก
กระดูกแต่ละท่อนต่อเชื่อมกันด้วยเอ็นซึ่งต่อกันได้หลายแบบแล้วแต่การเคลื่อนที่ การที่กระดูกประกอบด้วยชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาต่อ ๆ กัน ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวลราบรื่นมากขึ้น
กระดูกที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เช่น กะโหลกศีรษะ
กระดูกเคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เช่น กระดูกบริเวณก้นกบ
กระดูกแบบบานพับ เช่น กระดูกต้นแขน ข้อต่อบริเวณหัวเข่า
กระดูกแบบหัวกลม เช่น กระดูกกะโหลกศีรษะ กระดูกต้นคอ กระดูกต้นขา กระดูกสะบัก เป็นต้น
** การเคลื่อนไหวของข้อต่อ
เคลื่อน ได้ระนาบเดียวกัน (แบบบานพับ) เช่น ข้อศอก ข้อเข่า
เคลื่อนได้ 2 ระนาบ เช่น ข้อมือ กระดกขึ้น-ลง
เคลื่อนได้ 3 ระนาบ เช่น ข้อไหล่ ข้อสะโพก
อาหารและยาที่เรากิน หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ จะซึมผ่านกล้ามเนื้อไป การฉีดเข้าข้อต่อโดยตรงอาจเกิดอันตรายได้ เพราะยาบางชนิดสามารถทำลายกระดูกอ่อนได้ การนวดมีส่วนทำให้อาการและยาซึมผ่านข้อต่อได้เร็วขึ้นและมักไม่มีผลเสียใดๆ
** อาหารบำรุงกระดูก
อาหารช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กระดูก เช่นอาหารพวกที่มี แคลเซียมสูง ได้แก่ นมสด ไข่แดง ผักใบเขียว ผลไม้ และอาหารที่มีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับปลา ผักสด การออกกำลังกายเป็นประจำเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพัฒนากระดูกให้เจริญอย่างเต็มที่และแข็งแรง ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไปเพราะอาจทำให้ข้อต่อชำรุดเสื่อมสภาพเร็ว...
#ThaiWarriorMassage
#หมอนวดนักรบ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย