2 ก.ย. 2020 เวลา 11:13 • การศึกษา
Ice-breaking game บน Zoom: เมื่อเหล่านักศึกษาหน้าใหม่ต้องมาทำความรู้จักกันบนออนไลน์แพลตฟอร์มแทน
แน่นอนว่าหลายคนที่กำลังเตรียมตัวเรียนต่อต่างประเทศจะรู้สึกผิดหวังที่ต้องเรียนออนไลน์แทนที่จะได้ไปสัมผัสชีวิตจริงเมืองนอก นอกจากจะไม่ได้เจอเพื่อนแล้ว ยังรู้สึกง่วงนอนกว่าตอนเรียนในคลาสด้วย
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วเด็กใหม่ที่กำลังจะเข้ามหาวิทยาลัยปีแรกล่ะ? จะหาเพื่อนยังไง? เรียนหนังสือด้วยตัวเองในบ้านแค่นั้นเหรอ?
วันนี้แอดมินจะมาแชร์ประสบการณ์ Introduction week on Zoom สำหรับนักเรียนต่างชาติ ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศจีน!
1. การเรียนในประเทศจีน ต้องใช้แอพพลิเคชั่นวีแชท (WeChat) ควบคู่กับ Zoom
Zoom เป็นที่รู้จักสำหรับนักเรียนต่างชาติก็จริง แต่อาจไม่ใช่กับนักเรียนจีน กระนั้นในเมื่อพวกเขาจะต้องมาเรียนกับเด็กต่างชาติแล้ว ก็คงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งปรับตัวอยู่ข้างเดียว จริงไหมคะ?
.
2. พิธีปฐมนิเทศด้วยการเชิญกิตติมศักดิ์มาร่วมงานเปิดพิธี
แน่นอนว่าพิธีจะศักดิ์สิทธิ์ก็ต่อเมื่อมีบุคคลสำคัญอย่างผู้อำนวยการโรงเรียนมาเข้าประชุม การใช้ Zoom ทำให้ผู้พูดคุมเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะเราต้องเริ่มงานตามเวลาที่กำหนด และปิดพิธีตามเวลาที่กำหนดเช่นกัน ไม่มีเลทเกิน 15 นาที
.
3. ทำความรู้จักกับคนอื่นด้วยวิธีสุ่มจับคู่โดยให้เวลาแค่ไม่กี่นาที
Zoom มีฟังก์ชั่นให้สุ่มแยกนักเรียนออกเป็นกลุ่ม อาจารย์ให้ตัวอย่างคำถามสำหรับนักเรียน หรือเราจะคุยอย่างอื่นสัพเพเหระก็ได้ ก่อนที่จะถูกดึงเข้าที่ประชุมอีกครั้งหลัง count down หมดเวลา
.
4. Bingo!
บิงโกคือการกากบาทในช่องบนตารางที่เราตอบถูก เกมส์นี้นักเรียนถูกสุ่มจับคู่ให้ถาม partner ในเวลาสั้นๆ เพื่อกากบาทฆ่าข้อที่ partner ตอบว่า Yes ก่อนที่จะถูกลากให้ไปจับคู่กับอีกคนแล้วถามคำถามต่อไป วนเรื่อยๆ จนกว่าจะมีผู้ชนะ
.
5. Case study-based group assignment
พาร์ทสำคัญคือการทดสอบความเป็นทีมเวิร์ค ความคิดสร้างสรรค์และความเป็นผู้นำ อาจารย์จะให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มร่วมกันเสนอความคิดที่สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จำลองหรือ Case study โดยการสมมุติสถานการณ์ว่า หากประเทศเอ มีภูมิศาสตร์อย่างนี้ มีเงื่อนไขอย่างนั้น ต้องการแก้ปัญหา 1 2 3 4 ซึ่งมีผู้มีส่วนได้เสีย 5 6 7 8 คุณเป็น consultant ในบริษัทแห่งหนึ่ง จะจัดการกับปัญหาและความขัดแย้งอย่างไร ซึ่งคำตอบจะเป็นแบบปลายเปิด และนักเรียนต้องใช้เวลาแก้โจทย์ เตรียมพรีเซ้นท์ภายใน 2-3 วัน
.
6. E-meal
อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานกลุ่มคือการให้นักเรียนถ่ายทำคลิประหว่างการทำกับข้าวแล้วนำมาตัดต่อเข้าด้วยกัน ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัวด้วย
.
7. หลังกิจกรรมก็มีการเปิดใจพูดคุย แสดงความเห็นกันในกลุ่ม หรือที่เรียกว่า Reflection
อาจารย์ให้นักเรียนจับกลุ่มเดียวกับที่เคยทำ Case Study ร่วมกันแล้วรวบรวมความคิดว่าอะไรคือสิ่งที่เราได้เรียนรู้จากกิจกรรมนี้ และเราควรจะนำไปใช้หรือปรับปรุงอย่างไร ซึ่งก็เป็นการพูดคุย เปิดใจกับคนที่เราทำงานร่วมกันว่าระหว่างการทำงาน เรารู้สึกอย่างไรบ้าง อยากให้พัฒนาในส่วนไหน ในระหว่างการสนทนาแม้จะเราจะพูดตรงๆ แต่เราก็ต้อง respect each other และน้อมรับความเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงตัวเองน๊ะจ๊ะ
ทั้งนี้ทุกอย่างจะสนุกได้ก็ต่อเมื่อทุกคนมีส่วนร่วมด้วยกันนะคะ :-)
โฆษณา