EF ตอนที่ 4/7
ความจำใช้งานคืออะไร?
ความจำใช้งาน - working memory คือความจำพร้อมใช้ เกิดขึ้นขณะใช้งานแล้วดับไปเมื่อใช้งานเสร็จ ความจำใช้งานมิใช่ความจำระยะสั้น มิใช่การท่องจำบทเรียนเพื่อการสอบหรือการทำงาน
ความจำใช้งานประกอบด้วย 2 ส่วน คือส่วนวงจรเสียง - phonological loop และส่วนกระดานภาพ - visuospatial sketchpad ทั้งสองส่วนประสานกันด้วยส่วนที่สามคือส่วนบริหารกลาง - central executive เพื่อลำเลียงและถือครองความจำใช้งานได้นานจนกว่างานจะเสร็จ
โครงสร้างสำคัญของความจำใช้งานคือระยะห่างระหว่างเสียง - span และระยะห่างระหว่างภาพที่เห็น - space ระยะห่างที่มากกว่าช่วยให้มีความจุ - capacity มากกว่า และมีความกว้างของคอขวดของความจำใช้งาน - bandwidth มากกว่า เด็กๆจึงสามารถประมวลข้อมูลนำเข้าได้พร้อมๆกันหลายข้อมูล ทำให้สามารถทำงานชิ้นหนึ่งซึ่งประกอบด้วยหลายกระบวนการจนเสร็จ
เช่น “ไปล้างจาน” เด็กๆทำได้ตั้งแต่เทเศษอาหาร แยกจาน ผ่านน้ำ หยิบฟองน้ำ บีบน้ำยาล้างจาน ล้างจาน หน้าหลัง ล้างน้ำ ตากแห้ง เป็นต้น ในขณะที่เด็กที่มีความจุของความจำใช้งานน้อยกว่าอาจจะเอาแต่เล่นน้ำอยู่ เพราะความจำใช้งานเรื่องกระบวนการล้างจานไม่ยอมไหลมาเสียที
ความจำใช้งานพัฒนาได้ตั้งแต่แรกเกิดด้วยการอ่านนิทานก่อนนอนทุกคืน เสียงแม่ที่เด็กได้ยินจะไปพัฒนา span รูปภาพที่เด็กมองเห็นในลานสายตาจะไปพัฒนา space เด็กๆจะพัฒนาตนเองด้วยการพูดกับตนเอง - private speech จากนั้นจึงนำเข้าเสียงและภาพ - internalize กลายเป็นโครงสร้างของความจำใช้งาน
ความจำใช้งานต้องการความเร็วที่ดี และทันใช้งาน ความจำใช้งานที่ดีจึงขึ้นกับความเร็วที่ผุดขึ้น
#EF7
เพจ : นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์