1 ก.ย. 2020 เวลา 08:04 • สิ่งแวดล้อม
--สืบ นาคะเสถียร--
สืบนาคะเสถียรเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ.2533
ผ่านมา 30 ปีถึงวันนี้ (พ.ศ.2563)
ระลึกย้อนไปกว่า 30 ปี ผู้เขียนยังอยู่ชั้นประถมศึกษา
ข่าวที่ทราบคือมีผู้ดูแลป่ายิงตัวเองตาย ด้วยเหตุผล
อยากอนุรักษ์ผืนป่าสงวนฯ
เสียงปืนคงทำให้สังคมหันมองใช่ไหม?
เด็กคนหนึ่งสงสัย
การเรียกร้องให้คนฟัง
ต้องแลกด้วยเสียงปืน
ด้วยชีวิตตนเองเลยหรือ
ตอนนั้นคิดนะ
ท่านคงรักป่ามาก ๆ ไม่อยากให้ใครทำลาย
ย้อนคิดทีไรก็เจ็บหัวใจนะ ถ้าการถูกปกป้องในวันนั้น
ยังมีการตระหนักถึงการดูแลรักษาไม่มากในวันนี้
เลือดกับน้ำตาที่ไหล กระตุ้นอะไรเราได้บ้าง
บางทีกับองค์กรใหญ่ ๆ คงยาก
เราควรตั้งคำถามที่ตัวเราเองก่อนเลย
เราทำอะไรได้บ้าง
เราปกป้อง เรารักเขาได้แค่ไหน
หากบอกว่ารักแล้วก็ต้องดูแลซิ...
1 กันยายน พ.ศ.2563
ประวัติท่าน
สืบ นาคะเสถียร เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 31 ธันวาคม 2492
ที่ตำบลท่างา อำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรี
เป็นลูกของนายสลับ นาคะเสถียร
อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีน และนางบุญเยี่ยม นาคะเสถียร
มีพี่น้องทั้งหมดสามคน การศึกษา
สืบมีนิสัยทำอะไรมักจะทำให้ได้ดีตั้งแต่เด็ก
และเมื่อจบประถม 4 (2502) สืบได้ย้ายไปเรียนโรงเรียนเซ็นต์หลุยส์
จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นนักเป่าทรัมเป็ตมือหนึ่ง
และนักวาดภาพฝีมือดีของโรงเรียน
ต่อมาสอบติดคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์รุ่นที่ 35 (2510)
เมื่อสำเร็จการศึกษาได้เข้าทำงานที่ส่วนสาธารณะการเคหะแห่งชาติ
และไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวนวัฒน์วิทยา คณะวนศาสตร์
สอบเข้ากรมป่าไม้ได้ (2518)
ทำงานที่กองอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยไปประจำที่เขตรักษาพันธุ์ สัตว์ป่า
เขาเขียว–เขาชมพู่จังหวัดชลบุรี ได้รับทุนจาก British Council
ไปเรียนปริญญาโททีมหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในสาขาอนุรักษ์วิทยา(2522)
ต่อมาสืบดำรงตำแหน่งหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ ระหว่างที่ดำรงตำแหน่งสืบเริ่มงานวิจัยหลายชิ้น
เช่น ศึกษาการวางไข่ของนกในอ่างเก็บน้ำชลบุรี
วิจัยกวางผาที่ดอยม่อนจอง เชียงใหม่
โครงการอพยพสัตว์ป่าในเขื่อนเชี่ยวหลาน
สืบได้เปลี่ยนบทบาทจากนักวิชาการไปสู่นักอนุรักษ์
โดยเข้าร่วมต่อสู้คัดค้านการสร้างเขื่อนน้ำโจน
จังหวัดกาญจนบุรี สืบชี้ให้เห็นถึงบทเรียนจากการที่มีสัตว์จำนวนมาก
ล้มตายหลังจากการสร้างเขื่อนเชี่ยวหลาน สืบเริ่มต้นอภิปรายทุกครั้งว่า
“ผมขอพูดในนามของสัตว์ป่า” (2530)
สืบและเพื่อนอนุรักษ์ออกโรงคัดค้านการที่บริษัทไม้อัดไทยจะขอสัมปทานทำไม้ ที่ป่าห้วยขาแข้ง สืบได้อภิปรายว่า
“คนที่อยากอนุญาตให้ทำไม้ก็เป็นกรมป่าไม้
คนที่จะรักษาก็เป็นกรมป่าไม้เหมือนกัน”
(2531) สืบได้รับทุน เรียนต่อปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษ
แต่ตัดสินใจเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
สืบพบปัญหาต่างๆมากมายในห้วยขาแข้ง
อาทิ ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ของบุคคลที่มีอิทธิพล
เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าถูกยิงเสียชีวิต ปัญหาความยากจนของชาวบ้านรอบป่า
และที่สำคัญคือปัญหาเหล่านี้ไม่เคยได้รับความสนใจจากผู้ใหญ่เลย
สืบจึงทุ่มเทเขียนรายงานนำเสนอยูเนสโก
เพื่อพิจารณาให้ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้งเป็นมรดกโลก
อันเป็นสิ่งค้ำประกันให้พื้นที่แห่งนี้ได้รับการคุ้มครองเต็มที่
1 กันยายน 2533 สืบสะสางงาน และเขียนพินัยกรรมไว้เรียบร้อย
ก่อนกระทำอัตวิบาตรกรรม
เพื่อเรียกร้องให้สังคมและราชการหันมาสนใจปัญหา
การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ อย่างจริงจัง
ต่อมาวันที่ 18 กันยายน ผู้ใหญ่และพ้องเพื่อนนักอนุรักษ์
ได้ร่วมกันก่อตั้งมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของสืบ
วันที่ 26 เมษายน ปี 2536 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
เสด็จพระราชดำเนินมาที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
เพื่อทรงเปิดอนุสรณ์สถนสืบนาคะเสถียร
ในปี2542 มี การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศว่า
ในรอบ 50 ปี ท่านเสียดายการจากไปของสามัญชนผู้ใดมากที่สุด
ปรากฏว่าสืบ นาคะเสถียร ติดอับดับที่ 2
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/792985/
โฆษณา