2 ก.ย. 2020 เวลา 12:08 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ขอเล่าบทความยาวๆ
เนื่องในโอกาสต้นเดือนวนเวียนมาอีกครั้ง
เป็นประสบการณ์ของผมในสนามแห่งราคา
เป็นกิจกรรมอย่างนึงที่ผมชอบและในบางเวลาก็เกลียดมันเข้าไส้
เป็นกิจกรรมที่คนทั่วไปอาจจะเรียกมันว่าเล่นหุ้น
แต่ส่วนตัวอยากใช้คำว่าเก็งกำไรหรือเทรดซะมากกว่า
ทำไมจึงเป็นกิจกรรมที่ชอบ?
ตอบสั้นๆด้วยความสัตย์จริง : อยากได้เงิน
อย่างที่เคยเขียนไว้ในบทความที่แล้วว่าช่วงแรกที่หันมาเก็งกำไรในหุ้นด้วยการเทรดในอนุพันธ์ DW ล้วนๆ
ช่วงแรกไม่ว่าจะเทรดยังไงก็มีแต่ได้กำไร
จะซื้อ Call หรือ Put ก็ได้กำไร
พอมั่นใจว่า "ดวงดี" แล้ว
ก็ทำการเข้าซื้อด้วยไม้ที่หนักขึ้น
แต่ โอ้ เจ้ากรรม มันผิดทาง ผลคือขาดทุนหนัก
แต่ด้วยความเชื่อว่าช่วงเวลานี้มันต้องเป็นตามที่เราคิดสิ เลยตัดสินใจทำการเข้าซื้อตัวเดิมที่ออปชั่นเดิม
โชคชั้นที่สอง มันรูดลงหนักกว่าเดิม
จากที่ขาดทุนเพียงไม้แรกที่ซื้อ ตอนนี้ขาดทันทั้งไม้แรกและไม้สอง ทำให้ต้องตัดสินใจทำการหยุดความเสียหายภายในพอร์ต
บทเรียนนึงที่ได้คือ Cut loss หรือตัดขาดทุน
จากนั้นจึงมานั่งพิจารณาว่ามันต้องมีวิธีสิที่ทำให้การเทรดนั้นถูกทาง มันต้องมีหลักการการตัดสินใจอยู่บ้าง จึงเริ่มศึกษาการวิเคราะห์เชิงเทคนิคคอล (Technical analysis)
มันเป็นไปด้วยความสนุกเมื่อเรารู้ว่ามันจะขึ้นไปถึงจุดไหนและลงไปถึงจุดไหน มีการวางแผนจุดเข้าซื้อ
จุดตัดขาดทุน ช่วงแรกมันมีกำไรเพิ่มขึ้นจริง
แต่เมื่อตลาดเข้าสู่สภาวะจิงโจ้หรือที่เรียกกันว่า
Side way คือการที่ราคาแกว่งในกรอบยิ่งช่วงการแกว่งสั้นๆยิ่งทำให้ DW ที่เข้าซื้อไว้ไม่ไปไหนซักที ขึ้นทีละช่องแล้วขายไม่ได้ บางทีราคาขนับแต่ก็ไม่ขึ้นเลย หนักกว่านั้นคือ รอแบบมีควาใกวังว่ามันจะขึ้น มันขึ้นจริงๆ แต่กลับมาที่เดิมไวมาก
จนค่าเสื่อมเวลาของหุ้นกลืนเงินทุนไปทีละหน่อย
หรือทางที่เราเดินมามันจะไม่ถูกนะ
มีช่วงนึงที่ค่อนข้างหมดความเชื่อว่าการลงทุนจะสร้างรายได้แบบยั่งยืนให้ได้
จึงมาดูสถิติของตัวเอง จากที่บันทึกแผนการแบบเรียบง่ายด้วยการใช้กราฟ ก็รู้สึกว่า
หรือเรายังมีสิ่งที่ไม่รู้ ทำไมวันที่เราขาดทุนหรือไม่ได้กำไรเลย ยังมีคนโพสต์กำไรที่เบ่งบานงอกงามมากๆ
ทั้งๆที่เราอยู่ในตลาดเดียวกัน
เอาล่ะ มันต้องมีทางสิ
ผมเริ่มบันทึกกำไร ขาดทุน ในแต่ละวัน
โดยกำหนดกำไรที่ตั้งไว้ในแต่ละวันว่าต้องทำเท่าไหร่ หากซื้อหนึ่งตัวต้องขึ้นถูกทางที่จุดไหนจึงจะขาย หรือขาดทุนเท่าไหร่จึงจะตัดขาดทุน
หรือที่เรียกกันว่า Money management
ซึ่งในตอนนี้ถือเอาหลักการแผนการการจัดการเงินเป็นที่ตั้ง ยอมรับการขาดทุน
ซึ่งส่วนตัวแล้วเชื่อนะว่าใน 10 ครั้งที่มีความเชื่อว่าถูกทางแล้วเทรด มันต้องมีแน่ๆที่ต้องผิดพลาด
อาจจะ 1 ครั้ง 2 ครั้ง หรืออาจจะเป็นผิดหมดทั้ง 10 ครั้ง มันเป็นไปได้ทั้งนั้นแต่ในช่วงแรกบอกตัวเองว่า
เห้ย ไม่หรอกน่าถึงจะขาดทุน 5 ครั้ง
แต่เราก็เท่าทุนนะ เชื่อไหมว่าถึงจะมีการจัดการเงินที่วางมาดีแล้ว ผลรวมคือขาดทุน
เพราะการลงทุนในแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ใน 10 ครั้ง
แทบไม่มีครั้งไหนเลยที่ลงทุนเท่าหรือใกล้เคียงกัน
ครั้งที่ได้กำไรใส่เงินทุนน้อยแต่พอครั้งที่ขาดทุนใส่เงินมาก
ด้วยสิ่งเดียวที่เรียกว่า
ความเชื่อว่ามันจะต้องเป็นแบบที่คิดเหมือนความคิดที่ว่าทุกสิ่งจะเป็นไปในแบบที่เราคิด
โดยคีย์ที่สำคัญที่ได้จากความผิดหวังครั้งนั้นคือความเชื่อในการลงทุนควรเป็นสิ่งที่ตั้งต้นน่ะถูกแล้วแต่มีหลักฐานอะไรไหมที่มาซับพอร์ตวว่ามันจะถูกจริง มีการจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้นรึยัง แล้วการรับความเสี่ยงนั้นจะต้องใช้ตอนไหนและหยุดเมื่อไหร่
ความเชื่อคือสื่งที่ดีที่ควรมีแต่ในเวลาเดียวกันคือสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาในขณะนั้น
การทำแผนที่ดีสำหรับผมแล้ว หลังจากคิดว่าจะทำกำไรได้เท่าไหร่ จุดเข้าซื้อจุดขาย สิ่งที่ทำต่อในทันทีคือวิธีจัดการเมื่อผิดจากที่เราคิด
ไม่ใช่การเข้าซื้อ ก็จริงที่บ่อยครั้งเราคิดมากไปจนทำให้เข้าซื้อไม่ทัน แล้วเสียดายว่าทำไมเราไม่ซื้อ
แล้วจุดไหนจะดีที่สุดล่ะมันเป็นคำถามอีก
นั่นคือระบบการเทรด
ซึ่งส่วนตัวมองว่าเป็นหลักสำคัญมากที่จะทำให้อัตราการชนะมากกว่าการแพ้
เมื่อคิดถึงกองทุนหรือสถาบันการเงินแล้ว ก็คิดว่าเค้าต้องมีระบบการเทรดจึงทำให้กล้าที่จะระดมทุนแล้วนำไปลงทุนเพื่อทำกำไร
และบอกตัวเองว่าจะเทรดยังไงเมื่อไหร่ต้องมีแผนการจัดการเสมอเพื่อให้การชนะมากขึ้น
และวัดผลได้ไม่ใช่ใช้ดวงเพราะผมไม่รู้ว่าผใจะดวงดีเมื่อไหร่แต่สิ่งที่ผมทำได้คือวางแผนและจัดการโดยไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง
และมีความเชื่อว่าการเทรดด้วยอารมณ์คือความเสี่ยงอย่างนึง
โฆษณา