3 ก.ย. 2020 เวลา 11:49 • การศึกษา
ข้อควรระวัง ในการใช้ 私:わたし:watashi
การใช้คำว่า"วาตาชิ"ในภาษาญี่ปุ่น
ตอนที่เราเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่น
จะได้รู้จักกับคำว่า”วาตาชิ”
ในการเรียกตัวเองใช่มั้ยคะ
คำแปลในตำราหลายๆเล่ม
จะแปลว่า”ฉัน,ดิฉัน,กระผม,ผม”
ถ้าสังเกตจากคำแปลแล้ว
อาจจะสัมผัสได้ถึงความทางการ
ในการเรียกตัวเองว่า ดิฉัน กระผม(ในภาษาไทย)
แต่ถ้าเป็นภาษาญี่ปุ่นผู้หญิง
สามารถใช้ 私:わたし:watashi
เรียกตัวเองได้เกือบทุกสถานการณ์เลยค่ะ
ทั้งทางการ และไม่ทางการ
ถ้าสังเกต มักจะได้ยินคนญี่ปุ่นผู้หญิง
ที่เรียกตัวเองว่า”ดิฉัน”อยู่จำนวนหนึ่ง
ในช่วงที่เริ่มเรียนภาษาไทย
(อันนี้แอบเม้านินุง ก็น่ารักนี่นา….)
(ถ้าเป็นวัยรุ่นหน่อย
อาจจะเรียกตัวเองว่า あたし : atashi ก็มีค่ะ)
ผู้หญิงจึงไม่ค่อยน่าเป็นห่วงเท่าไหร่
แต่สิ่งที่ควรระวัง คือ *ผู้ชายที่ต้องเลือกใช้
และสังเกตวิธีใช้คำนี้ให้ดี
ในการเรียกตัวเองเป็นภาษาญี่ปุ่น
ว่า 私:わたし:watashi
จะรู้สึกเหมือนเรียกตัวเองว่า”กระผม”อยู่ตลอดเวลา
ทุกคนว่าฟังดูทางการมั้ยคะ?
ใช่แล้ว ถ้าเป็นผู้ชายญี่ปุ่น
ก็มักจะใช้คำว่า 私:わたし:watashi
พูดในสถานการณ์ที่ค่อนข้างทางการ
หรือกับผู้ที่อาวุโสกว่า หรือในการทำงาน
แต่ถ้าพูดคุยโดยทั่วไปแล้ว
มักจะใช้คำว่า 僕:ぼく : boku มากกว่า
ดูเป็นธรรมชาติกว่า นั่นเองค่ะ
เพระาฉะนั้น ต่อไป
ถ้าคุณผู้ชายจะเรียกตัวเองว่า watashi ก็ไม่ผิด
แต่เลือกใช้ให้ถูกสถานการณ์นะคะ
ปล.จริงๆแล้วคนญี่ปุ่นเองก็เข้าใจค่ะ
ว่าเราเป็นชาวต่างชาติจึงไม่แปลกเช่นกัน
ที่จะเคยได้ยินคนญี่ปุ่นที่เรียนภาษาไทย
เรียกตัวเองว่า “ดิฉัน หรือ กระผม”
เราก็รู้สึกว่าน่ารักดี ใช่มั้ยล่ะคะ
แต่เมื่อเข้าใจความต่างของ watashi / boku
และคำอื่นๆแล้ว
ก็ลองเปลี่ยนมาใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์มากขึ้น
จะทำให้ภาษาญี่ปุ่นของเรา เป็นธรรมชาติมากขึ้นเช่นกันค่า
ปล.2 ยังมีคำที่ใช้เรียกตัวเอง
คำอื่นๆ อีกมากมายเอาไว้มาเล่าให้ฟัง ครั้งหน้านะค้า
ฝากติดตาม ช่องทางอื่นๆ ด้วยนะคะ
☘️LINE@ : @NuttyNihongo (มี@ด้วยนะ)
โฆษณา