2 ก.ย. 2020 เวลา 12:23 • ธุรกิจ
ความผิดพลาดไม่ใช่สัญญาลักษณ์ของความล้มเหลว นี่คือความคิดของคนรุ่นใหม่ 📝💡
ต่อจากตอนที่ 2 ที่ Cloud Business Review (CBR) ได้ทิ้งคำถามไว้ตอนท้ายบทความว่า
เราจะลงมือบริหารจัดการเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลในองค์กรรู้สึกว่าการกระทำผิดนั้นช่างเป็นเรื่องล้มเหลว
และควรได้รับคำตำหนิและบทลงโทษนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดบัง ในขณะเดียวกันหาวิธีสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้จากข้อผิดพลาดแทน
มาอ่านตอนที่ 3 วิธีคิดที่เปลี่ยนความล้มเหลว
อันดับแรกคือการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมความคิดภายในองค์กร
ให้คำว่า
ผิดพลาดกลายเป็นสัญลักษณ์ของสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ความล้มเหลวและความพ่ายแพ้ ส่งเสริมความเข้าใจว่าความผิดพลาดอาจเป็นสัญลักษณ์ของโอกาสในการเรียนรู้
หากองค์กรมีภาวะที่ขาดผู้นำที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมตามเนื้องานรวมไปถึง ขาดการสร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดี อาจเป็นสาเหตุสำคัญของการจัดการวิกฤตได้ไม่ดีเช่นกัน
เราสามารถเห็นจากสื่อได้ว่าผู้นำในหลายๆประเทศทั่วโลกนั้นมีวิธีการแก้ไขปัญหาวิกฤติโควิด 19 ได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
💁🏻‍♂️«นักมนุษย์วิทยา Cliffort Geertz เชื่อว่าการใช้สัญลักษณ์เป็นหัวใจสำคัญของความเข้าใจในวัฒนธรรมและการตีความสัญลักษณ์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำความเข้าใจวิธีคิดในวัฒนธรรม»
:
:
ข้อผิดพลาดเป็นสัญลักษณ์ในการเรียนรู้
ในการเปลี่ยนวิถีทางวัฒนธรรมขององค์กรผู้นำต้องช่วยให้สัญลักษณ์นั้นมีเนื้อหาใหม่ๆ สร้างแรงจูงใจในการทำงาน
และจำกัดคำว่า “กลัวคำว่าผิดพลาด” ออกไปจากองค์กรก่อนการรับฟังข้อเสนอแนะจากเพื่อนร่วมงาน และสนทนากันอย่างสร้างสรรค์ คือจุดเริ่มต้นแรกที่ควรทำ
💓“คำถามที่สร้างสรรค์ เช่น คุณคิดว่าอุปกรณ์เครื่องมือในปัจจุบันนี้มีประสิทธิภาพที่จะแก้ไขปัญหาพอเพียงกับสถานการณ์ในปัจจุบันหรืออนาคตได้ดีเพียงใด”
💓“หรือเราเปลี่ยนวิธีการทำงานด้วยวิธีอื่นดีไหม”
ตัวอย่างเหล่านี้อาจสร้างแรงกำลังใจต่อไปในการทำงานให้กับพนักงานต่อไปโดยที่เขาไม่รู้สึกผิด และหมดกำลังใจไป นั่นคือการสร้างแรงบันดาลใจให้เขาทำงานดีขึ้นเรื่อยๆ และพร้อมที่จะเผชิญหน้า และเรียนรู้งาน พัฒนาตัวเองและองค์กรต่อไปเรื่อยๆ
:
:
นักวิจัยถามว่า“ เราจะเปลี่ยนความคิดของบุคคลอื่นได้ไหม?
งานวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่ามนุษย์เราสามารถเปลี่ยนความคิดของตนได้ เมื่อมีแรงจูงใจที่ดีมีกำลังใจที่ดีจากคนรอบข้าง อันนำพาไปสู่ความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี และประสบผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง
ตัวอย่างเช่นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ที่ได้รับการสอนว่าความฉลาดนั้นมีความยืดหยุ่น
สามารถฝึกฝนได้ เมื่อมีการฝึกฝนอย่างเป็นประจำด้วยความพยายามแล้ว
ผลที่ตามมาแสดงให้เห็นว่าเกรดคณิตศาสตร์ของเด็กๆ นั้นเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนจาก การเปลี่ยน Mindset วิธีคิดที่เชื่อว่าคุณนั้นทำได้ ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว
นอกเหนือจากการเรียนการสอนเด็กๆ เกี่ยวกับทักษะและความฉลาดแล้ว
นักวิจัยยังเริ่มสังเกตว่าการอบรมสั่งสอนของครูนั้นมีผลอย่างมากต่อความคิดของนักเรียน
และข้อเสนอแนะที่ครูให้นักเรียนสามารถกระตุ้นให้เด็กเลือก และกล้าท้าทายในสิ่งที่เคยคิดว่ายากให้กลายมาเป็นผลสัมฤทธิ์ หรือมองหาวิธีง่ายๆในการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
ตัวอย่างเช่นการบอกกับเด็กๆ ว่าพวกเขาฉลาดนั้นเป็นการกระตุ้นให้เด็กๆคิดว่าเขามีความสามารถพอที่จะเรียนรู้และเก่งได้
อันเป็นแรงผลักดันกระตุ้นให้เด็กๆ ยิ่งอยากเรียนรู้และขยันมากยิ่งๆขึ้น นี่คือการปลูกฝังความคิด เพื่อสร้างความเติบโตแนวความคิด Growth Mindset
สิ่งที่ว่ายากสำหรับพวกเขา ก็ไม่จำกัดความสามารถ
กลายเป็นผู้กล้าที่จะเผชิญกับความท้าทาย พร้อมที่จะเรียนรู้ และเติบโต
แน่นอนว่าความสามารถและความสำเร็จนั้นอยู่แค่เอื้อมเพียงมี Mindset ที่ดี
ข้อคิดประจำสำหรับสัปดาห์นี้คือ:
🤔คุณมีแนวคิดแบบ Growth Mindset ความคิดที่ส่งให้คุณนั้นเติบโตหรือไม่?
คุณเชื่อหรือไม่ว่าคุณสามารถประสบความสำเร็จมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน?
🤔สัปดาห์นี้คุณสังเกตไหมว่าคุณนั้นได้ประสบหรือเข้าใกล้ความท้าทาย คุณมองว่าสิ่งเหล่านี้เป็นโอกาสในการเติบโตหรือคุณมองหาวิธีง่ายๆเพื่อแก้ไขให้เสร็จไปวันๆ?
🤔ความคิดในการเติบโตช่วยให้คุณมีโอกาสที่ดีในการบรรลุศักยภาพดังนั้นในสัปดาห์นี้อยากให้ทุกคน มาเริ่มต้นกันใหม่ มาลงมือ ลงแรง กระบวนการสร้างสรรค์ให้ตัวเองนั้นเติบโต เพราะคุณทำมันไดอยู่แล้ว ลงมือเลยวันนี้เลย👏🏻😊
ฝากติดตามผลงานของผู้เขียนได้ที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้ และอย่าลืมกดไลท์ กดแชร์ และกดติดตามเพื่อเป็นกำลังใจสรรหาเรื่องดีๆมาเล่าสู่ให้ท่านฟังด้วยนะค่ะ 👍🏼
ติดตามผลงานได้ที่:
โฆษณา