6 ก.ย. 2020 เวลา 13:12 • หุ้น & เศรษฐกิจ
S1. EP. 4 แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น
ลงทุนอย่างไรให้ชนะตลาด???
มินิซีรีย์ "Seeking Alpha" ตามล่าหาสุดยอดไอเดียการลงทุน พิชิตตลาด
Investment framework
ใน EP. 3 เราได้พูดถึงการพิจารณาเลือกหุ้น โดยใช้ปัจจัยหลักของ investment framework ซึ่งได้แก่การพิจารณา "ความแข็งแกร่งของกิจการ" "การเติบโต" ภายใต้ "ราคาที่เหมาะสม" กันไปแล้ว แต่การพิจารณาด้วยปัจจัยเหล่านี้ ผมคิดว่า มันมี Challenges อยู่สองประการคือ
1
1. เวลาที่ใช้ในการศึกษาหุ้นแต่ละตัวที่ค่อนข้างนาน การที่เราต้องเลือกพิจารณาหุ้นจากบริษํททั้งหมดในตลาดหุ้นไทย 700 กว่าบริษัท เวลาที่ใช้จะยาวนานมาก
เราจะมีวิธี คัดกรองหุ้น อย่างไร ให้มีประสิทธิภาพ ที่สามารถตอบสนองปัจจัยต่างๆที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้ โดยที่ไม่ให้ bias ของเรามาเป็นอุปสรรคในการพิจารณาเลือกหุ้น
ถ้าโจทย์ของเราคือ เราต้องการให้ หุ้นในกลุ่ม Alpha (ที่มีผลตอบแทนที่ดีที่สุดในตลาด 10% แรก) ทุกตัว จะต้องได้รับการ "ผ่านหูผ่านตา ผ่านการพิจารณา" ของเรา มาแล้วตั้งแต่ "ก่อนหน้า" ที่หุ้นเหล่านั้นจะขึ้นไปมากๆ
เราจะมีวิธีการทำอย่างไร เพื่อตอบโจทย์นี้ ?
โจทย์ข้อนี้สำคัญนะครับ เพราะถ้ามันไม่เคยผ่านการพิจารณาของเราเลย เราไม่มีทางได้มันมาอยู่ในพอร์ตนะครับ และหลายๆครั้ง เราปฏิเสธที่จะมองหุ้นเหล่านี้ตั้งแต่แรก โดยใช้ Bias ของเราปัดมันตกไปทันที ตั้งแต่ก่อนที่เราจะพยายามทำความเข้าใจบริษัทนั้นๆ ด้วยซ้ำไป
1
2. ตลาดอาจจะไม่ได้เห็นด้วยกับเราเสมอไป บางครั้งเราคิดว่าราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐานมากแล้ว ก็ยังสามารถเจอ "ถูกกว่าเดิม!!" ได้ เราจะมีวิธีการอะไร ที่ช่วยให้เราเข้าใจมุมมองของผู้เล่นต่างๆที่อยู่ในตลาด ให้มากขึ้น
ทำให้เราไม่ต้องติดอยู่กับหุ้นที่ไม่ไปไหนเป็นเวลานาน เอาเงินอันมีค่าไปวางไว้กับหุ้นที่มี "โอกาส" วิ่งเข้าไปสู่ในกลุ่ม Alpha ดีกว่า ใช่มั้ยครับ
ดังนั้น Challenges ทั้ง 2 นี้ จึงเป็นที่มา ของอีกปัจจัยหนึ่งที่ผมเอาเข้ามาพิจารณาใน investment framework นี้ด้วย ซึ่งก็คือ Share price trend (แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา) นั้นเองครับ
Supporting factors : Share price trend (แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคา)
ก่อนอื่น ถ้าถามว่า "แนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น" มีความสำคัญอย่างไร ทำไมเราต้องมาพิจารณา สิ่งนี้ด้วย
ผมขอแสดงกราฟราคาหุ้น ที่อยู่ในกลุ่ม Alpha (the top 10% performance) ณ ปัจจุบันที่มี market capitalization เกิน 10,000 ล้านบาท โดยเอาแค่ 9 ตัวแรกที่ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด มาให้ดูกันตาม chart ด้านล่างนี้ นะครับ
Figure 1 : Sample of stock's price charts in "the alpha group" (Ref: www.investorz.com)
จากรูป จะเห็นได้ว่า กราฟหุ้นในกลุ่ม Alpha ล้วนแล้วแต่มีแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นเป็นขาขึ้น upward trend (คือมีการทำ higher high และ higher low ดูจาก zone สีขาวในรูป) ต่อเนื่องมาซักระยะหนึ่งแล้ว ทั้งสิ้น
ท่านสามารถลองเปิดกราฟหุ้นตัวอื่นๆ ที่ขึ้นมามากๆ ในปีนี้ ลองดูได้ครับ ว่า pattern กราฟราคาหุ้น ที่ผ่านมานั้น ล้วนต้องเป็นแนวโน้มขาขึ้นด้วยเช่นกันครับ
ดังนั้นในการ พิจารณาหาหุ้นที่จะเป็นกลุ่ม alphaได้ หรือ การที่เราจะสร้างพอร์ตการลงทุนให้มีผลตอบแทนที่จะชนะตลาดได้ เราควรมีหลักในการคัดกรองหุ้นที่จะลงทุนและถือเอาไว้ในพอร์ต ดังนี้ครับ (ดูรูปด้านล่างประกอบ)
Figure 2: Developing the uptrend's stock watch list
1. คัดเลือก "ถือหุ้น" เฉพาะที่เป็นแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น
ผมเชื่อว่า หุ้นที่จะเข้ากลุ่ม Alpha ที่มีผลตอบแทนดีที่สุด 10% แรกของหุ้นทั้งตลาดได้จะต้อง มีกราฟราคาหุ้นที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น นี้ทั้งสิ้น (จากที่เห็นในรูปที่ 1)
1
ดังนั้นหุ้นที่เราซื้อเอาไว้แล้ว มีอยู่ในพอร์ต ควรจะต้องอยู่ในแนวโน้มนี้ การถือหุ้นที่อยู่ในทิศทางเป็นบวก เปรียบเสมือนเราว่ายตามน้ำ เราจะไม่เหนื่อยมากครับ
หุ้นที่มี พฤติกรรมราคาเป็น downward trend หรือหุ้นขาลง ที่ราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านได้ซักที ทำได้แค่ขึ้นไป test แล้วเจอแรงขายทำ new low ต่อเนื่อง ผมคิดว่าเราควรจะหลีกเลี่ยง หากมีใครแนะนำว่าราคาทางพื้นฐานถือว่าถูกมากแล้ว ผมมักจะไม่รีบร้อน เพราะต่อให้ นักลงทุนพื้นฐาน บางคนอาจจะเริ่มสนใจ แต่ คนที่เล่นเทคนิคคอล และ กลุ่ม Mass ส่วนใหญ่ยังมองตรงกันข้าม (อ่านเพิ่มเติมได้ใน EP. พิเศษ) แสดงว่าความเห็นต่างในตลาดนั้นยังมากอยู่ โอกาสที่หุ้นจะขึ้นไปเยอะๆได้นั้นน่าจะ "ยาก" ครับ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ราคาหุ้นตัวนั้น สามารถ break cross แนวต้านสำคัญๆได้ และมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นเทรนขาขึ้น เราค่อยมาสนใจ พิจารณาก็ได้ครับ ถือว่าเป็นช่วงที่ market participants กลุ่มต่างๆ เริ่มเข้ามาให้ความสนใจกันมากขึ้นแล้ว
ซึ่งนำไปสู่หลักข้อต่อไป...
2. มองหา "จุดเริ่มต้นของ trend"
หุ้น Alpha ในปัจจุบันคือหุ้นที่ราคาวิ่งขึ้นมาแล้ว มันควรจะเป็นหุ้นที่เรามีอยู่แล้วในพอร์ต การมาซื้อหุ้นที่วิ่งขึ้นไปเยอะแล้ว อาจจะไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมเท่าไหร่ หากเราต้องการผลตอบแทนดีเลิศมากๆ (ยกเว้นแต่ว่าการเติบโตของหุ้นตัวนั้นๆ จะสามารถเติบโตไปได้อีกยาวนาน)
หากเราทำการคิดย้อนกลับไปว่า หุ้น Alpha ทุกตัวที่วิ่งมาถึงจุดนี้ได้ แต่ก่อนย่อมมีจุด "เริ่มต้นของ trend" ด้วยกันทั้งนั้น
ซึ่งเป้าหมายของเราคือการหาหุ้น Alpha ตัวต่อไปในอนาคต ดังนั้น จุดที่เราควรจะต้องจับตาดูเป็นพิเศษ คือจุดที่เป็น "จุดเริ่มต้นของ trend" ขาขึ้น ของหุ้นตัวนั้นๆ
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจประเด็นสำคัญว่า "หุ้นตัวที่ผ่าน "จุดเริ่มต้น" ตรงนี้ ไม่ได้หมายความว่ามันจะสามารถกลายเป็นหุ้น Alpha ได้ทุกตัว" แต่ "หุ้นที่จะเป็น Alpha ได้ต่างต้องผ่าน "จุดเริ่มต้น trend" นี้ทั้งสิ้น"
เมื่อมันมีความไม่แน่นอนอยู่ ดังนั้นหุ้นที่เข้าอยู่ใน zone สร้างจุด "เริ่มต้นของ trend ขาขึ้น" นี้ จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเอามาวิเคราะห์ดูว่า มันมีพื้นฐานอะไรมารองรับ หรือไม่ ที่จะช่วยผลักดันให้ราคาสูงขึ้นไปได้ในอนาคต
Figure 3 : Stock's price trend using EMA as criteria for categorizing trends
สรุปได้ง่ายๆ ตามรูปข้างบนนี้ครับ อย่างน้อยก่อนที่เราจะซื้อหุ้น เราควรจะมีภาพอยู่ว่า หุ้นที่เราสนใจนั้น อยู่ใน phase ไหน มันมีแนวโน้มของราคาเป็นอย่างไร เราจะได้กำหนดกลยุทธ์ที่ดีได้ ถ้าอยู่ในช่วงขาลงเราหลีกเลี่ยง ถ้ากำลังสร้างเทรนเริ่มต้นเราศึกษาเพิ่มเติม ส่วนหุ้นขาขึ้นเราควรมีอยู่แล้วในพอร์ตของเรา (ตัวอย่าง : กราฟนี้ใช้เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลังในการจำแนก แนวโน้มของราคา)
1
3. สร้าง watch list ของเราขึ้นมา
ดังนั้นหุ้นที่ผ่าน"จุดเริ่มต้น trend" นี้มาแล้วและหุ้นที่ยังสามารถเกาะ trend ขาขึ้นต่อไปได้ ผมจะเก็บเอาไว้ใน watch list เอามาพิจารณาต่อ ส่วนหุ้นตัวไหนวิ่งมาไม่ผ่านจุดนี้ซักที ยังเป็น downward trend ผมจะยังไม่ต้องรีบดูในตอนนี้ รอให้มันเริ่มวิ่งมาถูกทิศก่อนค่อยไปสนใจหุ้นเหล่านั้น
Watch list ของหุ้นขาขึ้นนี้ เราต้อง update เรื่อยๆ ซึ่งบางทีจะมีหุ้นใหม่ๆเพิ่มเข้ามา และจะมีหุ้นที่หลุดตกเทรนออกไป ดังนั้นกลุ่มหุ้นที่เราจะสนใจนั้นจะจำกัดอยู่เฉพาะใน กลุ่มที่มีแนวโน้มขาขึ้นเท่านั้น และเป็นหุ้นที่มีโอกาสจะกลายเป็น Alpha ของตลาดได้
โดยหุ้นที่อยู่ใน watch list เราจะนำไปวิเคราะห์ทางพื้นฐานต่อว่า น่าสนใจที่จะลงทุนจริงๆหรือไม่ โดยอาศัยหลักที่ได้อธิบายไปแล้วใน EP. 3 Core factors
[วิธีการดูแนวโน้มของราคาหุ้น ว่ามีทิศทางไปทางไหน จุดเริ่มต้น หรือ จุดกลับตัว ดูอย่างไร ผมขอยังไม่ลงรายละเอียดในตอนนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคคอลมีมากมายที่อธิบายสิ่งเหล่านี้ เราสามารถเอาไปใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ แนะนำผู้ที่สนใจสามารถอ่านศึกษาเพิ่มเติม จากหนังสือที่แนะนำท้ายบทความนี้ครับ]
การนำ "แนวโน้มราคาหุ้น" มาใช้ใน Investment framework นี้ ผมคิดว่าเป็นการแก้ปัญหา challenges ทั้ง 2 อย่างที่เกริ่นไว้ในต้น คือ ทำให้เราไม่ต้องเหนื่อย ไล่ดูหุ้นทุกๆตัว ในทุกๆช่วงเวลา เราจะ focus เฉพาะหุ้นที่อยู่ใน watch list ที่มีแนวโน้มขาขึ้นนี้ ซึ่งเป็นหุ้นที่มีโอกาส จะกลายเป็นตัว Alpha ของตลาดได้
โดยเป็นการยืมมือคนทั้งตลาดมาช่วย เพราะเราดูคนเดียวทุกตัวตลอดเวลาคงไม่ไหว เป็นเครื่องมือในเตือนเราเมื่อมีหุ้นน่าสนใจใหม่ๆเข้ามาใน list ซึ่งจริงๆในแต่ละสัปดาห์หุ้นตัวใหม่ๆนี้ ที่เข้ามาใน watch list นี้ จะไม่ได้เยอะมาก เราน่าจะมีเวลาพอที่จะ ขุดต่อไปได้ว่า หุ้นเหล่านี้มีประเด็นทางพื้นฐานอะไรที่น่าสนใจให้ลงทุนต่อหรือไม่ โอกาสที่จะพลาดอะไรดีๆ ไปก็จะน้อยลงด้วย
อีกทั้ง การดูกราฟว่า หุ้นตัวนี้มีแนวโน้มเป็นอย่างไร ยังช่วยเตือนให้เราฉุกคิด ว่าสิ่งที่เราคิดนั้น ไปในทิศทางเดียวกันกับตลาด หรือ สวนทางกันกับที่ตลาดคิด ถ้าสวนทางกันมากๆ เราอาจจะไม่ต้องรีบก็ได้ ต่อให้สิ่งที่เราคิดจะถูกต้องในอนาคตก็ตาม หากรีบสวนตลาดไป เราอาจจะเจ็บตัวและเสียเวลานานในการรอคอย สู้รอตอนที่สถานการณ์ เริ่มดีขึ้น เราอาจจะได้ของดีราคาถูก โดยที่ไม่ต้องรอนานก็ได้ครับ
การหลักการวิเคราะห์ทางเทคนิค ดูแนวโน้มของราคา นี้ผมเชื่อว่าจะช่วยให้เรามองภาพรวม ความคิดของผู้เล่นในตลาดได้อย่างเข้าใจมากยิ่งขึ้น น่าจะช่วยให้ investment framework ของเรา ครบถ้วนมากยิ่งขึ้นเช่นกัน
ซึ่งใน Investment framework นี้เราเอาหลัก technical analysis มาช่วยในการคัดกรองหุ้นที่น่าสนใจทำเป็น watch list ขึ้นมา และ ใช้หลักการ fundamental analysis มาช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อหุ้นในการลงทุนที่อยู่ใน watch list นั้นๆ
[หากเรานำทั้ง 2 ศาสตร์นี้มาไว้ใน framework เดียวกันจำเป็นที่จะต้องแยกให้ชัดเจนว่าเราจะนำมันมาใช้ทำอะไรในขั้นตอนไหน เราไม่ควรนำไปใช้ทำเรื่องเดียวกันพร้อมๆ กัน เช่น เอาทั้ง 2 ศาสตร์ ไปใช้ในการตัดสินใจ ซื้อหรือขาย หุ้นพร้อมๆกัน เพราะจะทำให้เราสับสนมาก]
1
หวังว่าบทความตอนนี้ จะช่วยสร้าง ไอเดีย การลงทุนเอาไปประยุกต์ใช้ใน investment framework ของท่านผู้อ่านได้ไม่มากก็น้อยนะครับ
ในบทความตอนหน้า จะเป็น factors สุดท้ายใน investment framework นี้ ที่ผมคิดว่ามีความสำคัญ ที่หุ้นกลุ่ม Alpha นั้นน่าจะต้องคือนั้นๆควรจะมี "Story เรื่องราวที่น่าสนใจ" แล้ว "เรื่องราว" ที่ว่าควรจะมีรายละเอียดอย่างไร มันสำคัญอย่างไรใน framework นี้
เอาไว้ติดตามต่อในตอนหน้านะครับ
ขอบคุณครับ
Alpha investing
6 Sep 2020
References :
กราฟราคาหุ้นจาก www.investorz.com
แนะนำหนังสืออ่านเพิ่มเติม
1. Technical anaylysis of the financial markets. John J Murphy (มีแปลไทยโดย สุธีร์ ระวีแสงสูรย์ สำนักพิมพ์ NSix Publishing) หนังสือเล่มนี้รวบรวม tool ที่ใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆ เอาไว้ค่อนข้างครบถ้วน อ่านแล้วเข้าใจง่ายครับ
2. The TRENDadvisor guide to breakthrough profits : a proven system for building wealth in the stock market / Chuck Dukas with T. Parker Gallagher หนังสือเล่มนี้ มี framework ที่น่าสนใจ ที่ใช้เส้นค่าเฉลี่ยย้อนหลัง จำแนกแนวโน้มราคาหุ้นเป็นเฟส ต่างๆ เป็นวิธีการที่เรียบง่ายในการ มองหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม และ การแยกแยะแนวโน้มในทิศทางต่างๆ ครับ

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา