5 ก.ย. 2020 เวลา 08:57 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ปฏิทินดาราศาสตร์ประจำเดือนกันยายน
1
Astro Calendar September 2020
การโคจรของโลก
เป็นการเปลี่ยนจักรราศีจากกลุ่มดาวสิงโตสู่กลุ่มดาวจักรราศีใหม่ ในกลางเดือนนี้โลกโคจรมาถึงตำแหน่งที่สังเกตเห็นดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งร่วมทิศกับกลุ่มดาวจักรราศีใหม่คือกลุ่มดาวหญิงสาว Virgo และแน่นอน ดาวฤกษ์พื้นหลังหญิงสาวนี้จะขึ้นตกในเวลาใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์ เราจึงไม่เห็นกลุ่มดาวจักรราศีประจำเดือนนั้นๆนั่นเอง
ภาพแสดงกลุ่มดาวจักรราศีซึ่งเป็นดาวฤกษ์พื้นหลังนอกระบบสุริยะ
แผนที่กลุ่มดาวหญิงสาว แสดงวัตถุท้องฟ้าในบริเวณ
ฤดูกาล
เดือนกันยายนในสองซีกโลกจะเป็นฤดูกาลที่สลับตรงข้ามกันคือเป็นปลายฤดูร้อนสู่ฤดูใบไม้ร่วงในซีกโลกเหนือ ขณะที่ซีกโลกใต้เป็นปลายฤดูหนาวย่างสู่ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูกาลเกิดจากแกนของโลกเอียง(ระหว่าง 22.5 องศา-23.5 องศา) ทำให้พื้นที่ในซีกโลกทั้งสองหันเข้าหาดวงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ต่างกันของปี
ฤดูกาลเกิดจากแกนของโลกเอียง 22.5-23.5 องศา
ที่แกนของโลกเอียงนั้นนักดาราศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นการพุ่งชนของวัตถุขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับดาวอังคารพุ่งชนโลกในสมัยที่ระบบสุริยะและโลกยังอายุน้อย นอกจากการชนที่ทำแกนแกนของดาวเคราะห์อย่างโลกและดวงอื่นเอียงแล้ว ทฤษฎีการชนนี้เชื่อว่าการชนทำให้เนื้อของโลกหลุดออกมาก่อตัวเป็นดวงจันทร์บริวารดวงเดียวของโลกนั้นเอง
หนึ่งในทฤษฎีของการกำเนิดดวงจันทร์ ดวงจันทร์กำเนิดจากเนื้อโลกที่ถูกชนในยุคแรกของระบบสุริยะ
ปฏิทินและปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
1 ก.ย. ดาวพฤหัสบดีใกล้ดาวเสาร์ 8.4 องศา
2 ก.ย. จันทร์เพ็ญ
6 ก.ย. ดวงจันทร์บังดาวอังคาร 12:53
ดวงจันทร์ไกลโลกมากที่สุด Moon Apogee 405,596 Km
10 ก.ย. จันทร์กึ่งข้างแรม
14 ก.ย. ดวงจันทร์ใกล้ดาวศุกร์ 4 องศา
17 ก.ย. จันทร์ดับ
18 ก.ย. Moon Perigee 359,073 Km
19 ก.ย. วันแรกของเดือนซอฟาร์
22 ก.ย. ดาวพุธใกล้สไปกา 0.3 องศา 18:29 น.
วันศารทวิษุวัต Autumnal equinox 20:32 น.
24 ก.ย. ดวงจันทร์กึ่งข้างขึ้น 08:56 น.
25 ก.ย. ดวงจันทร์ใกล้ดาวพฤหัสบดี 1.7 องศา 11:54 น.
26 ก.ย. ดวงจันทร์ใกล้ดาวเสาร์ 2.2 องศา
ตารางขึ้นตกใจกลางทางช้างเผือก
ทางช้างเผือกยกตัวเหนือพระมหาธาตุนภเมีนีดล ภาพโดย วิรติ กีรติกานต์ชัย
ลักษณะโดยทั่วไปของทางช้างเผือกในเดือนนี้ โดยะรจะขึ้นจากขอบฟ้าตั้งแต่ก่อนดวงอาทิตย์ตก ดังนี้นเมื่อดวงอาทิตย์ตกและเข้าสู่ทไวไลท์ทางดาราศาสตร์ ทางช้างเผือกจะยกตัวสูงจากขอบฟ้า ขยับตัวค่อนไปตั้งฉากทางทิศใต้ไปตกลับขอบฟ้าทางทิศทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเช้ามืด
ทางช้างเผือกยกตัวในช่วงหัวค่ำ ภาพจาก Sky Portal App
ตั้งฉากกับขอบฟ้าทางทิศใต้ประมาณเที่ยงคืน
วัตถุท้องฟ้า(ยกเว้นดาวเคราะห์) จะขึ้นจากขอบฟ้าช้าไปวันละ 4 นาที เดือนประมาณ 2 ชั่วโมง เพราะผลต่างของ Solar time กับ Sindereal time นั่นเอง
*เวลาอ้างอิง กทม. ละติจูดที่ 13.75 องศาเหนือ ลองติจูด 105 องศาตะวันออก
1/9 จันทร์เฟส 97.6%
2/9 จันทร์เฟส 99.6% Fullmoon
3/9 จันทร์เฟส 99.6%
4/9 จันทร์เฟส 97.7%
5/9 19:38-20:37
6/9 19:38-21:13
7/9 19:37-21:50
8/9 19:36-22:29
9/9 19:35-23:13
10/9 19:34-23:59
11/9 19:34-00:10(00:50) * ในวงเล็บเป็นช่วงเวลาที่ถ่ายดาวได้
12/9 19:33-00:06(01:46)
13/9 19:32-00:02(02:44)
14/9 19:31-00:00(03:44)
15/9 19:30-23:54(04:45)
16/9 19:30-23:51(05:00)
17/9 19:29-23:47(05:00)
18/9 19:28-23:43(05:00)
19/9 19:27-23:39(05:00)
20/9 19:27-23:35(05:00)
21/9 19:26-23:31(05:00)
22/9 19:25-23:27(05:00)
23/9 จันทร์ร่วมทิศทางช้างเผือก
24/9 จันทร์ร่วมทิศทางช้างเผือก
25/9 19:23-23:16(05:00) *ดวงจันทร์ข้างขึ้นรบกวน
26/9 02:12-05:00
27/9 03:05-05:00
28/9 ดวงจันทร์ข้างขึ้นรบกวน จันทร์เฟส 94.3%
29/9 ดวงจันทร์ข้างขึ้นรบกวน จันทร์เฟส 90.7%
30/9 ดวงจันทร์ข้างขึ้นรบกวน จันทร์เฟส 95.5%
เฟสของดวงจันทร์ในเดือนกันยายน
ยังมีรายละเอียดของปรากฏการณ์ต่างๆมาเล่าสู่กันฟังตลอดทั้งเดือน ฝากติดตามและแชร์ต่อด้วยครับ ความรู้ดาราศาสตร์ทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งเข้าใจตนเองยิ่งขึ้น
ชวนชมรายการสารคดี อสท ออนทีวี จาก EYE CONTACT, MCOT HD และชมรมคนรักในดวงดาว วันอาทิตย์นี้ 10:00 น. ช่อง 9MCOT HD ช่อง 30 มาชมกันครับ
Teaser รายการอาทิตย์นี้ครับ
พบกันใหม่เดือนหน้าครับ
อจ.โอ
สารคดีเพื่อความตระหนักรักสิ่งแวดล้อม อสท ออนทีวี ทุกวันอาทิตย์ 10:00 น. 9MCOT HD ช่อง 30
โฆษณา