6 ก.ย. 2020 เวลา 07:38 • ประวัติศาสตร์
เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย ?
จอมพล ป. พิบูลสงคราม กล่าวปราศรัยเรียกร้องดินแดนคืน หน้ากระทรวงกลาโหม 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483
"เชื่อผู้นำชาติพันภัย"
"ท่านผู้นำไปไหน ฉันไปด้วย"
1
ข้อความข้างต้นนี้ เป็นหนึ่งในคำขวัญที่ฮิตติดปากและคุ้นหู ของชาวไทยในช่วงการดำเนินนโยบายชาตินิยมของ จอมพล ป พิบูลสงคราม ผู้นำที่อยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรียาวนานที่สุดของไทย ถึง 14 ปี กับอีก 11 เดือน (สมัยที่ 1 ระหว่าง พ.ศ.2481 -2487 และสมัยที่ 2 ระหว่าง พ.ศ.2491 - 2500)
โดยนโยบายชาตินิยม ของจอมพล ป พิบูลสงคราม นั้นเกิดขึ้นในช่วงสมัยแรกของการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี คือ ระหว่าง พ.ศ.2481 -2487 ซึ่งเป็นช่วงที่คาบเกี่ยวกับภาวะความขัดแย้งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่การปลุกกระแสชาตินิยมจำเป็นต่อความมั่นคงและความอยู่รอดของชาติในขณะนั้น
นโยบายชาตินิยมของจอมพล ป พิบูลสงคราม นี้เองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยในหลายเรื่อง นับตั้งแต่การกำหนดรัฐนิยม 12 ประการ ที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมของไทยมาถึงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นการเข้าแถวเคารพธงชาติ ระเบียบเครื่องแต่งกายของนักเรียน มารยาทและระเบียบในการเข้าสังคม หรือ ระเบียบปฏิบัติทางราชการต่างๆ
เครื่องแบบนักเรียน และการยืนตรงเคารพธงชาติ เป็นผลผลิตของนโยบายรัฐนิยมในสมัยจอมพลป พิบูลสงคราม
พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2482 ในสมัย จอมพล ป พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี
เครื่องแบบ ทรงผม และหมวก ของนักเรียนใน "ยุคมาลานำไทย" ตามรัฐนิยมของจอมพล ป พิบูลสงคราม ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง
ภาพนักเรียนชายในเครื่องแบบยุวชนทหาร ที่จัดตั้งขึ้น ใน พ.ศ.2481 ตามนโยบายของ จอมพล ป เพื่อปลูกฝั่งแนวคิดชาตินิยมและเตรียมกำลังรบในช่วงภาวะสงคราม
เครื่องแต่งกายตามรัฐนิยมสมัยจอมพลป พิบูลสงคราม
ตลอดจนถึงการสร้างสถาปัตยกรรมที่ลดทอนการแสดงออกทางชนชั้นด้วยรูปลักษณ์ที่ทันสมัยในยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง อย่าง อาคารสองฝั่งถนนราชดำเนิน อาคารศาลฎีกา(ถูกทุบทำลายไปแล้วในปัจจุบัน) ฯลฯ
ภาพการเตรียมการเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บนถนนราชดำเนิน หลังเริ่มสร้างเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 และทำพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับหมู่อาคารบนถนนราชดำเนิน
อาคารศาลฎีกา สร้างเสร็จและทำพิธีเปิดในวันที่ 24 มิถุนายน 2486 ถือเป็นอนุสรณ์ที่รำลึกถึงการที่ประเทศไทยได้รับ “เอกราชทางการศาล” กลับคืนมาใน พ.ศ. 2481 นับจากที่ต้องสูญเสียไปตั้งแต่ทำสนธิสัญญาเบาริ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งหมายถึงการได้อำนาจอธิปไตยโดยสมบูรณ์
ศาลฎีกา หลังเก่า ที่ปัจจุบันได้ถูกทุบทำลายเพื่อสร้างอาคารหลังใหม่ ใน พ.ศ.2556 ซึ่งเสา 6 ต้น บริเวณด้านหน้า หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ "เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา"
ส่วนหนึ่งของอาคารบนถนนราชดำเนิน ปัจจุบันเปลี่ยนสภาพเป็นพื้นที่ตั้งของแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ห้องสมุด หอศิลป์ อาคารจัดนิทรรศการต่างๆ
บริเวณที่ตั่งอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ได้กลายมาเป็นพื้นที่แสดงสัญลักษณ์และการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มผู้เรียกร้องทางการเมืองกลุ่มต่างๆ
นอกจากนี้ในสมัยจอมพลป ยังได้มีการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยม ด้วยการสร้างชุดความรู้และความทรงจำ ในบทเรียนประวัติศาสตร์ชาตินิยม ที่เริ่มเรื่องจากความยิ่งใหญ่ของชนชาติไทยที่ก่อตั้ง “อาณาจักรน่านเจ้า” ที่ยิ่งใหญ่โดยอพยพมาจากบริเวณเทือกเขาอัลไต ทางตอนเหนือของประเทศจีน
1
ซึ่งแนวคิดนี้เชื่อว่าชนชาติไทยได้จนถูกขับไล่ให้อพยพลงมา และสามารถสร้างอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เป็นอิสระเหนือชาติใดในดินแดนแหลมทอง แต่ต่อมาก็ต้องเผชิญกับศัตรูผู้รุกรานอย่างพม่า ที่ได้กลายเป็นผู้ร้ายตลอดกาลในแบบเรียนประวัติศาสตร์ไทย และยังถูกชาติมหาอำนาจตะวันตกอย่างอังกฤษและฝรั่งเศส ยึดครองดินแดนส่วนต่างๆไป
หนังสือหลักไทยของขุนวิจิตรมาตรา ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างชุดความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่ว่าชนชาติไทยมีความยิ่งใหญ่มาก่อน โดยได้อพยพมาจากเขาอัลไต และมาสร้างอาณาจักรน่านเจ้า และย้ายมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ปัจจุบันแนวคิดเรื่องคนไทยมาจากเขาอัลไตและเรื่องอาณาจักรน่านเจ้า ไม่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการปรัวัติศาสตร์อีกต่อไป เนื่องจากขาดหลักฐานที่สนับสนุนแนวคิดนี้
หนังสือไทยในสมัยสร้างชาติ ตีพิมพ์โดยกรมยุทธศึกษา เนื่องในงานฉลองวันชาติ พ.ศ.2484 มีเนื้อหาเป็นรายละเอียดเกี่ยวกับผลงานของรัฐบาลในสมัยนั้น
เรื่องราวเหล่านี้นับเป็นผลผลิตของการสร้างความรู้สึกชาตินิยมที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆในหมู่ประชาชนที่ถูกปลูกฝั่งให้ เชื่อผู้นำ ในภาวะที่ชาติกำลังมีภัย จนนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่คณะนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง รวมทั้งประชาชนร่วมกันเดินขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม
ขบวนเรียกร้องดินแดนคืนจากฝรั่งเศสในเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ของนิสิต นักศึกษา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483
ความเคลื่อนไหวของนักศึกษาและประชาชนครั้งนั้น ส่งผลให้ จอมพล ป พิบูลสงคราม ในฐานะนายกรัฐมนตรีและผู้บัญชาการทหารสูงสุดในขณะนั้น ได้ส่งทหารข้ามพรมแดนเข้าไปยึดดินแดนคืนทันที จนเกิดสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสขึ้น
ระหว่าง วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 – วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
1
จอมพล ป. พิบูลสงคราม โบกธงรับบรรดานักศึกษาที่มาเรียกร้องดินแดน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม (ภาพจากหนังสือ ไทยสมัยสร้างชาติ)
จอมพล ป. พิบูลสงคราม คณะน่ยทหารและนักศึกษาธรรมศาสตร์ กระทำการปฏิญาณตนต่อพระแก้วมรกต ในการเรียกร้องดินแดนคืน วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ที่หน้ากระทรวงกลาโหม (ภาพจากหนังสือ ไทยสมัยสร้างชาติ)
การวางกำลังการรบของไทยในสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส
เชลยทหารฝรั่งเศส ที่ยอมจำนนหลังการรบในสงครามอินโดจีนฝรั่งเศส
พลตรี หลวงพิบูลสงคราม (ยศ ในขณะนั้นของ จอมพล ป พิบูลสงคราม) กำลังยืนชมธงชัยเฉลิมพลของกองพันทหารลีเจียนแนร์ที่ 5 ของฝรั่งเศส ที่ ร.พัน 3 ยึดได้ โดยขวามือมีพันเอก หลวงสวัสดิรณรงค์ (สวัสดิ์ ดาระสวัสดิ์) และซ้าย นาวาเอก หลวงยุทธศาสตร์โกศล (ประยูร ยุทธศาสตร์โกศล) ร่วมอยู่ในรูปด้วย
เหตุการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้ไทยได้เจรจาตกลงกับฝรั่งเศส ใน "อนุสัญญาโตเกียว" ซึ่งทำให้ไทยได้ดินแดนฝั่งขวาของหลวงพระบาง จำปาศักดิ์ ศรีโสภณ พระตะบอง และดินแดนในกัมพูชาคืนมาจากฝรั่งเศส และได้นำมาแบ่งเป็น 4 จังหวัดคือ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ และจังหวัดล้านช้าง
1
การลงนามข้อตกลงพักรบระหว่างไทยกับฝรั่งเศส บนเรือรบนาโตริ ของญี่ปุ่น หน้าอ่าวไซ่งอน ประเทศเวียดนาม ในวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2484
การลงนามในอนุสัญญาโตเกียววันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2484 ณ กรุงโตเกียว โดยมีนายโซสุเกะ มัดซูโอกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น และฝ่ายไทยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นผู้แทน
แผนที่ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจัมปาศักดิ์
แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ได้เกิด "ความตกลงวอชิงตัน" ขึ้นซึ่งเป็นข้อตกลงระงับกรณีพิพากษ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ที่ทำขึ้นที่กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
1
ข้อตกลงนี้เองมีผลให้ข้อตกลงอนุสัญญาโตเกียว ถูกยกเลิกตามไปด้วย ทำให้ดินแดนอินโดจีนที่ได้คืนมาเหล่านั้น ต้องหลุดลอยไปอยู่กับฝรังเศสอีกครั้ง ทั้งนี้เพราะวิธีการที่ได้มาด้วยการใช้กำลังในสงครามไม่อาจยั่งยืนได้เลย...
เหรียญย่อมมีสองด้าน ประวัติศาสตร์ก็คือบทเรียนที่เราได้มองเหรียญเหล่านั้นด้วยความเป็นกลาง แล้วนำมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในปัจจุบันและการเดินต่อไปในอนาคต
1
คุณูปการของจอมพล ป พิบูลสงคราม ที่เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบันมีมามาย ที่โดดเด่นคือ วัฒนธรรมจอมพล ป พิบูลสงครามที่ได้ริเริ่มในสมัยที่ท่านเป็นผู้นำประเทศ ยังคง อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบัน
1
โดยจะเห็นได้ว่าตั้งเช้าจรดเย็น พวกเราต่างยังอยู่กับมรดกวัฒนธรรมของจอมพลป ไม่ว่าการยืนเคารพธงชาติ การแต่งเครื่องแบบและทรงผมนักเรียน คำทักทาย มารยาททางสังคม ไปจนถึงแนวคิดที่อยู่ในบทเรียนทางประวัติศาสตร์
1
การให้เปลี่ยนการนับวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามแบบสากล ในรัฐบาลจอมพล ป เกิดขึ้นครั้งแรก ใน พ.ศ.2484
การใช้คำว่า "สวัสดี" ถูกใช้ครั้งแรกใน พ.ศ.2486 และใช้มาจนถึงปัจจุบัน
ธรรมเนียมการยืนตรงในโรงภาพยนตร์ที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป ที่ใช้การบรรเลงเคารพ ก่อนฉายภาพยนตร์ ต่อมาหลัง พ.ศ.2500 เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกจึงเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี ดังในปัจจุบัน
จอมพล ป ขณะตรวจราชการ ที่จังหวัดสมุทรสาคร ปี พ.ศ.2495 สังเกตว่าเด็กผู้ชายส่วนใหญ่นิยมไว้ทรงผมสั้นเกรียน มาจากแบบอย่างนักเรียนญี่ปุ่นและปัญหาเรื่องเหา ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่ใน พ.ศ.2515 รัฐบาลจอมพลถนอม กิติขจร จะออกประกาศและข้อบังคับเรื่องทรงผมนักเรียนอย่างเป็นทางการ
สิ่งเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ของมันในยุคสมัยหนึ่ง แต่ยังถูกผลิตซ้ำกันเรื่อยมา จนผังรากลงไปจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเรา ทั้งๆที่ยุคสมัยและบริบทความจำเป็นตามวัตถุประสงค์เหล่านั้นได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม จนนำมาสู่การตั้งคำถามถึงกฎระเบียบเหล่านั้นในปัจจุบัน
1
จอมพล ป อาจเป็นทั้งพระเอกและผู้ร้ายในหน้าประวัติศาสตร์ แล้วแต่ใครจะตัดสิน แต่หากมองด้วยความเป็นกลาง ในเมื่อเหรียญมีสองด้าน มนุษย์เราเองก็เช่นกัน...
1
อ้างอิง
- ยุทธศึกษาทหารบก,กรม. (2484). ไทยในสมัยสร้างชาติ ที่ระลึกงานฉลองวันชาติ 2484. พระนคร: กรมยุทธศึกษาทหารบก.
โฆษณา