8 ก.ย. 2020 เวลา 03:23 • การเกษตร
Agriculture & Food Industry Transformation >ep.2<(5-09-2020)
“จากโกโก้พืชอนาคตสู่ฮับช็อกโกแลตอาเซียน
ตอบโจทย์อุตสาหกรรมอาหารบนฐานเกษตรยุคโควิด”
(ตอนที่ 1)
โดย อลงกรณ์ พลบุตร
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0
1.โกโก้พืชอนาคต-ต้นไม้ของพระเจ้า
ชาวยุโรปค้นพบประโยชน์จากเมล็ดโกโก้ในทวีปอเมริกากลางเมื่อปีคศ.1502โดยนักสำรวจชาวสเปนชื่อเฮอร์นานโด คอร์เตซและเกิดคำว่า”ช็อคโกแลต”ที่ทำจากโกโก้ในปีคศ.1528สมัยกษัติรย์คาร์ลอสที่1แห่งสเปน(ประมาณกลางสมัยอยุธยาของเรา)จากนั้นแพร่หลายเป็นที่นิยมไปทั่วโลกจนมีการกำหนดให้วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นวันช็อคโกแลตโลก (World Chocolate Day)และมีการสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนนิเมชั่นเรื่อง ชาร์ลี ช็อคโกแลต แฟคตอรี่ (Charlie and the Chocolate Factory)ในปี2005จนต่อมามีร้านชื่อChocolate Factoryในเมืองไทยก็มีหลายแห่ง
ตามบันทึกประวัติศาสตร์เมื่อกว่า 3,000 ปีพบว่าชนเผ่าโอลเมค (Olmec) ซึ่งเป็นชนเผ่าเเรกที่ครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยบริเวณป่าดงดิบเขตร้อนทางตอนใต้ของเวลาครูซ (Veracruz) บนอ่าวเม็กซิโกทำการเพาะปลูกต้นโกโก้เพื่อใช้เป็นอาหาร จากนั้นเป็นเวลาหลายร้อยปีภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรโอลเมค ชนเผ่ามายา (Maya) ได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้นมาบริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกในปัจจุบัน ชนเผ่ามายาเรียก ต้นโกโก้ว่า “cacahuaquchtl” เเละเชื่อว่าเป็นต้นไม้ของพระผู้เป็นเจ้า เเละ ผลโกโก้ที่ออกบริเวณลำต้นเป็นของขวัญที่พระผู้เป็นเจ้าประทานมาให้มนุษย์ 

ปัจจุบัน แหล่งเพาะปลูกต้นโกโก้ที่สำคัญคือกลุ่มประเทศในแอฟริกาตะวันตก โดยร้อยละ 70 ของผลผลิตโกโก้ทั่วโลกมาจากแอฟริกา และกว่าร้อยละ 60 มาจากประเทศไอวอรีโคสต์ (หรือประเทศโกตดิวัวร์) และกานา(ประเทศนำเข้าข้าวไทยใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง)ซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตโกโก้มากที่สุดสองอันดับแรกในโลกและในทวีปอเมริกากลางสามารถปลูกเติบโตได้ดีเช่นเดียวกับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็เหมาะมากสำหรับปลูกโกโก้ เช่นไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น
จากผลโกโก้นำเมล็ดมาหมักแล้วตากแห้งก่อนกะเทาะเปลือกได้เนื้อโกโก้จึงนำมาแยกเป็นโกโก้ผง น้ำมันโกโก้ โกโก้บัตเตอร์มีผลิตภัณฑ์โกโก้ผงชงดื่มเป็นเครื่องดื่มสุขภาพช่วยบำรุงหัวใจและสมอง
มูลนิธิโกโก้โลก(WCF)รายงานปี2563ว่ามีความต้องการเมล็ดโกโก้(Cocoa bean)ปีละกว่า3ล้านตัน

2.ช็อคโกแลต ของหวานเบอร์1ของโลก
ช็อคโกแลตทำจากโกโก้แปรรูปมีแบบดาร์กช็อคโกแลต(Dark Chocolate)ผสมนมเรียกว่ามิลค์ช็อคโกแลต(Milk Chocolate)และช็อกโกแลตขาว(White Chocolate)หรือช็อคโกแลตที่ใส่ผลไม้ใส่ถั่วหรือเคลือบเวเฟอร์เป็นขนมในหลากหลายรูปแบบจัดเป็นประเภทของหวานอันดับ1ของโลกมีแบรนด์ดังๆระดับโลกเช่นLindt ,Ferraro Rocher, Guylian ,Toffifee, M&M ,Dcolse, Kinder Bueno ,Ducd’O, Maxinm เจ้าของยี่ห้อปังๆเหล่านี้ล้วนอยู่ในยุโรปและอเมริกาเหนือเช่นสวิตเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส สหรัฐ ฯลฯซึ่งร่ำรวยมั่งคั่งจากโกโก้และช็อคโกแลตมาหลายร้อยปีทั้งที่ไม่มีต้นโกโก้แม้แต่ต้นเดียว ส่วนญี่ปุ่นมาทีหลังแต่มาแรงออกช็อคโกแลตหลายยี่ห้อเช่น
Meltykiss, Kitkat, Muji, Tea Chocolate Matcha7 และ Royceช็อคโกแลตนุ่มลิ้นถูกปากคนไทยมากๆ
คาดหมายว่าตลาดค้าขายช็อคโกแลตจะมีมูลค่าสูงถึงกว่า 1.7แสนล้านดอลลาร์(กว่า5ล้านล้านบาท)ต่อปีภายในปี2026
3. นโยบายพืชอนาคต-อนาคตเกษตรไทย
นโยบาย”พืชอนาคต(Future Crop Policy)คือนโยบายส่งเสริมพืชที่ได้รับการเลือกสรรว่ามีตลาดมีราคาที่มีเสถียรภาพและไทยแข่งขันได้ในระยะยาวโดยสร้างกลไก(Soft&Hard Mechanism)สนับสนุนอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำมีหลักเกณฑ์คัดเลือกพืชอนาคตง่ายๆคือ1.ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า2.อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเป้าหมายใหม่(First&New S-Curve)3. มีตลาดมีราคาที่มีเสถียรภาพและไทยแข่งขันได้ในระยะยาว 4.ตอบความต้องการของยุคโควิดและpost-COVID-19ซึ่งเป็นนโยบายที่ริเริ่มใหม่โดยมีการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(ศูนย์AIC)ประเภทAICศูนย์แห่งความเป็นเลิศ(Center of Excellence:COE)มีชื่อว่า “ศูนย์แห่งความเป็นเลิศพืชอนาคต”ทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาตั้งแต่เมล็ดพันธ์ุจนถึงการสร้างผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์และพัฒนาเกษตรกรรวมทั้งผู้ประกอบการตลาดห่วงโซ่อุปสงค์อุปทานของพืชอนาคตโดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โกโก้เป็นตัวอย่างหนึ่งของพืชอนาคต ประเทศไทยต้องนำเข้าโกโก้ผง น้ำมันโกโก้ โกโก้บัตเตอร์และช็อกโกแลตปีละกว่า6หมื่นตันเพราะเราผลิตได้ไม่ถึงพันตัน
ที่น่าสนใจคือตลาดโลกต้องการเมล็ดโกโก้ปีละกว่า3ล้านตันและขยายตัวทุกปีส่วนช็อคโกแลตคาดว่าเมื่อถึงปี2026มีมูลค่าค้าขายปีละกว่า 5ล้านล้านบาท
นโยบายพืชอนาคตเพื่ออนาคตของเกษตรไทยจะตั้งเป้าหมายขั้นต้นขั้นกลางและขั้นปลายคือเริ่มผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าส่งเสริมการปลูกส่งเสริมการตั้งโรงงานแปรรูปและส่งเสริมการตลาดใช้นโยบายตลาดนำการผลิต(Demand Driven) (มีต่อตอนที่2)
……………………………………………………………………………………………………………
เกี่ยวกับผู้เขียน : นายอลงกรณ์ พลบุตร
ความรู้:จบปริญญาตรีและโทจากธรรมศาสตร์และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศนียบัตรการศึกษาอบรมเกือบ10ประเทศ เช่นอเมริกา ญี่ปุ่น ปอร์ตุเกสฯลฯ เขียนหนังสือ4เล่ม และกำลังเขียนเล่มที่5”ประเทศไทยยิ่งใหญ่กว่าที่ใครคิด”
ประสบการณ์:ส.ส.6สมัย สมาชิกรัฐสภาผู้ปฏิบัติงานดีเด่นที่สุด (ดาวเด่นแห่งปีของรัฐสภา) เจ้าของฉายามิสเตอร์เอทานอล(Mr.Ethanol) ผู้ก่อตั้งมูลนิธิสถาบันพลังงานทางเลือกแห่งประเทศไทย ผู้ก่อตั้งองค์กรพรรคการเมืองเสรีประชาธิปไตยแห่งเอเซีย(CALD) รมช.พาณิชย์ รมต.ศก.อาเซียน ประธานคณะกรรมการโลจิสติกส์การค้า ประธานคณะกรรมการบริหารนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งชาติ ผู้แทนหน่วยประจำชาติไทยของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ(IPU) ผู้ก่อตั้งBizclub สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศคนที่1
ปัจจุบัน:ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษครและสหกรณ์
ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0
ประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(AIC)
รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พรรค ที่ปรึกษาสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ที่ประชุมการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ของสหประชาชาติ(UN International Conference on Human Settlements) ผู้บรรยายพิเศษปริญญาเอกโทตรีของมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษา ผู้บรรยายพิเศษ(อดีตและปัจจุบัน)หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงภาครัฐและเอกชนเช่น วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร บยส.ของศาลยุติธรรม นธป.ของศาลรธน. วตท.วิทยาลัยตลาดทุน Tepcotของมหาวิทยาลัยหอการค้าและหอการค้าไทย วิทยาการตำรวจ สถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรDigital Economy for Management ของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ(IRDP) ฯลฯ
โฆษณา