11 ก.ย. 2020 เวลา 00:00 • ประวัติศาสตร์
'สตรีเหล็ก' ประดิษฐกรรมความตายที่ไม่มีใครอยากลอง
เครื่องทรมานและเครื่องประหารที่เรียกว่า 'Iron Maiden' (แปลตรงตัวคือ
หญิงพรหมจรรย์เหล็ก ซึ่งบทความนี้จะเรียกว่า 'สตรีเหล็ก') เป็นสิ่งประดิษฐ์ชั้นยอด
ของชนเผ่าเยอรมัน เป็นกล่องเหล็กที่มีฝาปิดด้านหน้า ภายในเต็มไปด้วยเหล็ก
แหลม และมีความสูงพอๆ กับร่างกายของคนทั่วไป
เดิมคิดกันว่าเครื่องทรมานนี้คงเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าในตำนาน ไม่มีอยู่จริง
แต่เอกสารหลายชิ้นกล่าวถึงการพบเครื่องมือนี้เรื่อยมา ทั้งยังยืนยันความนิยมใช้วิธีทรมานดังกล่าวด้วย ซึ่งบางครั้งอาจไม่ใช่ในสมัยกลาง เพราะไม่มีหลักฐานระบุชัด
เจน
แม้ประเด็นว่าในสมัยกลางมีการใช้เครื่องทรมาน 'สตรีเหล็ก' หรือไม่ แต่ทั่วไปยอม
รับว่ามีเครื่องทรมานหลากหลายรูปแบบที่พัฒนาจากเครื่องมือนี้อยู่ในบางช่วงของ
ประวัติศาสตร์
หลักฐานชิ้นแรกที่กล่าวถึง 'สตรีเหล็ก' เป็นหนังสือของโจฮัน ฟิลิป ไซเบนคีส์ (Johann Philipp Siebenkees) นักปรัชญาและนักโบราณคดีชาวเยอรมัน เมื่อ ค.ศ.1793 ที่กล่าวว่า เครื่องทรมานดังกล่าวเริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.1515 ด้วยการลงโทษคนทำเหรียญกษาปณ์ปลอมที่ต้องประสบชะตากรรมอันโหดร้ายด้วยการถูกนำตัวเข้าไปในหีบปิดตายที่ภายในเต็มไปด้วยเหล็กแหลมที่ทิ่มแทงทะลุร่าง
เขาอย่างช้าๆ จนตาย
ต่อมาเขาก็กล่าวว่ามีการใช้เครื่องทรมานสตรีเหล็กกับแม่มดและคนอื่นๆ ที่ต่อต้าน
ศาสนจักรในช่วงก่อน ค.ศ.1793
หลักการทำงานของสตรีเหล็กนั้นแสนง่ายดาย เมื่อนำเหยื่อเข้าไปข้างในแล้วปิด
ฝาหน้าลง เหล็กแหลมที่อยู่ภายในก็จะแทงทะลุอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ทว่าเหล็ก
เหล่านั้นถูกทำให้สั้นและติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ทำให้เหยื่อตายเร็วเกินไป
นั่นหมายความว่า เหยื่ออาจได้รับเพียงแผลเล็กๆ แต่ต้องทรมานจากการเลือดออกทีละน้อยๆ จนตายในอีกหลายชั่วโมงถัดมา ต่อมามีการเพิ่มความน่าสยดสยองเข้าไปด้วยการติดตั้งเหล็กแหลมคู่หนึ่งในตำแหน่งจำเพาะให้แทงเข้าไป
ในดวงตาเหยื่อพอดี
ปัจจุบันมีเครื่องทรมานสตรีเหล็กสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์
หลายแห่งทั่วโลก อันที่มีชื่อเสียงที่สุดเห็นจะได้แก่ สตรีเหล็กแห่งเนิร์นแบร์ก
(the Iron Maiden of Nuremburg) ที่สร้างขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ
ถูกทำลายจากการทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ
ค.ศ.1944 กระนั้นก็ยังคงมี 'สำเนา' สตรีเหล็ก การออกแบบของเนิร์นแบร์กอยู่.
1
เรื่อง : ชัยจักร ทวยุทธานนท์
ภาพประกอบ : ชุติมณฑน์ ปทาน
โฆษณา