16 ก.ย. 2020 เวลา 10:30 • ประวัติศาสตร์
รู้จัก ‘สหายดุจ’ เพชฌฆาตแห่งคุกตวลสเล็งใน 5 ข้อ
คุกตวลสเล็งคือหนึ่งในภาพลักษณ์ที่ติดตาความโหดเหี้ยมสมัยเขมรแดง ประชาชนกว่า 15,000 คนต้องมาจบชีวิตลงท่ามกลางสภาพอันโหดร้ายทารุณ
2
ชายผู้มีบทบาทสำคัญอยู่เบื้องหลังคุกนรกแห่งนี้คือ ‘สหายดุจ’ หรือ ‘คัง เค็ก เอียว’ ตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมคุกตวลสเล็ง เจ้าของฉายา ‘เพชฌฆาตแห่งคุกตวลสเล็ง’
จากเด็กหนุ่มหน่วยก้านดีผู้รักชาติบ้านเมือง แปรเปลี่ยนเป็นปีศาจจอมกระหายเลือดที่สั่งฆ่าอย่างโหดเหี้ยมทารุณผิดมนุษย์ได้อย่างไร
1.จากเด็กชายหัวดีผู้รักการอ่าน
สหายดุจ หรือ คัง เค็ก เอียว (Kang Kek Iew) เกิดเมื่อปี 1942 ในครอบครัวเขมร
เชื้อสายจีนที่มีฐานะยากจน แม่ของดุจเล่าว่าลูกชายคนเดียวของครอบครัวนี้เป็นเด็กขยัน ช่วยงานพ่อแม่ตลอด แต่ดุจมีนิสัยจริงจังกับชีวิต ชอบเก็บตัวเงียบ ไม่ค่อยสุงสิงกับใคร และแทบจะไม่ยิ้มหรือหัวเราะเลย เพื่อนร่วมห้องก็เล่าตรงกันว่าเขาไม่ค่อย
พูดและยิ้มเท่าไหร่
ในยามว่างหลังช่วยงานพ่อแม่ คังชื่นชอบอ่านหนังสือคณิตศาสตร์ วรรณกรรมเขมรและฝรั่งเศส เขาจะพกหนังสือเล่มหนึ่งติดตัวตลอด หนอนหนังสือรักสันโดษผู้นี้แทบ
ไม่เคยออกจากบ้านไปเที่ยวเหมือนเด็กคนอื่นเลย คังเป็นเด็กระดับหัวกะทิของ
โรงเรียน เขาทำคะแนนวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีเป็นอันดับต้นของห้อง นักเรียนคนอื่น
มักเข้าไปหาคังเวลาไม่เข้าใจบทเรียนเสมอ ดุจสอบเข้าระดับมัธยมปลายและใช้
เวลาเรียนเพียงปีเดียวในขณะที่เด็กทั่วไปใช้เวลา 2 ปี
2.สู่นักเรียนหัวก้าวหน้าฝักใฝ่การเมือง
ด้วยความที่เกิดในครอบครัวที่ยากจน หนอนหนังสือผู้นี้ได้เห็นความเหลื่อมล้ำอยู่
เป็นนิจ ในโรงเรียนมัธยม ครูที่คังสนิทและไปขลุกด้วยบ่อยๆ
ชื่อ เก กิม ฮวด ครูผู้นี้ได้ปลูกฝังแนวคิดคอมมิวนิสต์ให้คัง สอนให้รู้เรื่อง
การปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง หลังจากนั้นยังมีครูอีกหลายคนที่ปลูกฝังแนวคิดทำนอง
เดียวกันให้เขา จนเป็นที่รู้กันทั่วว่าคังเป็นนักเรียนหัวก้าวหน้า หลังเรียนมัธยมจบเขาไปเรียนด้านครุต่อและบรรจุเป็นครู เขาได้ชื่อว่าเป็นครูที่ปฏิบัติต่อเด็กดี และช่วย
เหลือเด็กที่มีฐานะลำบากกว่าคนอื่นเสมอ ในชั่วโมงเรียนเขามักจะฉายหนังโฆษณา
ชวนเชื่อของจีนให้นักเรียนดูบ่อยครั้ง
ในปี 1967 เขาตัดสินใจเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาของพล พต หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็ถูกจับกุมตัวไปโดยตำรวจเพราะเป็นคอมมิวนิสต์ แม้จะไม่มีบันทึกว่าเขาถูกทรมานในคุกเปร็ย ซอ (Prey Sar) แต่ชื่อเสียงของตำรวจกัมพูชาสมัยนั้นเป็นที่เลื่องลือกันว่าทรมานและทำร้ายนักโทษการเมืองเป็นกิจวัตร
วิธีทรมานส่วนใหญ่มีมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรนครวัดแล้ว มีทั้งบีบกะโหลกให้ลูกตา
หลุดออก ใช้ไม้แข็งตีให้ฟันหัก ตัดมือตัดเท้า คังไม่เคยปริปากบอกเล่าชีวิตในคุกให้ใครฟัง แต่วิธีการที่เขาใช้ในคุกตวลสเล็งภายหลังบ่งชี้ว่าเขาคงเรียนรู้บทลงโทษ
สารพัดมาจากคุกเปร็ย ซอ นั่นเอง และน่าจะถูกทรมานด้วย
6
3.เปลี่ยนชื่อเป็น ‘สหายดุจ’ ดาวรุ่งแห่งกองทัพเขมรแดง
ในปี 1970 ประธานาธิบดีล็อน น็อล ประกาศนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง คังถูก
ปล่อยตัวและหนีเข้าป่าไปร่วมกับกลุ่มเขมรแดง ระหว่างทำสงครามกองโจรกับกลุ่ม
เขมรแดง คังเปลี่ยนจากชื่อจริงมาใช้ชื่อแทนว่า ‘สหายดุจ’ (Comrade Duch)
ในสงครามกองโจร ฝ่ายเขมรแดงเพลี่ยงพล้ำให้กองทัพรัฐบาลล็อน น็อล ที่ได้รับ
การสนับสนุนจากสหรัฐฯ
ปี 1973 มีการประชุมลับในเพนตากอน เกิดข้อสรุปว่าสหรัฐจะทิ้งระเบิดขนานใหญ่
เพื่อทำลายจุดยุทธศาสตร์และเส้นทางเสบียงของเวียดนามในกัมพูชาตะวันออกรวมถึงฐานที่มั่นกลุ่มเขมรแดงที่กระจายกันตามจุดต่างๆ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน
และเฮนรี คิสซิงเจอร์ อนุมัติแผนการนี้แม้กัมพูชาถือเป็นประเทศที่เป็นกลางก็ตาม
4
การทิ้งระเบิดปูพรมถึง 2 ล้านลูกของสหรัฐฯทำลายล้างท้องทุ่งและหมู่บ้านมากมายจนราบเป็นหน้ากลอง คร่าชีวิตชาวกัมพูชาไปนับแสน ชาวบ้านที่โกรธแค้นสหรัฐฯจึงเข้ากับกลุ่มเขมรแดง และถูกปลูกฝังให้เกลียดชังชาวต่างชาติและชาวเมืองด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งสองกลุ่มร่วมมือกันเพื่อทำลายชาวชนบท ในขณะที่รัฐบาลล็อน น็อล กลับอ่อนแอลงเรื่อยๆ
2
เมื่อปี 1975 รัฐบาลล็อน น็อล พ่ายแพ้ กรุงพนมเปญถูกฝ่ายเขมรแดงยึดได้
พวกเขมรแดงยึดกรุงพนมเปญได้และกวาดต้อนชาวเมืองออกไปทำกสิกรรมใน
ชนบท ยกเลิกเงินตรา ชายหญิงถูกจับแยกจากกัน ผู้หญิงถูกบังคับให้ตัดผมทรง
เดียวกันหมด ประชาชนถูกห้ามติดต่อกับโลกภายนอกยกเว้นจีน
1
4.เจ้าของฉายา'เพชฌฆาตแห่งคุกตวลเสลง'
กัมพูชาในสายตาของพล พตจะเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ที่หัวรุนแรงและชาตินิยมที่
สุด ผู้คนจากระบบเก่าต้องถูกกวาดล้างในเรือนจำที่มีเครือข่ายทั้งประเทศ
มีศูนย์บัญชาการใหญ่คือ S-21 หรือ คุกตวลเสลง (Tuol Sleng)
ที่มีสหายดุจเป็นหัวหน้าควบคุม
ที่นี่ดุจใช้อำนาจของตนสั่งฆ่าผู้คนเป็นผักปลา เขามองว่าการจะสร้างกัมพูชาใหม่
ต้องกำจัดอดีตทิ้ง ผู้คนที่ไม่มองอนาคตไปทางเดียวกับเขมรแดงคือกลุ่มคนที่ฉุดรั้ง
ชาติ มีเพียงความตายเท่านั้นที่จะชำระชาติให้บริสุทธิ์ นักโทษส่วนใหญ่คือกลุ่ม
ปัญญาชน คนเชื้อสายเวียดนาม จีน ชาวจาม ชาวเมือง ผู้ถูกสงสัยว่าต่อต้าน
เขมรแดง หรือสงสัยว่าเป็นสายให้ CIA เป็นสายให้เวียดนาม หรือแม้แต่ KGB
นักโทษถูกทรมานสารพัดวิธีจนกว่าจะสารภาพ หากสารภาพ
แล้วก็จะถูกสำเร็จโทษเร็วขึ้น
2
ภายใต้กำปั้นเหล็กของดุจ นักโทษถูกสังหารไปราว 15000 คน แม้แต่ครูเก กิม ฮวดที่เคยช่วยเหลือดุจมาตลอดและปลูกฝังแนวคิดให้เขาก็ยังถูกสั่งฆ่าในคุกนรกแห่งนี้ พวกเขมรแดงถ่ายรูปนักโทษและผู้คุมทุกคนไว้ หลักฐานเหล่านี้เองจะย้อนรอยกลับ
มาเล่นงานเขมรแดงภายหลัง
5.จุดจบของอาชญากรสงคราม
1
ปี 1979 หลังกองทัพเวียดนามรุกคืบเข้าไปกัมพูชาด้วยการสนับสนุนของโซเวียต
เขมรแดงต้านทานเวียดนามไม่ไหวและถอยร่นไปถึงชายแดนไทย กองทัพเวียดนามพบกับคุกนรกและถ่ายภาพน่าสยองของซากศพถูกทิ้งให้เน่าเปื่อยและกองกระดูก
มนุษย์มหาศาล กองทัพเวียดนามเก็บรวบรวมหลักฐานการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพื่อ
เตรียมเอาผิดกับผู้นำเขมรแดง คุกตวลสเล็งถูกเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์
1
ชาวกัมพูชาและเขมรแดงรวม 6 หมื่นคนต่างลี้ภัยไปชายแดนไทย รวมถึงดุจ
จีนเสนอให้ไทยเปิดรับผู้ลี้ภัยพร้อมเขมรแดงแลกกับการเลิกหนุนหลังคอมมิวนิสต์
ไทย มีการจัดตั้งศูนย์ผู้อพยพ ดุจถือโอกาสผันตัวเป็นคนผลิตตำราเรียนและสอน
หนังสือเด็กในค่ายผู้ลี้ภัย ได้เรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เขาได้ชื่อว่าเป็นครูที่
ยอดเยี่ยม แต่บทจะโหดกลับมีอารมณ์ร้ายเหลือเชื่อ ในปี 1991 เขาย้ายกลับไป
หมู่บ้านในกัมพูชาใกล้ชายแดนไทยพร้อมกับครอบครัว หลังจากนั้นเขาเปลี่ยนไป
นับถือศาสนาคริสต์ ช่วงนี้ผู้คนเริ่มคลางแคลงถึงอดีตอันมืดมนของดุจ
1
สถานการณ์ความวุ่นวายจากการตั้งรัฐบาลใหม่และความขัดแย้งภายในกลุ่มเขมร
แดงในปี 1997 บีบให้ดุจต้องหนีไปไทยอีกครั้ง คราวนี้เขาได้งานในคณะกรรมการ
ผู้ลี้ภัยอเมริกา (American Refugee Committee) และกลับไปกัมพูชาอีกครั้งในปีต่อมา คราวนี้ผู้คนเริ่มรู้กันแล้วว่าเขาคืออดีตมือสังหารโหดแห่งคุกตวลสเล็ง นักข่าวต่างตามหาตัวเขาเพื่อสัมภาษณ์จนกลายเป็นเรื่องดัง
1
ปี 2007 เขาถูกนำตัวขึ้นศาลกัมพูชาข้อหาอาชญากรรมสงครามและอาชญากรรม
ต่อมนุษยชาติ เขาถูกกล่าวหาว่านำนักโทษ 15,000 ชีวิตไปสู่ความตาย แต่ดุจกล่าวว่าเขามีส่วนรู้เห็นกับผู้เสียชีวิต 12,000 คนและการฆ่าเกิดจากฝีมือของกลุ่มผู้คุม
เขมรแดง ในปี 2012 หลังพิจารณาคดีอยู่หลายปี ศาลสูงสหประชาชาติได้ตัดสิน
ให้จำคุกตลอดชีวิตและปฏิเสธยื่นอุทธรณ์ทุกกรณี มีผู้กล่าวว่าหากโทษสูงสุด
คือประหารชีวิต เขาคงถูกประหารไปแล้ว
2
ปัจจุบันดุจยังใช้ชีวิตวัยชราในคุกที่กัมพูชา ล่าสุดเมื่อปลายปี 2018 เขาถูกส่งไป
ห้องฉุกเฉินด้วยโรคทางเดินหายใจ แต่ยังไม่เสียชีวิต
โฆษณา