8 ก.ย. 2020 เวลา 09:17 • ประวัติศาสตร์
พระประวัติ
พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดชฯ มีพระนามเดิมว่า "เจ้าสุริยะ ณ น่าน" ประสูติเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2374 ทรงเป็นราชบุตรของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าหลวงเมืองน่านกับแม่เจ้าสุนันทา ในปีพ.ศ. 2398 และทรงได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น พระยารา
วงษ์ ต่อมา พ.ศ. 2431 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ว่าที่เจ้าอุปราช
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูหัว โปรดเกล้าฯให้สถาปนาเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เลื่อนพระฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น พระเจ้านครน่าน มีพระนามปรากฏตามสุพรรณบัฎว่า "พระเจ้าสุริยพงษ์ผลิตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรมหาราชวงศาธิบดี สุริตจารีราชนุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตรสถิตย์ ณ นันทราชวงษ์" นับเป็นพระเจ้านครน่านองค์แรกและองค์เดียวในประวัติศาสตร์น่าน
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ถึงแก่พิราลัยด้วยพระโรคชรา ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 สิริรวมชนมายุได้ 87 ปี
พระกรณียกิจ
ด้านการปกครอง
• กวาดต้อนและชักชวนให้ชุมชนไทลื้อในเมืองต่างๆ ของสิบสองปันนา ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่ในจังหวัดน่าน
• ยกเลิกอำนาจโทษประหารทางอาญา
• จัดวางผังเมือง ขยายถนนให้กว้างขวาง สะดวกแก่การสัญจรไปมา
ด้านการทหาร
• ทรงนุบำรุงกิจการทหาร โดยการรวบรวมกำลังพลเข้าสังกัดมูลนาย ฝึกกำลังพลการรบ จัดตั้งยุ้งฉาง สะสมเสบียงอาหาร กระสุนดินดำ
• โดยเมื่อปี พ.ศ. 2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรียกทัพไปปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง ซึ่งพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เมื่อครั้งดำรง ตำแหน่งที่เจ้าราชวงศ์นครน่าน ได้ทรงนำกำลังไปสมทบกับทัพหลวง
• ครั้นปี พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวที่เมืองแพร่ โดยพวกขบถจะยกทัพมายึดนครน่าน พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้ทรงยกกำลังทหารไปขัดตาทัพต่อสู้กับขบถเงี้ยว และได้ร่วมกับกองทัพหลวงตามตีจนได้รับชัยชนะ
ด้านการศึกษา
• ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภาษาไทยเป็นแห่งแรกในนครน่าน ให้ชื่อว่าโรงเรียนสุริยานุเคราะห์ ปฐมของโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารในปัจจุบัน
ด้านศาสนา
• ทรงสละทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ บูรณปฏิสังขรณ์วัดและบูชนียวัตถุเป็นอันมาก และเป็นองค์ประธานในการจัดสร้างคัมภีร์ใบลาน จารึกพระธรรมคำสั่งสอนไว้เป็นจำนวนมาก โปรดให้สร้างหอพระไตรปิฏกหลังใหญ่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร บูรณะวัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็นต้น
ชายา โอรส และธิดา
พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ มีชายา 7 คน ได้แก่
1.แม่เจ้ายอดหล้า
มีโอรสธิดารวม 13 คน ได้แก่
• เจ้าคำบุ
• เจ้าคำเครื่อง
• เจ้ายศ
• เจ้านางอัมรา
• เจ้าน้อยรัตน ได้เป็นเจ้าราชวงษ์
• เจ้าน้อยบริยศ
• เจ้านางบัวเขียว ภายหลังได้สมรสกับเจ้าบุรีรัตน (บรม)
• อำมาตย์ตรีเจ้าบุรีรัตน (สุทธิสาร)
• เจ้าราชภาติกวงษ์ (จันทวงษ์)
• เจ้าหนานบุญรังษี
• เจ้าราชภาคินัย (น้อยมหาวงษ์)
• เจ้าราชดนัย (น้อยยอดฟ้า)
• เจ้านางสมุท
2.แม่เจ้าคำปลิว
มีโอรสธิดา 4 คน ปัจจุบันได้ถึงแก่กรรมแล้วทั้งหมด
3.แม่เจ้าจอมแฟง
มีโอรสธิดารวม 3 คน ได้แก่
• แม่เจ้าบัวแว่น ภายหลังได้สมรสกับเจ้าราชบุตร (น้อยอนุรุท)
• เจ้าแหว
• เจ้าน้อยครุธ
4.แม่เจ้าคำเกี้ยว
มีธิดา 2 คน ได้แก่
• เจ้านางเกี๋ยงคำ
• เจ้านางคำอ่าง
5.แม่เจ้ายอดหล้า
มีโอรสธิดารวม 7 คน ได้แก่
• เจ้านางเทพมาลา
• เจ้านางเทพเกสร
• เจ้าน้อยอินแสงสี
• เจ้านางจันทวดี
• เจ้านางศรีสุภา
• เจ้านางดวงมาลา
• เจ้านางประภาวดี
6.หม่อมศรีคำ
มีโอรสธิดารวม 7 คน ถึงแก่กรรมไปแต่ยังเล็ก 5 คน ที่เหลืออยู่และปรากฏนามได้แก่
• เจ้านางแว่นแก้ว
• เจ้านางศรีพรหมา ต่อมาได้เสกสมรสกับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร
7.หม่อมบัว
มีโอรสธิดา 7 คน ถึงแก่กรรมไป 4 โดยที่ยังเหลืออยู่ 3 คนที่ปรากฏนามได้แก่
• เจ้านางต่อมแก้ว
• เจ้าก่ำ
• เจ้านางเกียรทอง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• พ.ศ. 2446 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า (ป.จ.)
• เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นมหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
• พ.ศ. 2444 - จุลวราภรณ์
• เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ)
ราชสกุล ณ น่าน
ณ น่าน สืบสายจากครั้งสมัยราชสกุลเจ้าพญาหลวงติ๋นต้นวงศ์เจ้านครน่าน พระเจ้ากรุงอังวะได้โปรดฯให้ เพื่อขอเจ้าพญาติ๋นหลวง เมืองเชียงใหม่ มาเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน เจ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงค์ ครองเมืองน่านระหว่าง พ.ศ. ๒๒๖๙–๒๒๙๔ นับเป็นบรรพบุรุษราชสกุล " ณ น่าน " ในปัจจุบัน
ต่อมานครน่าน ได้เป็นประเทศราชรวมอยู่ในราชอาณาจักรสยาม โดยในช่วง พ.ศ. ๒๒๙๗–๒๓๒๗ หัวเมืองล้านนาต่าง ๆ พยายามแข็งข้อต่อพม่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสามารถโจมตีขับไล่พม่าออกจากเชียงใหม่เป็นผลสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗ แต่นครน่านยังตกอยู่ในฝ่ายพม่า เจ้าน้อยวิฑูร เจ้านครน่านถูกจับและถูกคุมตัวส่งไปยังกรุงธนบุรี ( พ.ศ. ๒๓๒๑ ) เมืองน่านจึงขาดผู้นำ พม่าได้ยกทัพกวาดต้อนผู้คนไปอยู่ที่เชียงแสน ทำให้เมืองน่านถูกทิ้งร้างว่างเปล่า จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงแต่งตั้งให้เจ้ามงคลวรยศ หลานเจ้าพญาหลวงติ๋นมหาวงศ์ มาปกครองนครน่านที่รกร้างว่างเปล่า และในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ กองกำลังพื้นเมืองล้านนาโดยการสนับสนุนของกองทัพสยาม ขับไล่พม่าออกไปได้สำเร็จ นครน่านจึงรวมเข้าอยู่ในราชอาณาจักรสยาม และเจ้ามงคลวรยศได้ยกนครน่านให้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญปกครองสืบไป
เมื่อนครน่านขึ้นกับกรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ได้ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ กรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมา จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญเป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน และแต่งตั้งเจ้าสุมนเทวราช ขึ้นเป็นเจ้าพระยาหอหน้า พ.ศ. ๒๓๔๓ นครน่านจึงมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราชของกรุงเทพฯ ตั้งแต่นั้นมา เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญมีความสามารถในการปกครองและบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง นับแต่เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ ขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมากรุงรัตนโกสินทร์ เมืองน่านมีฐานะเป็นหัวเมืองประเทศราช เจ้าผู้ครองนครมีอำนาจสิทธิเด็ดขาด ในการปกครองพลเมือง การขึ้นครองนครแม้จะต้องได้รับความเห็นชอบจากกรุงรัตนโกสินทร์ แต่โดยทางปฏิบัติแล้ว พระมหากษัตริย์กรุงรัตนโกสินทร์ทรงให้เจ้านายและขุนนางผู้ใหญ่ในเมืองน่านเลือกตัวเจ้านายผู้มีอาวุโสเป็นเจ้าผู้ครองนครกันเอง มิได้ทรงยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายใน
เจ้าผู้ครองนครน่านในชั้นหลังทุกพระองค์ต่างจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ได้ช่วยราชการบ้านเมืองสำคัญ ๆ หลายครั้งหลายคราวด้วยกัน เช่น ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงแสนในรัชกาลที่ ๑ ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ ๓ ช่วยราชการสงครามเมืองเชียงตุง ในรัชกาลที่ ๔ และ ๕ เป็นต้น
สมัยเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนครน่าน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแก้ไขวิธีการปกครองแผ่นดินขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ โดยแบ่งการปกครองหัวเมืองออกเป็นมณฑลเทศาภิบาล ได้ทรงส่งข้าราชการผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยจากกรุงเทพ ฯ เป็นผู้แทนต่างพระเนตร พระกรรณมากำกับดูแล การบริหารบ้านเมืองของเจ้าผู้ครองนคร เรียกชื่อตามตำแหน่งทำเนียบว่า "ข้าหลวงประจำเมือง "
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่าเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้ประกอบคุณงามความดี แก่ราชการบ้านเมือง เป็นที่รักใคร่นับถือของเจ้านายท้าวพระยาและพลเมืองโดยทั่วไป จึงมีพระบรมราชโองการให้สถาปนาเลื่อนยศฐานันดรศักดิ์ขึ้นเป็น " พระเจ้านครน่าน" มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏ ว่า " พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชกุลเชษฐ มหันตชัยนันทบุรีมหาราชวงศาธิบดี ฯ "
เมื่อพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช ถึงแก่พิราลัย เจ้ามหาพรหมสุรธาดา (เจ้าอุปราช) ได้ขึ้นครองเมืองน่าน ในสมัยนี้อำนาจของเจ้าผู้ครองนครลดน้อยลงทางกรุงเทพ ฯ ได้จัดส่งข้าราชการ เช่น ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด คลังจังหวัด และสรรพากรจังหวัด ฯลฯ มาประจำหน่วยงานเรียกกันว่า "เค้าสนามหลวง" ส่วนตัวเจ้าผู้ครองนครได้กำหนดรายได้เป็นอัตราเงินเดือน ส่วยสาอากรต่าง ๆ ต้องเก็บเข้าท้องพระคลังทั้งสิ้น เมื่อเจ้ามหาพรหมสุรธาดาถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครถูกยุบเลิกแต่นั้นมา
นามสกุลพระราชทานให้แก่ผู้สืบสายสกุล
ณ น่าน พระราชทานแก่พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช (สุริย) พระเจ้าผู้ครองนครน่าน ได้รับพระราชทานเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 นามสกุลของเจ้าเมืองน่านมีทั้งหมดดังนี้
พระราชทาน พ.ศ. 2457
เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2457 จำนวน 4 นามสกุล
1. 1162 ณ น่าน พระราชทานแก่ทายาท พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช
2. 1163 พรหมวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าไชยสงคราม (มธุรศ)
3. 1164 มหาวงศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าวรญาติ (เทพรศ)
4. 1165 มหายศนันท์ พระราชทานแก่เจ้าอุตรการโกศล (มหาไชย)
อื่นๆ
1. จิตรวงศนันท์ สายทายาทเจ้าหลวงอชิตวงศ์
2. วรยศ สายทายาทเจ้าหลวงมงคลวรยศ
3. สมณะช้างเผือก สายทายาทเจ้าหลวงสุมนเทวราช ผู้นำช้างเผือกไปถวายรัชกาลที่ 2
4. ไชยวงศ์หวั่นท๊อก สายทายาทเจ้าหลวงอริยวงศ์หวั่นท๊อก
สถานที่อันเนื่องมาจากพระนาม
• ค่ายสุริยพงษ์
• โรงพยาบาลค่ายสุริยพงษ์
อ้างอิง

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา