11 ก.ย. 2020 เวลา 04:55 • การศึกษา
ขั้นตอนที่หนึ่ง
คิดเรื่องที่มีโอกาสจะเป็นไปได้ว่าจะเป็นนิยายที่น่าสนใจ
คอนเซปต์นิยายของคุณน่าสนใจหรือเปล่า
*ใหญ่พอที่จะเขียนได้ถึง 75,000 ถึง 100,000 คำ
*มีพลังพอที่จะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้ตลอดรอดฝั่ง
เรื่องของคุณควรจะมีความขัดแย้งชัดเจนซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้พลอตของคุณเข้มแข็งขึ้น
ใช้เวลาในการที่จะคิดไอเดียของเนื้อเรื่อง และเลือกเรื่องที่เราอยากจะทำ เรื่องที่เรามีความสนใจมากเป็นพิเศษ
มันควรจะเป็นเรื่องที่อยู่ในหัวเราที่ไม่สามารถสลัดออกไปได้ที่สามารถดูดเราเข้าหาคีย์บอร์ดได้ทุกวันและให้แรงบันดาลใจในการเขียนนิยายที่เราฝันถึงมาตลอด
ขั้นตอนสอง
ตัดสินใจว่าคุณเป็นพวกวางแผนก่อนหรือว่าด้น
ถ้าคุณเป็นพวกวางแผนก่อนคุณอาจจะชอบในการที่จะคิดหรือว่าวางแผนทุกอย่างก่อนที่คุณจะเริ่มต้นเขียนนิยายของคุณ คุณต้องการจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับคาแรกเตอร์ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง
ถ้าคุณเป็นพวกต้น คุณชอบด้นสดเสมอ ควรเริ่มจากไอเดียเล็กๆแล้วก็ขยายเป็นเรื่อง ในระหว่างนั้นก็คือการค้นพบ ไปพร้อมพร้อมกับตัวละคร
อย่างที่สตีเฟน คิง บอก นำคาแรกเตอร์ไปอยู่ในสถานการณ์ที่มีความยากและดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับคาแรกเตอร์
และก็มีหลายหลายคนที่เป็นประเภทผสมระหว่างต้นกับวางแผน ชอบในการวางแผน outline ก่อนที่จะเขียนในขณะเดียวกันก็สนุกกับการด้นสดระหว่างทาง แค่ทำในสิ่งที่เราสนุกและวิธีการที่เราสนุก ที่จะทำก็พอค่ะ
ขั้นตอนที่สาม
เราจะต้องรู้จักคาแรกเตอร์ของตัวเองดีที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวละครหลัก ตัวละครหลักจะต้องมี character arc หรือจุดเปลี่ยนของคาแรกเตอร์. จุดที่ทำให้คาแรกเตอร์นั้นเติบโตขึ้นเป็นคนดีขึ้นอย่างแตกต่างจากตอนแรกและสมบูรณ์ในตอนจบในที่สุด
นั่นหมายความว่าเขา(ตัวละครหลักจะเป็นชายหรือหญิงก็ได้) จะต้องมีองค์ประกอบของความเป็นฮีโร่ที่แสดงให้เห็นในไคลแม็คของเรื่อง แน่นอนว่าเขาจะต้องมีจุดอ่อนแต่ว่าอาจจะเป็นจุดอ่อนที่ยอมรับได้
และแน่นอนว่าก็จะต้องมีตัวร้ายหรือว่าฝ่ายตรงข้าม ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้กับตัวเอก อย่าทำให้ตัวร้ายหรือฝ่ายตรงข้ามร้ายเพราะว่าเป็นตัวร้าย แต่ทำให้ร้ายอย่างมีเหตุผล มีที่มาที่ไป
คุณต้องมีเหตุผลว่าทำไมเค้าถึงทำสิ่งที่ทำอยู่ ทำให้เขาเป็นศัตรูที่สมน้ำสมเนื้อ อยู่ในความเป็นจริงและจดจำได้
ในคาแรกเตอร์แต่ละตัว ถามตัวเองว่า
เค้าต้องการอะไร
อะไรคือสิ่งที่ทำให้เขาไม่ได้มันมา
เค้าทำอย่างไรกับเรื่องนี้
อะไรคือบทบาทของเขาในเนื้อเรื่องหลัก
ใช้ชื่อที่ดูแตกต่างในแต่ละคาแรกเตอร์. และทำให้ดูแตกต่างจากคาแรกเตอร์ตัวอื่นในเรื่องเช่นกัน เพื่อที่ผู้อ่านจะได้ไม่สับสน
จำกัดจำนวนคาแรกเตอร์ในการที่เราจะแนะนำในช่วงแรกถ้าผู้อ่านของเราต้องการที่จะติดตามเนื้อเรื่องของคาแรคเตอร์แต่ละตัว เราไม่ควรจะปล่อยให้ผู้อ่านรอนาน
ในการที่จะทำให้คาแรกเตอร์ของเราเป็นที่น่าสนใจ เราควรใส่ความมีชีวิตและความเป็นมนุษย์ลงไปด้วย ถ้าคาแรกเตอร์ของคุณไม่ใช่ของจริงเค้าอาจจะขาดองค์ประกอบของมนุษย์จริงๆไป
แน่นอนว่าคาแรกเตอร์ของเรามักจะประสบกับปัญหาภายนอกแต่มันเป็นสิ่งที่อยู่ภายในที่ทำให้เขาโลดแล่นอยู่ในกระดาษ
ไม่ว่าจะเป็นความเป็นฮีโร่. ความมีศีลธรรมและความเข้มแข็งทางด้านกาย ตัวเอกของคุณมักจะเจอความกลัวความรู้สึกไม่ปลอดภัยและความอ่อนแอที่อยู่ภายใน
จะทำให้ผู้อ่านอยากรู้ว่าเค้าจะพัฒนาไปในด้านไหน
ให้จินตนาการความเข้มแข็งความอ่อนแอความไม่ปลอดภัยของคาแรกเตอร์ก่อนที่คุณจะเริ่มเขียนแล้วคุณจะพบว่างานของคุณนั้นง่ายขึ้น
ขั้นตอนที่สี่
ขยายไอเดียเพื่อเป็น Plot
คุณเชื่อไหมว่านักเขียนนิยายชื่อดังหลายหลายคนไม่มีการวางพลอต เช่น สตีเฟน คิง ไม่ว่าจะ ฟังดูโอเคขนาดไหนก็ตามแต่นี่เป็นสิ่งที่เป็นข้อเสียถ้าคุณไม่วางพล็อต
คุณไม่ใช่สตีเฟน คิง
เราชอบด้น ในขณะเดียวกันก็ชอบที่จะมีโครงสร้างที่ชัดเจนก่อนที่จะเขียนลงไปเช่นกัน
เมื่อเราค้นพบศาสตร์ในการวางโครงสร้างของเนื้อเรื่องแบบคลาสสิกโดยdean koontz ชีวิตก็ง่ายขึ้นทันที
1.ทำให้ตัวเอกเจอปัญหาอย่างหนักหน่วงเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
2.ทุกอย่างที่คาแรคเตอร์ทำเพื่อที่จะแก้ปัญหากลับทำให้ทุกอย่างเลวร้ายลง
3.จนถึงจุดที่ทุกอย่างสิ้นหวัง
4.สุดท้ายแล้วทุกอย่างที่ฮีโร่หรือตัวละครหลักได้เรียนรู้จากการพยายามที่จะออกจากปัญหาเหล่านั้นทำให้เขากลายเป็นคนที่สมบูรณ์และทำให้คาแรคเตอร์อาร์คสมบูรณ์ และให้สิ่งที่เขาต้องการที่จะสำเร็จในตอนสุดท้าย
องค์ประกอบของการวางโครงเรื่อง
อาจารย์หลายหลายท่านตั้งชื่อของสิ่งนี้แตกต่างกันออกไปแต่เราจะเรียกว่าโครงสร้างของเนื้อเรื่อง
1.an opener หรือฉากเปิด
2.เหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง
3.ชุดของเหตุการณ์ที่ทำให้เนื้อเรื่องเข้มข้นขึ้น
4.ไคลแม็ค
5.บทสรุป
ไม่ว่าคุณจะวางโครงสร้างของเนื้อเรื่องยังไง. เนื้อเรื่องจะต้องน่าสนใจพอที่จะทำให้ผู้อ่านไม่วางหนังสือลงก่อน
โฆษณา