Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ทนายกอล์ฟ - Sanpob Pornwattanakij
•
ติดตาม
13 ก.ย. 2020 เวลา 15:10 • หนังสือ
“การเลือกที่จะพรากชีวิตของผู้บริสุทธิ์ 164 ชีวิต เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิตของผู้บริสุทธิ์กว่า 70,000 ชีวิต เป็นความชอบธรรมที่ยอมรับได้ตามกฎหมายหรือไม่?”
คำถามนี้ เป็นคำถามในเชิงนิติปรัชญาที่ถูกตั้งขึ้น ท้าทายสามัญสำนึกของประชาชนที่มีต่อ “ศีลธรรม” “กฎหมาย และ “ความถูกต้อง” ผ่านนวนิยายของประเทศเยอรมนี ที่ถูกประพันธ์ขึ้นในรูปแบบของบทละครเวที ชื่อ “TERROR” โดยผู้เขียนชื่อ แฟร์ดินันด์ ฟอน ชีรัค (Ferdinand von Schirach)
แฟร์ดินันด์ ฟอน ชีรัค เป็นนักกฎหมายชาวเยอรมันที่มีประสบการณ์ในการขึ้นโรงขึ้นศาล ว่าความแก้ต่างให้แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก ต่อมา เขาได้เริ่มอีกบทบาทหนึ่งในชีวิต ในการเป็นนักเขียนที่เขียนนวนิยายที่เกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม จนเป็นที่รู้จักในวงการ ผลงานของเขามีหลายเรื่องที่ถูกแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 35 ภาษา
Ferdinand von Schirach (from google)
หนังสือเรื่อง TERROR หรือที่มีแปลเป็นภาษาไทยในชื่อว่า “สะพรึง” เป็นนวนิยายที่ถูกสร้างขึ้นโดยอิงเหตุการณ์ 9/11 เหตุการณ์ก่อการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ที่ผู้ก่อการร้ายกลุ่มอัลกออิดะซ์ได้เข้าจี้เครื่องบินพาณิชย์ 4 ลำ และบังคับเครื่องบินพลีชีพพุ่งเข้าชนตึกเวิลด์เทรดเซนเตอร์ และอาคารเพนตากอน เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 เป็นเส้นเรื่องหลัก
โดยบทละครสมมติที่สถานการณ์ขึ้นในห้องพิจารณาคดีแห่งหนึ่งในประเทศเยอรมัน ที่ ลาร์ส ค็อค (Lars Koch) ทหารยศพันตรีของกองทัพอากาศ ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีอาญาข้อหาฆ่าคนจำนวน 164 ชีวิต เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2013 ที่ลาร์ส ค็อค ได้ยิงเครื่องบินโดยสารที่ถูกผู้ก่อการร้ายจี้และบนเครื่องบินดังกล่าวมีตัวประกันกว่า 164 ชีวิต อยู่บนเครื่อง ผู้ก่อการร้ายหวังบังคับเครื่องบินให้พุ่งเข้าใส่สเตเดี้ยมที่กำลังมีการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมชาติเยอรมันและทีมชาติอังกฤษ ที่มีผู้ชมอยู่ในสเตเดี้ยม 70,000 ชีวิต
นวนิยายนี้ นอกจากจะถูกแปลและตีพิมพ์ในหลายภาษาแล้ว ยังได้ถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ ชื่อ The Verdict ด้วย
The Verdict (from google)
การดำเนินเรื่อง ถูกเล่าเรื่องผ่านไดอาล็อคที่เกิดขึ้นในห้องพิจารณาคดี ที่มีผู้พิพากษาควบคุมกระบวนพิจารณา ฝ่ายอัยการโจทก์ผู้ฟ้องคดีเอาผิดผู้ต้องหา ฝ่ายทนายความจำเลยที่ปกป้องสิทธิของลูกความ พยานบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ และจำเลยที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาที่ร้ายแรงที่สุด โดยผู้ที่จะเป็นจุดตัดสินว่า จะลงโทษผู้กระทำผิด หรือปล่อยผู้บริสุทธิ์ อยู่ที่คณะลูกขุนในห้องพิจารณาคดี
Courtroom (from google)
เรื่องราวที่เล่าผ่านบทสนทนาแต่ละช่วง แต่ละตอน จะมีการสอดแทรกคำถามที่ท้าทายความเชื่อต่อกระบวนการยุติธรรมและความถูกต้องให้ได้ฉุกคิดตลอดเรื่อง โดยแฟดินันด์ ฟอน ชีรัค ผู้เขียน ได้มีการหยิบยกประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของ “รัฐบัญญัติความมั่นคงทางอากาศ ค.ศ. 2005” และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์มาใช้ในบทละคร เพื่อชี้ให้เห็นถึงความขัดแย้งในทางความคิดระหว่างรัฐสภากับศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากหลังจากที่รัฐสภาให้ความเห็นชอบรัฐบัญญัติความมั่นคงทางอากาศ ค.ศ. 2005 แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์ได้มีคำวินิจฉัยใน ค.ศ.2006 ว่าบทบัญญัติที่ให้อำนาจกองทัพสามารถใช้อาวุธยิงเครื่องบินพาณิชย์ที่ถูกจี้และกลายเป็นเพียงเครื่องมือของผู้ก่อการการร้ายได้นั้น ขัดต่อรัฐธรรมนูญและด้วยเหตุดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะ
จุดเด่นอีกเรื่องหนึ่งของนวยนิยายเรื่องนี้ คือ ตลอดเรื่อง ที่มีคำถามมากมายเกิดขึ้นให้ผู้อ่านได้ขบคิด ถูกตัวละครแต่ละตัวชี้นำความคิดให้คล้อยตามเหตุและผลที่ถูกหยิบยกขึ้นมา แต่ผู้เขียนกลับมิได้ตัดสินว่า บทสรุปของเรื่องนี้ จะจบในรูปแบบไหน แต่กลับทิ้งไว้ให้เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้อ่านเป็นผู้ “ตัดสิน” เอาเองว่า ลาร์ส ค็อค
...ที่เลือกปลิดชีวิตผู้บริสุทธิ์ 164 ชีวิต เพื่อรักษาไว้ซึ่ง 70,000 ชีวิต..
...ที่เลือกฆ่าคนจำนวนน้อยเพื่อรักษาชีวิตของคนหมู่มาก เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่?
และหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ระบบกฎหมาย ควรเอาผิดกับผู้กระทำหรือไม่ อย่างไร?
เลือกทำตามหลักการของกฎหมาย... แต่ก็อาจจะไม่ถูกต้อง
เลือกทำตามสิ่งที่ถูกต้อง... แม้ว่ามันอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไหน ดีกว่ากัน?
เป็นหนังสือที่ทำให้เราได้ฉุกคิดถึงหลาย ๆ อย่างที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศพอดีเลย
หากท่านใด ได้มีโอกาสอ่านนวนิยายเล่มนี้ มาแลกเปลี่ยนมุมมองกันนะครับ
บันทึก
4
6
4
6
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย