13 ก.ย. 2020 เวลา 15:30 • ประวัติศาสตร์
"วันนี้ในอดีต" วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2352 (ค.ศ. 1809) - เจ้าฟ้าเหม็น โอรสพระเจ้าตาก ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
#หม่อมเหม็น #วันนี้ในอดีต
เจ้าฟ้าเหม็น ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ที่วัดปทุมคงคา
สำหรับพระประวัติ เจ้าฟ้าเหม็น ผู้เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีหรือพระเจ้าตากสินมหาราช ประสูติแต่เจ้าครอกฉิมใหญ่ (ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฉิมใหญ่) พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือรัชกาลที่ 1 ราชวงศ์จักรี
หม่อมเหม็น ประสูติเมื่อวันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 11 จ.ศ. 1141 หรือวันที่ 17 ก.ย. พ.ศ. 2322 ได้รับพระนามเมื่อประสูติว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์" แต่คนทั่วไปเรียกว่า "เจ้าฟ้าเหม็น" โดยมีพระประวัติที่ปรากฏใน "จดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี" ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวดังกล่าวไว้อย่างน่าพิศวง ว่า
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก
“เจ้าฟ้ากษัตริย์ศึกเข้าเมืองได้ ณ วันจันทร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 10 เจ้าเมืองหนี ได้พระแก้วพระบาง พระไอยกาเข้าเมืองได้ 3 วัน เจ้าลูกทรงครรภ์ประสูตร์เจ้า ณ วันศุกร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 10 ประสูตร์เปนพระราชกุมาร ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย แมงมุมทั้งไข่จิ้งจกตกพร้อมกัน แมงมุมอนิจกรรม จิ้งจกไปได้ 12 วัน เจ้าแม่สิ้นพระชนม์ ส่วนเจ้าลูกให้พระพี่นางเธอเอาไปเลี้ยง ให้นามเจ้าสุพันทวงษ์”
อธิบายความคือ มีนิมิตดีที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทำศึกตีเวียงจันทน์แตกได้พระแก้วมรกตและพระบางมาสู่พระนคร ส่วนลางร้ายคือแมงมุมและจิ้งจกตกลงมาพร้อมกัน หลังจากนั้นสิบสองวันเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ก็สิ้นพระชนม์ แต่ขณะเดียวกันการ “ประโคมแตรสังข์ลั่นฆ้องไชย” เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพระราชโอรสที่ประสูติเป็นเจ้าฟ้าทั้งๆ ที่ผู้ให้กำเนิดเป็นเพียงเจ้าจอมมารดาเท่านั้น ซึ่งในกรณีดังกล่าวจัดว่าเป็นเจ้าฟ้าตั้ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
หลังการสิ้นชีพของมารดาเจ้าฟ้าเหม็นก็ตกอยู่ภายใต้การดูแลของยายสา (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็น กรมพระเทพสุดาวดี) และมีพระพี่เลี้ยงชื่อหม่อมบุญศรี (เชื้อพระวงศ์กรุงศรีอยุธยาเก่า)
ต่อมาอีก 3 ปี ก็กำพร้าบิดา เมื่อพระราชบิดาคือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงถูก “เจ้าคุณตา” สำเร็จโทษ แต่ด้วยทรงอาลัยในเจ้าฟ้าเหม็นจึงทรงรอดพ้นจากการประหาร และด้วยเพราะทรงเป็นหลานคนโตของเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ) พระราชทานนามใหม่เป็น "เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์" คนทั่วไปเรียกว่าเจ้าฟ้าอภัยทศ
แต่เนื่องจากพระนามพ้องกับเจ้าฟ้าอภัยทศ แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ พ้องกับเจ้าฟ้าอภัย ในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ซึ่งได้รับพระราชอาญาสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ ในช่วงผลัดแผ่นดิน ทรงสดับรับสั่งว่า "ไม่เป็นมงคล" โปรดให้เปลี่ยนเป็นเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์
กรมขุนกษัตรานุชิต
ต่อมาปี พ.ศ. 2349 เป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ครั้งทรงเจริญพระชันษา จึงโปรดเกล้าพระราชทานวังถนนหน้าพระลาน ด้านตะวันตก ซึ่งเรียกว่า “วังท่าพระ”
อย่างไรก็ดี แต่แล้วในปี พ.ศ. 2352 หลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ เสด็จสวรรคตได้เพียง 3 วัน เกิดการกล่าวโทษว่าพระองค์คบคิดกับขุนนางจำนวนหนึ่งว่าคิดแย่งชิงราชสมบัติ จนเกิดคดีเป็นกบฏ
วัดปทุมคงคา
หลังจากไต่สวนได้ความเป็นจริง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงโปรดให้ชำระโทษถอดพระยศ ลงพระราชอาญา ให้สำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ที่วัดปทุมคงคา เมื่อวันพุธ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 10 จ.ศ. 1171 หรือวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2352
พร้อมพระอนุชาต่างมารดา คือพระองค์เจ้าชายอรนิกา และพระขนิษฐา พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ซึ่งถูกข้อหาสมรู้ร่วมคิด ผู้ร่วมสมรู้ร่วมคิดอื่นได้ถูกประหารชีวิตที่สำเหร่ รวมทั้งพระโอรสทั้งหมดในเจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตถูกสำเร็จโทษด้วยวิธีการถ่วงน้ำที่ปากอ่าว
การสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์
เว้นแต่พระธิดาที่ยังเหลืออยู่ ก็ถูกถอดให้มีพระยศเป็น คุณ หรือ หม่อม เช่น หม่อมเจ้าตลับ และ หม่อมเจ้าหอ
ทั้งนี้ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ผู้สืบเชื้อสายของหม่อมเหม็นได้รับพระราชทานนามสกุลว่า “อภัยกุล” เป็นนามสุกลพระราชทานลำดับที่ 3941 เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า Abhayakul
ขอบคุณข้อมูลจากวิกิพีเดีย
โฆษณา