พูมาพันกู เป็นอารยธรรมโบราณที่สร้างความฉงนให้นักโบราณคดีมากที่สุด เพราะแทบจะหาคำตอบอะไรไม่ได้ซักอย่าง ขนาดที่มหาพีระมิดแห่งกิซา เราเองยังพอจะบอกได้ว่าสร้างมาเพื่ออะไร สร้างอย่างไร ฯลฯ
ถ้าลองมองดูการแกะสลักลวดลายเข้าไปในหินแต่ละก้อน จะเห็นว่าทำได้เนียนเหมือนมีแม่พิมพ์ออกมาจากบล็อคเดียวกัน ดูดีเกินกว่าจะใช่การแกะสลักทั่วไป
หินส่วนใหญ่ถูกตัดออกมาจากเหมืองที่อยู่ห่างจากวิหารไปราว 60 ไมล์ เทียบเป็นกิโลเมตรจะเท่ากับ 96 กิโลเมตร ซึ่งยังไม่มีใครรู้ว่าขนกันมาด้วยวิธีไหน
พูมาพันกู นั้นอยู่บนพื้นที่สูง 12,800 ฟุต (3.9 กิโลเมตร) ไม่มีต้นไม้ใหญ่ในแถบนั้นที่จะถูกตัดเพื่อเอามาทำล้อเลื่อนในการขนย้ายก้อนหินได้เลย
นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เมืองโบราณ เทียฮัวนาโค (Tiahuanaco) ที่อยู่ห่างออกไปจากพูมาพันกูไม่ไกลนักน่าจะเป็นศูนย์กลางของอารยธรรมในแถบนี้ มีประชากรราว 40,000 คน
จากการขุดสำรวจโครงกระดูกของชาวเทียฮัวนาโค พบว่าสภาพกระโหลกนั้นมีหลายรูปแบบ ที่มาจากคนหลากหลายเชื้อชาติมารวมกัน ทั้งกะโหลกที่มีผ้าโพกหัว กะโหลกแบบที่มีความยาวมากกว่าปกติ แบบที่มีโครงจมูกกว้าง แบบที่มีจมูกบาง แบบที่มีปากหนา ฯลฯ
วัตถุโบราณอีกชนิดที่พบในเทียฮัวนาโค และพูมาพันกู ก็คือชามโบราณ ‘เฟินเต แมกนา’ (Fuente Magna) ที่มีตัวอักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ถูกใช้มาตั้งแต่สมัยเมโสโปเตเมีย ในยุคหลายพันปีก่อนคริสตกาล
พูมาพันกู เป็นหนึ่งใน ‘สิ่งก่อสร้างจากหิน’ Megalith ที่ใหญ่ที่สุดในโลก (Megalith เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างด้วยก้อนหินขนาดใหญ่ เช่น สโตนเฮนจ์ ประเทศอังกฤษ, โมอาย เกาะอีสเตอร์ , หรือ นาบตา พลายา อียิปต์ เป็นต้น