14 ก.ย. 2020 เวลา 13:32 • ความคิดเห็น
ส่วนหนึ่งของการบูลลี่ คือพฤติกรรมลอกเลียนแบบ
เป็นประเด็นมาสักพัก เรื่องของภาพพจน์ดาราผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งก่อนหน้านี้ลุคดูเรียบร้อย น่ารัก และนั้นเป็นที่ชื่นชอบของใครหลายคน และทำให้เราให้คำจำกัดความว่าเขาต้องเป็นแบบนี้
ประเด็นมีมาตั้งแต่ช่วงโควิด ดาราหลายคนก็ทำคลิปเต้นลง tiktok แน่นอนหนึ่งในนั้นก็มี แต้ว ที่ใส่ชุดเซ็กซี่ๆหน่อย ก็เกิดประเด็นที่ว่าไม่เหมาะสม แฟนคลับบางส่วนไม่ชอบ
แต่กระแสแอนตี้ไม่ได้จบแค่นั้น เมื่อแต้ว ประกาศเปิดตัวแฟนใหม่ และควงคู่กันไปเที่ยวทะเล ถ่ายรูปคู่ชุดว่ายน้ำ ยิ่งตอกย้ำลุคที่ดูเซ็กซี่ ที่เป็นกระแสให้หลายคน พากันเสนอความคิดเห็นกันไปต่างๆนาๆ
และทุกอย่างมันก็เลยจากแค่ว่า ไม่ชอบ กลายเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในทางที่เสียหาย โยงประเด็นเรื่องครอบครัว เรื่องส่วนตัวอื่นๆเข้ามา
"คำพูดฆ่าคนได้" และคำนี้ก็ยังใช้ได้จริงๆ การแสคงความคิดเห็นกลายเป็นการด่าทอ ใช้คำหยาบคาย รุกรานพื้นที่ส่วนตัว
คนที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นก็มีทุกระดับชั้น ระดับอายุ ทุกอาชีพ ทุกการศึกษา เด็ก ผู้ใหญ่ ข้าราชการ
ซึ่งถ้าคิดว่าข่าวนี้จะเงียบ แต้วจะยอมตกเป็นประเด็นให้ใครหลายคนสนุกปาก คิดผิด
กิ๊ฟมีโอกาสได้อ่านโพสท์ทนายนิด้า ซึ่งเป็นทนายที่แต้ว จ้างมาให้จัดการเรื่องคดีความเรื่องนี้
ใจความที่โพสท์คือแสดงให้เห็นว่าทนานนิด้า จริงจัง เด็ดขาดกับเรื่องนี้มาก และเอาจริง ฟ้องจริง ไม่สนว่าเป็นใคร
ประเด็นที่กิ๊ฟต้องการพูดถึงเรื่องนี้คือ การบูลลี่
สมัยนี้เรามักจะพบเห็นการบูลลี่ผ่านช่องทางสื่อโซเชียล ผ่านการใช้คำพูด ข้อความ
ไม่ว่าเราจะรับสื่อโดยรูปแบบใด เสียง หรือ การอ่าน หากข้อความหรือคำพูดนั้นมันก็สามารถสร้างพิษ บาดแผลให้เราได้จริงๆ
มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ต้องได้รับการยอมรับ เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก
คำพูดที่บอกว่า "ไม่ต้องไปสนใจคำพูดของใคร ทำเป็นเหมือนเสียงนกเสียงกา" ความจริงเราทำไม่ได้หรอก ถึงจุดๆหนึ่งเราต้องหาทางจัดการกับเรื่องนี้
โดยส่วนตัวเห็นด้วยที่แต้วลุกขึ้นมาจัดการกับเรื่องนี้ ไม่ใช่ว่าเข้าข้าง หรือเป็นแฟนคลับแต่อย่างใด
แต่การทำร้ายจิตใจลับหลังด้วยคำพูดซ้ำๆโดยที่ไม่คำนึงถึงความรู้สึกคนอื่น มันไม่สมควรเกิดขึ้น
การพิมพ์ข้อความมันง่าย แต่ความรู้สึกที่เสียไปเมื่อมันเรื้อรังมาเรื่อยๆ สภาพจิตใจที่เป็นพิษ มันไม่ได้แก้ง่ายๆ
"เราควรตระหนักสักทีว่า คำพูดที่ออกมาจากปากเรา หรือแม้ข้อความที่เราพิมพ์มาอย่างง่ายดาย มันฆ่าคนได้ มันทำร้ายใครให้ตายลงอย่างช้าๆได้เลย"
หากการบูลลี่นี้ มันเกิดขึ้นกับคนที่ไม่สามารถที่จะปกป้องตัวเองได้ คนที่ไม่ได้มีใครคอยเป็นกำลังใจ สนับสนุนอยู่ข้างๆ คนที่เขาสภาพจิตใจไม่เข้มแข็ง
การฆ่าตัวตายสามารถเกิดขึ้นได้
มันมีคนที่ฆ่าตัวเองตายเพราะทนในสังคมแห่ง การบูลลี่ที่เขาเจอไม่ไหว
การบูลลี่เป็นการใช้ความรุนแรงรูปแบบหนึ่ง โดยใช้คำพูดทำร้ายจิตใจ
ทุกวันนี้เราใช้โทรศัพท์เลี้ยงเด็ก โดยไม่รู้เลยว่าเด็กเหล่านี้เรียนรู้การใช้ความรุนแรงผ่านสื่อโดยไม่รู้ตัว?
ทุกวันนี้สื่อบางสำนักต้องการเรทติ้ง โดยคำนึงถึงความถูกต้องความเหมาะสมไว้ทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นข่าว หรือละคร?
ทุกวันนี้เด็กเรียนรู้ถูกผิดด้วยตัวเองโดยไม่ได้การอบรบสั่งสอนจากผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิดมากพอ?
ทุกวันนี้ผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างที่ดี มีศักยภาพพอที่จะให้การเลี้ยงดู ขัดเกลาความคิดเด็กให้เป็นในทางที่เหมาะสมได้
1.เราไม่ตระหนักว่าคำพูดของเรามีอิทธิพลมากแค่ไหน มันไม่ต่างกับการฆาตกรรมโดยใส่ยาพิษในอาหาร สะสมปริมาณไปเรื่อยๆ คำพูดก็เช่นกันหลายคำพูด หลายคน ถล่มไปที่คนๆเดียว
2.เรามักเจอการบูลลี่ผ่านสื่อโซเชียลเป็นส่วนใหญ่ เพราะเข้าถึงง่าย ทำง่าย เพียงแค่ปลายนิ้ว และใช้อารมณ์สร้างคำพูดออกมา
3.เรามักใช้อารมณ์ในการตอบโต้จัดการกับสถานการณ์ต่างๆ และแน่นอนมันไม่ได้ผ่านการยับยั้งโดยใช้สมองวิเคราะห์ว่ามันสมควรหรือไม่
4.เรา"เคยชิน"กับการทำร้ายคนอื่น
..เมื่อการใช้ความรุนแรงกลายเป็นพฤติกรรมลอกเลียนแบบ และกลายเป็นพฤติกรรมที่เราทำจนเคยชิน
..คำพูดฆ่าคนตาย แต่มันไม่ได้ตายเหมือนโดนกระสุนยิง ที่เมื่อออกมาจากปลายกระบอกปืน
แต่มันเหมือนการโดนวางยาพิษที่สะสมมาเรื่อยๆ เขาไม่ได้ตายตรงนั้น เขาอาจตายโดยหนึ่งในคนที่พูดทำร้ายจิตใจเขา ลืมไปแล้วด้วยซ้ำว่าเคยพูดอะไรออกมา
..
การบูลลี่ไม่ควรกลายเป็นเรื่องชินและชาในสังคม
โฆษณา