Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่ารัฐฉาน ล้านนา ล้านช้างและสยามประเทศ
•
ติดตาม
14 ก.ย. 2020 เวลา 14:08 • ประวัติศาสตร์
บึนทึกถึงเจ้านางเเว่นทิพย์ จากหนังสือ From Edinburgh to india & burma (W.G Burn Murdoch)
...............หลังจาก เจ้านางน้อยแว่นทิพย์
ต้องออกจากโรงเรียนคอนแวนต์ ที่ กะลอว์
อย่างอาลัย และ ไม่ทันได้ตั้งตัว เพราะถูกเรียกตัวจากหอเชียงตุง ให้ไปเป็นชายารอง
ของ เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวี
เวลานั้น เจ้านางแว่นทิพย์ อายุเพียง ๑๖ ปีและ กำลังตั้งหน้าตั้งตาอ่านหนังสือ
เพื่อที่จะสอบในระดับ ๗ เมื่อมี
ข่าวสารที่ไม่คาดฝัน เจ้าแว่นทิพย์เศร้าเสียใจมาก เพราะเจ้านางไม่สนใจ ที่จะแต่งงาน กับเจ้าห่มฟ้า เพราะ เจ้าห่มฟ้านั้นมีมหาเทวี และ บุตรถึงสองคน และ อายุ ก็แก่กว่าเจ้านางมาก
....เจ้าห่มฟ้า เป็น เจ้าพี่ ของเจ้านางเฮือนคำเพื่อนสนิทที่ โรงเรียนประจำของ เจ้านางแว่นทิพย์ ทั้งสองเจ้านาง เกิดในปีเดียวกัน
ดังที่จะเห็นได้จากหนังสือ เจ้าหญิงแสงจันทร์ที่เจ้านางเฮือนคำได้เขียนบรรยายถึง
อารมณ์ความรู้สึก ของเจ้านางเฮือนคำในการถูกบังคับให้แต่งงานกับเจ้าฟ้ารัฐอื่น
และ กล่าวถึง เจ้าแว่นทิพย์ ในการแต่งงานกับเจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าแสนหวีพี่ชายของเธอ
ไว้ได้อย่างน่าเห็นอกเห็นใจ
ใน ต้นปี ๑๙๓๒ เจ้านางเฮือนคำมีเพื่อนใหม่ที่กะลอ เป็นเจ้าหญิงอีกคนหนึ่งเจ้าแว่นทิพย์แห่ง เชียงตุง ย้ายมาจาก
โรงเรียน เซนต์ไมเคิล แองกลิคัล ในเมเมียว เมื่อเธอมาถึง คอนแวนต์ในกะลอ เจ้ารู้สึกผูกพันในทันที เด็กสาวจากเชียงตุง ที่หน้าตางดงาม ผมยาวสลวยรับกับไหล่ที่อ่อนช้อย อันเป็นความงดงามของเชื้อชาติไท แต่ เธอดูเหมือนตุ๊กตาจีน เธอหัวเราะบ่อย
พูดภาษาอังกฤษได้คล่อง มีชีวิตชีวาและคอที่ตั้งตรงเหมือนกับหงส์
เจ้าแว่นทิพย์แนะนำตัวเองแก่เจ้านางเฮือนคำและพี่น้องของเจ้า ว่าชื่อ โจน
บุตรสาวของผู้ครองเมืองเชียงตุง ในวันเสาร์กลุ่มเล็กๆเข้าไปในป่าไผ่ที่ร่มเย็น
บนยอดเขาที่สูงสุดของเมือง พวกเราค้นพบถ้ำ น้ำตก และ แลกเปลี่ยนความฝันในอนาคต พวกเธอสัญญากันว่าจะสอบให้ผ่าน ระดับ ๑๐
และไปพบกันอีกที่มหาวิทยาลัย
เมื่อมีข่าวมาจากหอแสนหวี
แมรี่ โจเซฟีน จะต้องกลับบ้าน
เพื่อเตรียมการสำหรับการแต่งงาน และ เจ้ากับหลุยส์ ก็จะต้องกลับบ้านเช่นกัน
มีข่าวสารที่ไม่คาดฝันสำหรับสามพี่น้อง เพื่อนที่สวยงามของพวกเรา เจ้าแว่นทิพย์ก็ถูกเรียกตัวไปหอแสนหวีเช่นกัน เพื่อที่จะไปเป็นชายารองของเจ้าห่มฟ้าพี่ชายของ เจ้านางเฮือนคำ
เจ้านางเฮือนคำสับสน
เพราะข่าวของเจ้าแว่นทิพย์ มากกว่าสับสนกับข่าวของการเป็นเจ้าสาวของเธอเองเสียอีก เจ้าแว่นทิพย์ จากเชียงตุงบอกว่า ไม่สนใจที่จะแต่งงาน กับพี่ชายของเธอ เพราะเจ้าห่มฟ้า นั้นจะมีชายา และลูกๆถึงสองคน อายุก็แก่กว่าเธอมากก็ตาม บางทีเธออาจจะรู้ว่าจะเกิดอะไรกับเธอขึ้นในอนาคตแล้ว เจ้านางเฮือนคำนั้น เมื่อมาถึงบ้าน เธอขอให้พี่ชาย ปล่อยเธอให้อยู่ในโรงเรียนให้นานพอ จนกว่าจะสอบระดับ ๗ เจ้าห่มฟ้า กลับไม่เห็นความสำคัญ ทั้งที่เจ้าเป็นนักเรียนอันดับหนึ่ง
“พี่รู้ว่าเธอสับสน ทำไมถึง ต้องยุ่งยากใจ” เขาถาม
เจ้าห่มฟ้ากล่าวว่า เด็กหญิงอย่างพวกเธอ มีความรู้ดีพอแล้ว สำหรับที่จะอยู่ในสังคม พวกเธอสามารถรู้วิธีทำงานบ้าน และ สามารถบอก
กับ คนรับใช้ คนครัว ว่า จะต้องตั้งโต๊ะอาหารค่ำแบบอังกฤษ ได้อย่างไร
ความสามารถของพวกเธอ มันสูงเกินระดับที่มั่นใจว่า จะแต่งงานได้แล้ว
แต่งงาน เป็นคำที่ทำให้โลกของเจ้าหมุนติ้วทันใดนั้นเธอก็ได้เห็นอนาคตของเธอ
ทาสที่ปราศจากความรักสู่ลูกน้องของพี่ชายเธอ
สามีของเธอจะต้องอ่อนแอ และทำให้ชีวิตของเธอลำบาก เธอ และ เจ้าแว่นทิพย์ จะต้องเชื่อฟังเจ้าห่มฟ้าจากนี้ไปตลอดชีวิต.....................
งานแต่งงาน ถูกจัดขึ้นอย่างสุดอลังการสามวันสามคืน แห่แหนด้วยช้าง และ รถยนต์
สมเกียรติเจ้าฟ้าก้อนแก้ว อินแถลง ที่ หอคำหลวงเชียงตุง.......
จากนั้น เจ้านางแว่นทิพย์ ก็ต้องเดินทางไปพำนัก ที่เมืองแสนหวี ของ พระสวามี
...เมื่อไม่ได้ไปโรงเรียน เจ้านางแว่นทิพย์จึงใช้เวลาทั้งหมดที่แสนหวี ไปกับการอ่านหนังสือไปเที่ยวตลาด เที่ยวงานปอย หรือไม่
ก็ต้อนรับแขกที่สนิทสนม
เมื่อมีพิธีกั่นต๊อคารวะเจ้าฟ้าแสนหวี บรรดาผู้ดูแลหมู่บ้าน พร้อมครอบครัว จะมาร่วมพิธีในตัวเมือง.....บางครั้ง เจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษก็มาร่วมพิธีคารวะ ในหอหลวงเมืองแสนหวีด้วย พวกเขาไม่ต้องนั่งคุกเข่าเหมือนผู้เฒ่าผู้แก่แสนหวี แต่นั่งสังเกตการณ์บน เก้าอี้ ที่ตั้งเป็นแถวอยู่บนพื้น
ลดระดับด้านขวามือของ เจ้าฟ้า พวกกะลาอังกฤษ เข้ามายืนค้ำศีรษะเจ้าฟ้า และ
ไม่ถอดรองเท้า เมื่อเข้าในท้องพระโรงอันศักดิ์สิทธิ์ เจ้าฟ้า ไม่อยากให้ ชาวอังกฤษ เห็นว่าตนเองล้าสมัยจึงไม่แยแส และ ยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่างซึ่งสื่อให้เห็นถึง กาารศึกษาที่ดี และ มีโลกทัศน์กว้าง
ถนนสายเมืองจีน ตัดผ่าน แสนหวี จึงมีนักเดินทาง
มากมายแวะมาดื่มน้ำชา หรือ รับประทานอาหารกลางวันที่หอหลวงอยู่เสมอ เจ้าแว่นทิพย์ ต้อนรับอาคันตุกะเหล่านั้นในนามชาวแสนหวี ได้อย่างดีเยี่ยม เจ้าฟ้าแสนหวี แต่งงาน กับ เจ้าแว่นทิพย์ แห่งเชียงตุง เพราะว่าเธอทันสมัย พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว ฉาดฉาน ส่วน มหาเทวี นั้น มักโอ้อวดเรื่องที่นางเคยไปลอนดอน สมัยเป็นเด็ก ด้วยความภูมิใจแต่เมื่อถูกเชิญ มาพบแขกต่างชาติ มหาเทวี กลับหลบหายไปในกลุ่มสาวใช้ นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ เจ้าแสนหวี แต่งงานกับ หญิงสาวที่มีการศึกษา และ ทันสมัย
เจ้าแว่นทิพย์ ทำความคุ้นเคยกับชีวิต ในแสนหวีอย่างง่ายดาย อย่างไรก็ตาม
แสนหวี เป็นเมืองที่น่าเบื่อ เมื่อเทียบกับ เชียงตุง
บ้านเกิดที่เจ้านางจากมา
เชียงตุงเป็นเมืองที่ใหญ่ และ ร่ำรวยที่สุดในฉาน
มีพื้นที่ ๒๐,๐๐๐ ตร. ไมล์ ยื่นยาวไปจรดพรมแดนประเทศไทย ลาว และ จีน
ตัวเมืองเชียงตุง ตั้งอยู่ภายใต้กำแพง ที่ล้อมรอบอย่างแน่นหนา และ มีคูเมือง เป็นปราการชั้นนอก เมืองล้อมรอบด้วย ทิวเขาสลับซับซ้อน
สิ่งก่อสร้างภายในเมือง มักจะประดับประดาไปด้วยนกยูง และ สิงห์
เชียงตุง ตั้งอยู่ริมฝั่งทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน เหมือนกับ โกก้าง
เจ้าฟ้าเชียงตุง ปฎิเสธ กฏหมายค้าฝิ่น ของอังกฤษ หากปราศจากฝิ่นแล้ว เชียงตุง จะไม่สามารถจ่ายค่าบรรณาการ แก่อังกฤษที่กำหนดไว้ปีละ ๓๐,๐๐๐ รูปีได้เลย
เจ้าฟ้าเชียงตุง มีรายได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถสร้าง หอหลวงสถาปัตยกรรมอินเดีย
อันสง่างาม ยิ่งใหญ่ที่สุดในฉานได้ ไม่น่าแปลกใจเลย ที่เจ้าแว่นทิพย์ เริ่มเบื่อหน่าย
เมืองที่มีเพียง ถนนลูกรังเพียงเส้นเดียว เจ้าแว่นทิพย์ จึงพาญาติผู้น้อง มาอยู่ด้วย
เพื่อเยียวยาจิตใจ รวมทั้งเด็กชายตัวเล็กแสนซุกซน
ที่เล่นกับเจ้าได้ ตลอดเวลา แต่เมื่อถึงช่วงเปิดเรียนเด็กๆทุกคนก็ไปโรงเรียน และ ละทิ้งเจ้าอยู่เบื้องหลัง ที่เมืองแสนหวี อันเงียบเหงาตามลำพัง
เจ้าคิดถึง โรงเรียน เเต่เจ้าแว่นทิพย์ไม่เคยเบื่อหน่ายชีวิต รอบหอแสนหวี เจ้าแว่นทิพย์มี สนามเทนนิส ม้า ที่ฝึกฝนมาอย่างดี รถพร้อมคนขับ และ เบี้ยเลี้ยง บางครั้งเธอก็นั่งรถไปในป่า เพื่อเยี่ยมช้าง
ที่เป็นของขวัญวันแต่งงานจาก เชียงตุง ช้างตัวใหญ่มาก จึงไม่สามารถเลี้ยงไว้ที่หอได้
บางโอกาสพวกเขา ก็ขับรถไปเยี่ยมเยียนเมืองใกล้ๆเช่น สีป่อ และ พักผ่อนยามบ่าย ริมสระน้ำคอนกรีตท่ามกลางสวนกุหลาบสวยงาม
บางคราวก็ไปเยี่ยมเจ้าฟ้าเมืองไหญ่ที่ยังพำนักอยู่ในหอไม้สักเก่าแก่ และ มืดสลัว
พร้อมด้วยชายาหลายองค์ บรรยากาศราวกับย้อนกลับไปในอดีต อันไกลโพ้น ทีเดียว
วันเวลาผ่านไปอย่างเรียบง่าย และ สงบสุข ถึงกระนั้นเจ้าตระหนักว่า โลกกำลังสั่นไหว
ด้วยพายุลูกใหม่ ที่โหมกระหน่ำอยู่เบื้องหลัง แสนหวี โชคดีที่ รัฐฉาน ยังคงพึ่งพาตนเองได้ ความอุดมสมบูรณ์ปกป้องชาวไตให้พ้นจากความอดอยาก แม้แต่หลังเหตุการณ์ตลาดข้าวโลกล่มสลายก็ตาม ในที่ราบลุ่มพม่า
ข้าวส่วนใหญ่ส่งออกสู่ตลาดโลก จึงทำให้ในตลาดท้องถิ่น ขาดแคลนข้าวและ ราคาก็ขึ้นฮวบฮาบ ตามตลาดสากล
แต่ที่ แสนหวี ทุกคนกินข้าวที่ปลูกเอง พวกเขาไม่เดือดร้อน หรือ ขาดแคลนอะไรเลย
มีอาคันตุกะ ทั้งที่คุ้นเคย และ แปลกหน้ามานั่งบนโซฟาในห้องรับแขก ที่แขวนโคมระย้า
อยู่ไม่ขาดสาย เจ้าฟ้า และ บรรดาสหายต่างถกกัน
เรื่องทิศทางของการปกครองตนเอง
ประเด็นแรก ขณะนี้ราคาสินค้าทั่วโลกตกต่ำ ซึ่งหมายความว่า เมืองในอาณานิคมอังกฤษ
คงสามารถจ่ายเงินให้กับอังกฤษ ได้อีกไม่นาน
ประเด็นที่สอง ไม่มีการแข่งขันทางการค้า กับ ฝรั่งเศสอีกแล้ว
ประเด็นที่สาม อังกฤษตกอยู่ภายใต้ แรงกดดันเรื่องสิทธิมนุษยชน เมื่อกองกำลังอาณานิคม ถูกเกณฑ์
ให้เข้าร่วมทำสงครามโลกครั้งที่ ๑ อำนาจแห่ง ลอนดอน ก็ง่อนแง่นเต็มที พวกเขาคาดเดาว่า สงครามโลกครั้งที่ ๒ จะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และ แหล่งทรัพยากร ของมหาอำนาจทั้งหลาย ก็คือ เมืองอาณานิคม นี่เอง
เจ้ายิ้ม และ ฟังเรื่องราวที่ล้อมรอบตัวเจ้า อย่างเกียจคร้าน เหมือนดังพัดลมเพดาน
ที่กำลังหมุน อย่าง เชื่องช้า
วันหนึ่งมีชายแปลกหน้าชาวไต วัยกลางคนมาที่ห้องรับแขก บุคลิคของเขาเข้มแข็งแบบทหารถึงไม่บอกก็รู้ได้ว่าชายผู้นี้คือ เจ้าฟ้าหยองห้วย
เจ้ายังจำความประทับใจของ หอหยองห้วย ในขณะไปทัศนศึกษาที่หนองอินเลได้ดี เจ้าได้ยินมาว่าเจ้าส่วยไต้ก์ ผู้นี้ได้มรดกเป็น หอหลวงหยองห้วย อย่างไม่คาดฝันจากลุงของเขาที่เสียชีวิตไป
อดีตเจ้าฟ้าลุงของเขา เคยให้ ฮิลเดอบราหนด์ยืมเรือหงสาทองคำ ล่องหนองอินเลใน ปี ๑๘๙๐
ก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของ อังกฤษ นั้น ราชสำนักหยองห้วย ใกล้ชิดกับราชสำนักมัณฑะเลย์มาก อดีตเจ้าฟ้าองค์นี้เป็นบุตรบุญธรรม ของ พระเจ้าสีป่อ เมื่อสิ้นรัชสมัยพระเจ้าสีป่อ บรรดาเจ้าฟ้า
เริ่มทำสงครามรบพุ่งกันเอง ทำให้อังกฤษ ฉวยโอกาสเข้าครอบครอง รัฐฉาน อังกฤษสนับสนุน เจ้าฟ้าหยองห้วย
ทำสงครามเพื่อต่อต้าน และ รุกรานศัตรู ซึ่งแลกกับสัมปทาน และ ผลประโยชน์อีกมากมาย
อังกฤษปกครองเมืองหยองห้วย จาก เมืองตองจีที่อยู่เหนือขึ้นไป ในปี ๑๙๑๗ มีชาวบ้านพบกาเผือกในบริเวณหนองน้ำที่เชิงเขา ชาวบ้านนำกาเผือกไปถวายแด่เจ้าฟ้าที่หอ เจ้าฟ้าแต่งตั้งชายผู้นั้น
เป็น ผู้พิทักษ์กาเผือก อดีตเจ้าฟ้าหลวงหยองห้วย
ตั้งใจจะกอบกู้ความรุ่งโรจน์ ให้กลับคืนมา หลังจากที่หอเก่า ถูกเผาจนสิ้นซาก
เจ้าฟ้า ว่าจ้างช่างฝีมือชั้นเยี่ยม มาสร้างหอใหม่
ที่มีสถาปัตยกรรมผสมผสาน ระหว่างใหม่ และ เก่า
ไว้ด้วยกัน ชั้นล่างของหอก่ออิฐถือปูนสีแดง ชั้นบนเป็นอาคารไม้ตามจารีตโบราณ
มีสามหลังเชื่อมต่อกัน นอกจากนี้ยังสั่งให้ก่อสร้าง
กรงนกกาเผือกขนาดใหญ่ไว้ที่ สวน ด้วย
หอหลวงขนาดใหญ่นี้ ใช้เวลาก่อสร้างแรมปี แต่เจ้าฟ้าก็สิ้นใจ ไปก่อนที่จะยกปราสาท ๗ ชั้น อันเป็นสัญลักษณ์กษัตริย์ ตามแบบมัณฑะเลย์
เหนือหอหลวงหลังใหม่
เจ้าฟ้าจากไป ละทิ้งภาระกิจสำคัญอยู่เบื้องหลังท่านยังไม่ได้แต่งตั้งรัชทายาทเลย ในปี ๑๙๒๗ อังกฤษ ถือโอกาสเข้าควบคุมสถานการณ์ และ ประกาศการเสียชีวิต ของเจ้าฟ้าให้สาธารณชน ได้รับทราบ และ แจ้งว่าก่อนที่เจ้าฟ้าจะสิ้นใจ ท่านได้เอ่ยชื่อหลานชายห่างๆ คนหนึ่งออกมา
ซึ่งรับราชการทหาร ในกองพลตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า เเละ ประจำการอยู่ที่ตองจี...คือเจ้าส่วยแตก ซึ่งได้ครองเมืองต่อจากเจ้าฟ้า และ เสกสมรส กับเจ้านางเฮือนคำ จากแสนหวี เพื่อนสนิทของ เจ้าแว่นทิพย์นั่นเอง
#ในหนังสืออ Lords of Sunset ซึ่งเป็นหนังสือลึกซึ้งเกี่ยวกับช่วงเวลาที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ ของ คนฉาน ที่โดดเด่น ได้บันทึกถึงเจ้านางแว่นทิพย์ในบทหนึ่งอย่างสวยงาม
Maurice Collis และ สหายของเขากรรมาธิการ Fogarty มาถึงในเมือง แสนหวี และ ได้รับเชิญไปรับประทาน อาหารเช้ากับเจ้าฟ้าแสนหวี
สามีของเจ้านาง แว่นทิพย์
เมื่อ Maurice Collis และ Fogarty เดินทางมาที่คุ้มหลวง ของ เจ้าฟ้าแสนหวี
พวกเขาพาตัวเองมาในเลานจ์ ฮอลล์ที่เปิด ต้อนรับ เมื่อเข้ามา ในห้องมีภาพวาดรูป ประดับตบแต่ง
.....พวกเขาพบหญิงสาวสูงสง่า ผู้มีลักษณะโดดเด่น งดงาม ราวกับตุ๊กตากระเบื่อง
เธอนั่งบนโซฟาเคลื่อนไหวแช่มช้อย ความสูงสง่า ทำให้เธอน่าสนใจมากกว่า
สาวเเสนหวีทั่วไป และเมื่อเธอแย้มยิ้ม ในใบหน้าของเธอ ก็เหมือนว่าจะทำให้ผู้มาเยือน
คุ้มแสนหวีของเธอ พึงพอใจสูงสุด เธอแต่งกายแบบอังกฤษ ด้วยผ้าเสอร์ชสีม่วง
รอบคอ ผูกด้วย ผ้าพันคอ ที่ผูกปมในแบบของเธอ ซึ่งเหมาะกับเธอ.เป็นอย่างดี
การออกเสียงภาษาอังกฤษของเธอ ทำได้สมบูรณ์แบบมาก และ ทำให้เธอ
สามารถติดตามความเป็นไปของข่าวสารทั่วโลกได้อย่างง่ายดาย ในงานเลี้ยงสถานทูตในกรุงลอนดอนเธอคงจะดึงดูดความสนใจทุกคนมากและเเม้ว่า จะอยู่กลางป่าของเมืองแสนหวี
ภายใต้ร่มเงาของภูเขาชายแดนจีน เธอก็แสดงวิสัยทัศน์ที่ทำให้น่าประทับใจ
ได้อย่างดียิ่ง
คนรับใช้เสริฟอาหารเช้า และ มหาเทวีแว่นทิพย์นำเราเข้ามาในห้องรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นอาหาร ชาวไทใหญ่ ถูกวางไว้ทางด้านขวาและซ้ายของเธอ, เธอมั่นใจว่าพวกเขา
ต้องทานอาหารเช้าแบบฉานเป็นได้แน่นอน
กรณีนี้ สำหรับอาหารมันอร่อยมากแต่ละข้างของพวกเขาได้ชามขนาดใหญ่ของน้ำซุปผัก และ มีอาหาร 24 อย่าง
อยู่บนโต๊ะอาหาร ข้าวได้ถูกตักรอบแรกโดยหนึ่งในคนรับใช้ ด้านหน้าของเจ้าหญิง
เป็นจานใหญ่, เป็ดปรุงสุกในลักษณะจีน,ต้มจนกว่าจะน้ำลดลงข้นคลั่ก และยัดไส้
เธอช่วยตักเสริฟ Maurice ไป และ ส่งมอบอาหาร จากนั้นบางส่วน ของอาหารจานอื่น ๆ
เพื่อเริ่มต้นทานอาหาร
เธอแนะนำอาหารทุกประเภทที่ทยอยเข้ามา วิธีการพูดภาษาอังกฤษเธอทำได้ดีอยู่แล้ว วิธีการของเธอไม่เพียง แต่การออกเสียงที่ถูก
แต่มีสำนวนประเล้าประโลม
และ เธอจะกวาดสายตามองแล้ว มองลงไปที่พื้น เป็นจังหวะ
คุณจะพบว่าใน เชียงตุง มีภาษาและศิลปะการปกครองแบบพ่อปกครองลูก เป็น ครอบครัว การปกครอง ใน เชียงตุง เป็น แคว้น
แต่นี่เป็นความสับสน และ มีแนวโน้มที่จะถูกละเว้น เพื่อประโยชน์ทั้งหมด เธอเป็นเจ้าหญิงฉาน เธอบอกว่าเธอเป็นคนอังกฤษครึ่งทางด้วยการอ่าน "เธอเป็นมหาเทวี"
และเป็น ความเป็นจริงว่า เธอไม่ลืม เธอพูด ภาษาอังกฤษ เพราะมันเป็น ภาษาพูด
จึงไม่ค่อยที่จะลืม.........................
'คุณจะลืมภาษาอังกฤษได้ไหม' ถ้าคุณออกจากอังกฤษนานๆ เธอถามด้วยการสัมผัสของจิตวิญญาณ ฉันไม่เคยได้ออกจากพม่า,
...'ความหมายของชื่อของคุณคืออะไร' Maurice ถาม
'กระจกวิเศษ.' เจ้านาง แว่นทิพย์ เธอตอบ
'กระจกวิเศษ เลดี้ในพระราชวัง แสนหวี
'มันสุดแสน romantice แต่ ไร้แก่นสารเกินไป สำหรับ ที่นี่
หลังอาหารเช้า, Maurice ถ่ายภาพเจ้าแว่นทิพย์ และ Sawbwa
ข้อความที่ตัดตอนมาจาก Lords of Sunset; Maurice Collis 1938
Maurice Stewart Collis (10 มกราคม 1889 ดับลิน -- 12 มกราคม 1973) เป็นผู้ดูแลในพม่า (เมียนมาร์) เมื่อมันเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ ผู้เขียนเรื่อง ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของจีนและวิชาประวัติศาสตร์อื่น ๆบทความนี้เรียบเรียง- จาก จายเคอเเสง----ถอดความ
ในกาลต่อมา เมื่อสิ้นการปกครองแบบเจ้าฟ้าในรัฐฉาน การเมืองระหว่างรัฐ ไม่ใช่เงื่อนไขของการครองชีวิตคู่อีกต่อไป เจ้านางแว่นทิพย์ จึงทรงหย่าขาด กับเจ้าห่มฟ้า เมื่อปี พ.ศ. 2490 และ ทูลลากลับมาพำนักที่เชียงตุง โดยทั้งสองไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน และ เจ้านางแว่นทิพย์ผู้เลอโฉม ก็ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และ ไม่ได้เสกสมรสกับชายใดอีก ตราบจนสิ้นชีวิตเมื่อ ปีพ.ศ. 2520
....ทิ้งไว้เพียงความงามฉายฉาน ดุจนางในตำนาน จากโลกยุคเก่า
เจ้าหญิงแว่นทิพย์ กระจกวิเศษอันเป็นนิรันดร์...
2 บันทึก
10
3
12
2
10
3
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย