Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
AI UNN
•
ติดตาม
15 ก.ย. 2020 เวลา 08:05 • สุขภาพ
นาฬิกาชีวิต Life clock
ชีวิตทุกคนมี ‘นาฬิกา’ อยู่อันหนึ่ง เป็นนาฬิกาที่ติดกับเรามาตั้งแต่กำเนิด การกำเนิดของมนุษย์ ได้กำเนิดมาพร้อมกับเวลาของชีวิต หรือ Biological Clock (นาฬิกาชีวิต) ซึ่งติดตั้งไว้ในร่างกาย พร้อมทำงานตลอดเวลาตราบเท่าที่เรายังมีลมหายใจ การเดินของนาฬิกาชีวิต จะส่งผลต่ออวัยวะของร่างกายเราใน แต่ละช่วงเวลา ถ้ารู้จักจังหวะการเดินของนาฬิกาชีวิตของตัวเอง ทำให้ เราทราบว่า "ต้องทำอะไรบ้างในแต่ละชั่วโมงของแต่ละวัน ซึ่งจะส่งผลต่อชีวิตที่เหลืออยู่ หรือเพื่อให้เรารู้ว่า "เราจะ นำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างไร ถึงเวลาที่เราต้องดูแลสุขภาพของตัวเอง ว่าเมื่อไรเราควรจะพักผ่อน ลองจัดระเบียบชีวิตใหม่ ให้กิจกรรมแต่ละวันมีความสอดคล้องกับกฏเกณฑ์เวลาของนาฬิกาชีวิต....
คนเราทุกคนมีเวลาในหนึ่งวัน 24 ชั่วโมง เท่ากันหมด แต่การใช้เวลาของแต่ละคนในแต่ละวันนั้นไม่เท่ากัน การใช้ชีวิตของคนเราในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก เกิดจากการต้องปรับตัวให้เข้ากับความเป็นอยู่ การดำรงชีวิตให้อยู่ได้ในสังคมที่ต้องดิ้นรน เวลากินแทบไม่ได้กิน เวลานอนบางคนอาจต้องออกไปทำงาน ด้วยความจำเป็น เราต้องใช้เวลาในแต่ละช่วงของแต่ละวันแตกต่างกันออกไป
ปัจจุบัน ที่คนทำงานกลางคืน เป็นการฝืนธรรมชาติหรือนาฬิกาชีวิต เป็นเวลาที่ควรหลับนอน แต่เพื่อให้ดำเนินชีวิตอยู่ได้ แต่ที่คนเรายังไม่หลับ เพราะมีความจำเป็นที่ต้องทำมาหากิน ทำให้ระบบนาฬิกาชีวภาพแปรปรวนไม่เป็นไปตามกฎธรรมชาติ
ในร่างกายของเราจะมีตาที่ 3 อยู่ในสมองเรียกว่า ต่อมไพเนียล (Pineal Gland ) ต่อมนี้จะคอยรับรู้แสงและความมืดโดยสร้างเมลาโทนิน เมื่อแสงลดลง หรือเมื่อถึงเวลามืด เรารู้สึกง่วง ถึงเวลาเข้านอน เพื่อให้ร่างกายซ่อมแซมอวัยวะ ที่ถูกใช้งานมาตลอดทั้งวัน
คนทำงานกลางคืนในระยะยาว เมื่ออายุมาก มักจะพบว่ามีอัตราการเป็นโรคหัวใจ โรคมะเร็ง หลอดเลือดในสมองมากกว่าคนที่นอนปกติ หากบางคนเผลอลืมตัวใช้ชีวิตแบบลืมวันลืมคืน ร่างกายพังยับเยิน ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพกายและจิต ฮอร์โมนบกพร่อง โรคซึมเศร้า และมีอัตราการตายก่อนวัยอันควรสูงขึ้น เพราะชีวิตเสียสมดุล หากเราไม่ได้นอนหนึ่งคืนแล้วไปนอนกลางวัน รู้สึกว่านอนไม่เต็มอิ่ม ตื่นมาไม่สดใส “คนที่ทำงานตอนกลางคืนแล้วใช้เวลากลางวันในการนอน แต่ปรับแสงภายในห้องให้มืดเหมือนเช่นตอนกลางคืนเพื่อหลอกร่างกาย ทำ “ไม่ได้” เพราะนาฬิกาถูกตั้งมาให้รับกับธรรมชาติคือพระอาทิตย์ขึ้นพระอาทิตย์ตก เวลาเดินทางไปต่างประเทศที่เวลาสลับกับบ้านเรา เช่น ทางฝั่งอเมริกา เราเดินทางไปถึงตอนกลางวันที่มีแสงแดดเราก็ยังรู้สึกง่วงเพราะนาฬิกาชีวิตเรายังไม่ได้ปรับตัว แต่ต้องใช้ระยะเวลาประมาณ สัปดาห์ ร่างกายจะปรับโดยธรรมชาติ แต่สำหรับคนที่ทำงานกลางคืน แล้วนอนกลางวันได้นั้นเป็นเพียงความเคยชิน แต่นาฬิกาชีวิตไม่ได้ปรับ
ปัญหาการนอนไม่พอ ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจสูงกว่าคนที่ใช้ชีวิตตามระบบของนาฬิกาชีวิต โดยปกติคนเราควรนอน 1 ใน 3 เวลาชีวิตตามรอบนาฬิกาชีวิต เราควรตื่นนอนช่วง ตี 5-6 โมงเช้า เพราะฮอร์โมนคอร์ติซอล ( Cortisol)จะหลั่ง ซึ่งเป็นฺฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เราลุกขึ้นมาทำงาน ฮอร์โมนชนิดนี้ จะดึงน้ำตาลในร่างกายไปใช้เพื่อสร้างพลังงาน เมื่อน้ำตาลถูกนำไปใช้เราจะรู้สึกหิว ในช่วงเวลา 7-8 โมงเช้า เป็นเวลาที่เราต้องรับประทานอาหารเช้า และ 4 ชั่วโมงต่อมาเราก็จะต้องรับประทานเที่ยง เนื่องจากน้ำตาลในเลือดเริ่มต่ำลง กระทั้งเวลา 22.00 น. ร่างกายเราจะเริ่มสร้างเมลาโทนินทำให้เราเริ่มง่วงนอน เข้าสู่สภาวะการหลับ ซึ่งเมลาโทนินทำหน้าที่หลายอย่างนอกจากเรื่องภาวะการนอน เช่น ในการต้านอนุมูลอิสระที่คอยทำร้ายเซลล์ จึงไม่แปลกหากผู้หญิงที่อดนอนจะมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น
คุณภาพของการนอนหลับลึกโดยไม่ฝัน ไม่สะดุ้งตื่นระหว่างคืน ได้เวลาหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หมายถึงการที่ร่างกายได้รับการซ่อมแซมฟื้นฟู ทำให้อวัยวะทำงานได้ดีขึ้น ดังนั้นควรปิดไฟให้มืดสนิทและหลีกเลี่ยงการเล่นหรือดูมือถือก่อนนอน 90 นาที ในส่วนของผู้ที่จำเป็นต้องทำงานกลางคืน สิ่งที่ทำได้ คือ การหลับในช่วงกลางวันเพื่อทดแทน และหาเวลาออกกำลังกาย ตลอดจนรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงๆ เนื่องจากการอดนอนทำให้ภูมิต้านทานต่ำลงด้วยเช่นกัน
เวลานอนของคนเราอาจไม่ตรงกัน นั่นเกิดขึ้นมาจากการกลายพันธุ์ของยีนเวลา โดยการกลายพันธุ์มี 2 ประเภทคือ
1. ประเภทตื่นเช้านอนเร็ว (Lark Phenotype) คนกลุ่มนี้เป็นคนที่ตื่นเช้า ทำให้นาฬิกาชีวิตที่เริ่มต้นทำงานแต่เช้า และส่งผลให้เข้านอนเร็ว พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ
2. ประเภทตื่นสายนอนช้า (Owl Phenotype) คนกลุ่มนี้จะมักตื่นในตอนกลางวัน หรือตอนบ่าย และจะเข้านอนในช่วงใกล้เช้า นาฬิกาชีวิตของคนกลุ่มนี้จะค่อนข้างสลับกับคนที่ตื่นเช้า พบได้ในกลุ่มวัยรุ่น ผู้ใหญ่ตอนต้น และคนที่ทำงานในเวลากลางคืน
เรามาดูกันว่า ใน 1 วัน 24 ชั่วโมง เราจะปฎิบัติตัวอย่างไรให้ชีวิตของเราสัมพันธ์กันกับนาฬิกาของชีวิต!
เวลา 1.00 – 3.00 น. ช่วงเวลาของตับ เพื่อกำจัดสารพิษในร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการสังเคราะห์และเก็บสะสมในรูปไกลโคเจน และสร้างน้ำดีมาเก็บไว้ที่ถุงน้ำดี ควรเป็น ช่วงที่หลับสนิทเพื่อให้เลือดไหลเวียนมาที่ตับได้ดี เวลา 2.00 น ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินได้สูงสุด การนอนไม่หลับ เครียด ได้รับสารพิษ หรือรับประทานอาหารหวานจัด จะส่งปัญหาถึงตับ
เวลา 3.00 – 5.00 น. เป็นช่วงเวลาของปอด เพื่อให้ระบบหายใจได้ทำงานได้เต็มที่ และเซลล์ต่างๆ ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะที่สมอง สมองที่ได้รับออกซิเจนน้อยหรือไม่เพียงพอจะมีผลความจำของคนเราเสื่อมลงได้
เวลา 4.00 – 5.00 น เป็นช่วงที่อุณหภูมิของร่างกายลดลงต่ำสุด ร่างกายควรได้รับความอบอุ่น หลีกเลี่ยงสภาวะอากาศเย็น ช่วงนี้จึงเหมาะต่อการตื่นนอนเพื่อรับอากาศบริสุทธิ์และออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้ปอดทำงานดีขึ้น
เวลา 5.00 – 7.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้ใหญ่ เพื่อขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย และมีการหลั่ง cortisol เพื่อช่วยให้ร่างกายกระปรี่กระเปร่า ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำเพื่อกระตุ้นระบบขับถ่าย
เวลา 7.00 – 9.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร ที่ร่างกายต้องการพลังงาน จำเป็นต้องรับประทานอาหารมื้อเช้า
เวลา 9.00 – 11.00 น. เป็นช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน โดยม้ามทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย กำจัดเม็ดเลือดแดงที่เสื่อมสภาพ ส่วนตับอ่อนจะผลิตเอนไซม์มาช่วยย่อยอาหารที่ลำไส้เล็ก ร่างกายช่วงนี้จะมีความตื่นตัวมาก ช่วงที่เหมาะต่อการ ทำงาน/ทำกิจกรรม
เวลา 11.00 – 13.00 น. เป็นช่วงเวลาของหัวใจ ซึ่งเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุด ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดและสารอาหารไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ช่วงนี้ระดับความดันเลือดในร่างกายยังคงเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
เวลา 13.00 – 15.00 น. เป็นช่วงเวลาของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมอาหาร หากมื้อกลางวันไม่รับประทานอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ช่วงนี้จะรู้สึกหิวและทรมาน
เวลา 15.00 – 17.00 น. เป็นช่วงเวลาของกระเพาะ ปัสสาวะ ซึ่งทำหน้าที่เก็บน้ำกรองจากไต โดยช่วง 17.00 น. เป็นช่วงที่หลอดเลือดหัวใจและกล้ามเนื้อในร่างกายมีความแข็งแรง จึงเหมาะต่อการออกกำลังกาย
เวลา 17.00 – 19.00 น. เป็นช่วงเวลาของไต เพื่อกรองของเสียออกจากเลือดและรักษาสมดุลในร่างกาย ช่วง 18.30 น. ระดับความดันเลือดจะเพิ่มขึ้นสูงสุด ช่วงนี้จึงควรดื่มน้ำสะอาด (ไม่ควรดื่มน้ำเย็น) และไม่ควรนอนหลับในช่วงนี้ เพราะจะทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน
เวลา 19.00 – 21.00 น. เป็นช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของหัวใจ และเป็นช่วงของระบบหมุนเวียนโลหิต โดยช่วง 19.00 น. อุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้นสูงสุด
เวลา 21.00 – 23.00 น. เป็นช่วง เวลาของระบบทั้ง 3 (triple heater) ได้แก่ ระบบหายใจ ส่งผลต่อร่างกายช่วงบน(หัวใจ-ปอด) ระบบย่อยอาหารมีผลต่อช่วงกลางลำตัว(กระเพาะ อาหาร ม้าม ตับ) และระบบขับถ่ายมีผลต่อร่างกายช่วงล่าง(ไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้เล็ก) เป็นช่วงที่ร่างกายปรับสมดุลความร้อนและเป็นช่วงที่อุณหภูมิในร่างกายจะค่อยๆลดลง ร่างกายจะเริ่มหลั่งเมลาโทนิน ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ควรนอนหลับพักผ่อน
เวลา 23.00 – 1.00 น. เป็นช่วงเวลาของถุงน้ำดี เพื่อเก็บน้ำดีที่ได้จากตับและส่งน้ำดีมาช่วยย่อยไขมันที่ลำไส้เล็ก ถุงน้ำดีและตับ จึงเป็นอวัยวะที่ทำงานเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กันอย่างมาก
บันทึก
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย