Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
วันละบท | Daily Chapter
•
ติดตาม
16 ก.ย. 2020 เวลา 05:07 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปหนังสือ The Intelligent Investor ตอนที่ 2
นักลงทุนและภาวะเงินเฟ้อ
สรุปหนังสือ The Intelligent Investor ตอนที่ 2
บทนี้จะเป็นที่มีความสำคัญมากอีกหนึ่งบทเลยก็ว่าได้เพราะตัวแปรสำคัญที่สุดของการลงทุนอีกหนึ่งอย่างก็คือ เงินเฟ้อ ตลอดบทนี้เกรแฮมเองจะมีการกล่าวถึงความสำคัญของเงินเฟ้อในระบบเศรษฐกิจและความเป็นจริงที่เกิดขึ้นของเงินเฟ้อ และที่สำคัญที่สุดในบทนี้คือการพูดถึงการปกป้องเงินของเราเองจากภาวะเงินเฟ้อและสิ่งที่ควรเป็นแนวทางที่ควรปฏิบัติเพื่อเอาชนะสภาวะของเงินเฟ้อหรือฝืดได้ในระยะยาว
เงินเฟ้อ
ภาวะเงินเฟ้อหรือกล่าวง่ายๆคือภาวะที่ทำให้เรามีอำนาจการซื้อที่ลดลง หรือจะกว่าผู้ที่มีรายได้คงที่จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะที่มีอำนาจในการซื้อน้อยลง ดังนั้นหนึ่งวิธีที่จำทำให้เอาชนะภาวะเงินเฟ้อก็คือการลงทุนในหุ้น
แต่ในความเป็นจริงในอดีตที่ผ่านมาของระบบเศรษฐกิจในอเมริกา แม้การลงทุนในหุ้นจะเป็นการลงทุนในระยะยาวที่ได้รับผลตอบแทนสูงสุดแต่นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการลงทุนในหุ้นนั้นจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจเสมอ ซึ่งไม่สามารถรับประกันได้เลยว่าในอนาคตการลงทุนในหุ้น 100% จะได้ผลตอบแทนสูงกว่าการลุงในหุ้นและตราสารหนี้คุณภาพสูง
เงินเฟ้อและผลกำไรของบริษัท
อีกหนึ่งอย่างที่เกรแฮมได้ยกมาเป็นกรณีศึกษาคือ การศึกษาผลตอบแทนของส่วนผู้ถือหุ้นในบริษัท ตัวเลขดังกล่าวนั้นผันผวนตามระบบเศรษฐกิจแต่ไม่ได้ผันผวนตามสภาวะเงินเฟ้อแต่อย่างใด
อีกหนึ่งอย่างที่เกรแฮมเองได้กล่าวและน่าสนใจมากคือ วัฐจักรที่เกิดในอดีตของเศรษฐกิจ ซึ่งปกติแล้วเมื่อสภาวะตลาดดี สินค้าและบริการจะเพิ่มมากขึ้น และในทางตรงกันข้ามกันนั้นเมื่อสภาวะตลาดแย่ลง สินค้าและบริการก็จะลดลงตามไปด้วย จึงมีหลายๆคนมองว่าภาวะเงินที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยอย่างสม่ำเสมอนั้นจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจนั้นก็คือความจริง แต่นั้นไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดได้แน่นอนกับการทำกำไรของบริษัท อย่างตัวอย่างที่เกรแฮมเองยกมาคือในช่วงปี 1950 -1970 มีการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อโดยเฉลี่ยเล็กน้อยต่อปีทำให้สภาวะเศรษฐกิจนั้นดีเลยทีเดียวแต่ความเป็นจริงของตัวเลขผลกำไรของบริษัทนั้นกลับไม่ได้เป็นอย่างที่หวัง ภาระหนี้สินของบริษัทนั้นเพิ่มขึ้นสูงหลายเท่ามากกว่ากำไรของบริษัทเสียอีก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้สภาวะเงินเฟ้อจะดีมากในช่วง 1950 -1970 แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่ผมต่อหุ้นนั้นก็คือสภาวะหนี้สินที่อาจเพิ่มตามมาด้วย และอาจจะทำให้ผลตอบแทนของสัดส่วนของผู้ถือหุ้นนั้นต่ำลง แม้สภาวะเงินเฟ้อจะเกิดขึ้นก็ตาม
สรุป
จากบทก่อนๆที่เกรแฮมได้กล่าวไว้เรื่องแนวทางในการลงทุนคือเราไม่ควรที่จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทใดเพียงประเภทหนึ่งอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริงแม้ตราสารหนี้คุณภาพสูงจะให้ดอกเบี้ยที่สูงก็ไม่อาจจะรับประกันได้ว่าในอนาคตจะได้รับผลตอบที่สูงเช่นเดิม และในบทนี้ที่กล่าวถึงพระเอกอย่าง เงินเฟ้อ แม้ว่าตามทฤษีแล้วการลงทุนในหุ้นนั้นจะได้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อยังมีภาวะเงินเฟ้ออยู่ แต่ตามความเป็นจริงแล้วเงินเฟ้อไม่ได้เป็นเพียงตัวแปรเดียวที่จะบ่งบองถึงผลตอบแทนในอนาคตของการลงทุนในหุ้น
ในบทนี้จะเห็นแล้วว่า ภาวะเงินเฟ้อ ถือเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญของระบบเศรษฐกิจแต่ก็ไม่ได้เป็นตัวแปรเดียวเราจะคาดหวังผลกำไรจากภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นเกรแฮมเองยังคงยึดหลักการลงทุนที่กระจายความเสี่ยงไปทั้งตราสารหนี้คุณภาพสูงและหุ้นตามสัดส่วนที่เหมาะสมที่เคยได้แนะนำเอาไว้ในบทก่อนหน้านี้ และในบทต่อไปเกรแฮมจะพาเราย้อนไปวิเคราะห์ตลาดหุ้นในหนึ่งศตวรรษตลาดหุ้นในช่วงปี 1972 กัน
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย