17 ก.ย. 2020 เวลา 04:49 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุปหนังสือ The Intelligent Investor ตอนที่ 3
หนึ่งศตวรรษตลาดหุ้น : ระดับราคาหุ้นในช่วงต้นปี 1972
สรุปหนังสือ The Intelligent Investor ตอนที่ 3
บทนี้จะเป็นบทที่เกรแฮมเองพาเราย้อนกลับไปในอดีตของตลาดหุ้นในช่วงต้นปี 1972 แล้วมองย้อนกลับไปอีกหนึ่งศตวรรษของตลาดหุ้นเพื่อที่เราจะได้เรียนรู้และเข้าใจวัฐจักรที่เป็นจริงในอดีตของตลาดหุ้น และสาระสำคัญคือในบทนี้จะทำให้เราได้ข้อคิดที่ว่า ผลตอบแทนในอดีตนั้นไม่อาจจะเท่ากับผลตอบแทนในอนาคตได้เลย
สภาวะตลาดหุ้นหนึ่งศตวรรษ
ตลอดทั้งบทนี้เกรแฮมจะพาเราย้อนมองตัวเลขที่เกิดขึ้นในอดีตโดยมีดารเกิดขึ้นวัฏจักรคลาดกระทิงและตลาดหมีเกิดขึ้น 19 ครั้ง โดยเกรแฮมมีการยกตัวอย่างจาก Standard & Poor’s แสดงให้เห็นถึงความผันผวนของตัวเลขตั่งแต่ 1900 ถึง 1970 โดยจะรูปแบบที่เด่นชัด 3 ช่วงนั้นก็คือ1900–1924 ซึ่งราคาหุ้นเพิ่มเพียงปีละ 3% แต่เราจะเห็นว่าในปี 1929 คือตลาดกระทิงยุคใหม่ที่ทำจุดสูงสุดแต่สุดท้ายก็ผันผวนไปมาจนถึงปี 1949 จนทำให้ผลตอบแทนตั่งแต่ 1924–1949 นั้นเพียง 1.5% ต่อปี แต่ในเวลาต่อมาในปี 1949–1966 สามารถทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยนสูงถึง 11% ต่อปี และยังไม่รวมผลตอบแทนของเงินปันผล แต่หลังจากตลาดที่มีค่าสูงจนเกินไปจากความเป็นจริงทำให้จากจุดสูงในปี 1968 ทำให้ตกลงเรื่อยจนถึงปี 1970 โดยตกลงไปถึง 44 % แต่สุดท้ายแล้วหลังจากปี 1970 -1972 ด้วยลักษณะเฉพาะของวอลสตรีทแล้วทำให้เกิดการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดจุดสูงสุดอีกครั้งในปี 1972 จนทำให้ผลตอลแทนเฉลี่ยจากปี 1949–1972 อยู่ที่ 9% ต่อปี
จากสถิติที่ได้กล่าวมาถ้าเรามองเจาะเป็นช่วง 10 ปีตลอดหนึ่งศตวรรษก็จะพบว่าการผันผวนแทบจะไม่มีผลเลยถ้าเราลงทุนในช่วงระยะเวลา 10 ปี
ยิ่งขึ้นแรงยิ่งตกหนัก
เกรแฮมเองได้แนะนำแนวคิดและตั้งคำถามให้แก่ผู้หลงเชื่อเรื่องตลาดกระทิงแบบผิดๆไว้ว่า เหตุใดผลตอบแทนของหุ้นถึงจะเทากับผลตอบแทนในอดีต ? ถ้านักลงทุนทุกคนรู้ว่าจะได้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ตลาดหุ้นคงแพงมากไปเรียบร้อยแล้วไม่ใช่หรือ ? แล้วหุ้นที่มีราคาแพงจะสร้างผลตอบแทนในอนาคตได้อย่างไร ? สามคำถามทำให้นักลงทุนจะต้องฉุดคิดแน่นอนก่อนที่จะเข้าไปลงทุน
เกรแฮมเองก็ได้ให้คำตอบของคำถามว่า “ผลตอบแทนในการลงทุนขึ้นอยู่กับราคาที่คุณจ่ายเสมอ”
ปัจจัยของผลตอบแทนในตลาดหุ้น
สำหรับเกรแฮมได้เสนอแนวหลักอยู่สามปัจจัยที่มีผลต่อผลตอบแทนในตลาดหุ้นในก็คือ
1. การเติบโตที่แท้จริงของบริษัท (กำไรและเงินปันผลของบริษัท)
2. การเติบโตสภาวะเงินเฟ้อ
3. การเติบโตหรือลดลงจากการเก็งกำไร
จุดท้ายแล้วเกรแฮมจะให้แนวคิดที่ว่า การที่คุณคาดหวังผลตอบแทนในอนาคตของหุ้นนั้นสิ่งเดียวที่คุณจะมั่นใจได้ก็คือ คุณอาจจะผิดพลาด เราควรที่จะอ่อนน้อมถ่อมตนกับตลาดหุ้นเพื่อป้องกันคุณจากความเสี่ยงที่มากเกินไป และสิ่งที่คุณควรก็คือควรลดความคาดหวังลงและอย่าให้เกิดการลดลงของแรงใจ
บทนี้อาจจะดูน่าเบื่อไปบ้างสำหรับบางคนที่ไม่ชอบดูเรื่องตัวเลขหรือย้อนไปในอดีตไปมากกว่า 100 ปีแต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเรียนของอดีตคือบทเรียนสำคัญของอนาคต ความไม่แน่นอน ความผันผวน ผลตอบแทนล้วนแล้วไม่สามารถทำนายได้เลยว่าในอนาคตจะเป็นเช่นไร แต่สำหรับเกรแฮมความไม่รู้นั้นต้องอยู่บนพื้นฐานปัจจัยที่อยู่กับความเป็นจริงอย่างที่กล่าวไว้ถึงปัจจัยผลตอบแทนสำหรับเกรแฮมและแนวคิดที่เกรแฮมได้แนะนำเราเรื่องการไม่คาดหวังผลตอบแทนที่มากจนเกินไปเพราะอดีตแสดงให้เห็นแล้วว่าเกิดเหตุไม่คาดฝันได้ตลอดเวลา ในบทต่อไปเราจะเจาะลึกขึ้นถึงการลงทุนของนักลงทุนในเชิงรับซึ่งจะเป็นแนวทางสำคัญต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเลย
โฆษณา