17 ก.ย. 2020 เวลา 13:07 • ประวัติศาสตร์
ประเพณีแซนโฎนตา
๑. ประวัติความเป็นมา
แซนโฎนตา หรือสะกดว่า แซนโดนตา เป็นประเพณีเซ่นไหว้ผีหรือบรรพบุรุษของชาวไทย เชื้อสายเขมรหรือกัมพูชา เป็นการรำลึกถึงและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับโดยมิได้เจาะจงว่าเป็นใครก็ได้แด่บรรพบุรรุษที่ล่วงลับ อาจเรียกเป็นประเพณีในเทศกาลสารท คล้ายกับประเพณีสลากภัต ตานก๋วยสลาก หรือบุญเดือนสิบในภาคอื่นในประเทศไทย
แซนโฎนตา เป็นภาษาเขมร แปลว่า เซ่น โฎนตา แปลว่า ตายาย ความหมายก็คือการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยอาจเป็นญาติใกล้ชิดและหมายรวมถึงผู้ที่ล่วงลับไปแล้วแต่มิได้เจาะจงว่าเป็นใคร
๒. สถานที่
จังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์
๓. วันเวลาทางจันทรคติ
ประเพณีโฎนตาจะจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ เรียกว่าเป็นวันเบ็ณฑ์เล็ก หรือวันสารทเล็ก (ภาษาเขมรเรียก "ไถงเบ็ณฑ์ตู๊จ") ซึ่งถือเป็นวันแรกของการเริ่มงาน
วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ เรียกว่าเป็นวันเบ็ณฑ์ใหญ่ หรือวันสารทใหญ่ (ภาษาเขมรเรียก "ไถงเบ็ณฑ์ธม")
๔. ความเชื่อ
ชาวไทยเชื้อสายเขมร มีความเชื่อว่าในเดือน ๑๐ ตอนกลางคืนพระจันทร์จะอับแสงและมืดสนิทกว่าเดือนอื่นๆ มีความเชื่อว่ายมบาลจะปลดปล่อยดวงวิญญาณให้มาบนโลกมนุษย์ เพื่อมาเยี่ยมเยียนญาติพี่น้องและขอรับส่วนบุญกุศลจากญาติพี่น้องและบุคคลอื่นที่อุทิศส่วนกุศลให้
ในช่วงเทศกาลแซนโฎนตาบรรดาลูกหลาน ญาติพี่นน้องจะกลับมากราบไหว้พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และญาติผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือและนำสิ่งของรวมถึงเงินทองเพื่อให้ท่านได้นำไปทำบุญในวันแซนโฎนตา หรืออาจจะนำไปทำบุญและถวายที่วัดก็ได้
๕. การปฏิบัติ
วันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๐ หรือวันเบ็ณฑ์เล็ก แต่ละบ้านจะมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่บ้าน และนำภัตตาหารไปถวายพระที่วัดเพื่อให้พระสงฆ์รับรู้ว่ากำลังจะเข้าสู่ประเพณีและเป็นการบอกไปยังยมบาลให้เตรีียมปลดปล่อยดวงวิญญาณมายังโลก
การเซ่นไหว้อาจจัดก่อนเที่ยงหรือบ่ายก็ได้ โดยจัดที่ลานบ้าน ระเบียงบ้าน หรือห้องโถงในบ้าน โดยใช้สื่อผืนใหญ่ อาจมีฟูกทับอีกชั้นหนึ่ง วางหมอนไว้บนหังฟูกและมีผ้าขาววางทับ หัวฟูกจะหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
บนฟูกจะประกอบไปด้วยเครื่องหอม เครื่องสำอาง เครื่องแต่งกาย ส่วนรอบๆ จัดเป็นถาดสำหรับกับข้าว ขนมหวานหมากพลู เหล้า ยาสูบ
เมื่อพิธีเริ่มสมาชกในบ้านและเพื่อนบ้านใกล้เคียงจะมานั่งล้อมวงเสื่อ ผู้อวุโสเป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนอัญเชิญดวงวิญญาณบรรพบุรุษให้มารับเครื่องเซ่นไหว้และลูกหลานขอพรให้อยู่เย็นเป็นสุข ในระหว่างพิธีจะพูดคุยกันในสิ่งที่ดี และจะอัญเชิญดวงวิญญาณไปฟังเทศน์ฟังธรรมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ซึ่งเป็นวันเบ็ณฑ์ธมที่วัด
เมื่อถึงใกล้รุ่งวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ จะมีการไปทำบุญที่วัด เมื่อพระสงฆ์ลงจากโบสถ์ชาวบ้านจะพากันจุดธูปเทียน แบกกระเฌอโฎนตา รอบโบสถ์ ๓ รอบ แล้วเทอาหารลงลานหญ้ารวมกัน โดยมีความเชื่อว่าดวงวิญญาณผีบรรพบุรุษและดวงวิญญาณอื่นกำลังรอกินอาหารอีกครั้ง ครั้งสุดท้าย
๖. สิ่งที่ต้องเตรียม
แต่ละบ้านอาจเตรียมสิ่งของในการเซ่นนไหว้แตกต่างกัน แต่สิ่งที่ต้องมี ดังนี้
กรวยดอกไม้ขันธ์๕ ใส่พานพร้อมทั้งเงินทอง และของมีค่า
สำรับกับข้าวอย่างน้อย ๑ สำรับ
ขนมต่างๆ ได้แก่ ข้าวต้มห่อด้วยใบมะพร้าวอ่อน ข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขนมนางเล็ด เป็นต้น
น้ำดื่ม เหล้า ยาสูบ หมากพลู ตามสมควร
เทียน ๒ เล่ม จุดอย่าให้ดับ
ธูป สำหรับจุดระหว่างทำพิธี
โฆษณา