19 ก.ย. 2020 เวลา 12:00 • ไลฟ์สไตล์
ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญสมชื่อ
แต่ต้องยอมรับว่าผู้เชี่ยวชาญจะรู้เฉพาะในสาขาที่เขาอยู่เท่านั้น
เราทุกคนต่างก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในบางเรื่อง
บางคนเก่งตัวเลข บางคนเก่งการพูด บางคนเก่งวิชาการ
เรามักจะแก้ปัญหาต่างๆ ด้วยทักษะและความสามารถที่ตนเองเชี่ยวชาญ
เราชอบที่จะรู้สึกฉลาด รู้สึกดี รู้สึกว่าตัวเองมีประโยชน์
เมื่อได้ลงมือแก้ปัญหาบางอย่าง
อย่างไรก็ตาม
การแก้ปัญหาด้วยมุมมองเพียงด้านเดียวอาจไม่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด..
สิ่งนี้เรียกว่า “สัญชาตญาณแห่งมุมมองด้านเดียว”
ซึ่งเป็นชื่อบทหนึ่งของหนังสือ ‘จริงๆ แล้ว โลกดีขึ้นทุกวัน’
เขียนโดย ฮันส์ โรสลิง ร่วมกับโอลา โรสลิง และอันนา เรินน์ลุนด์
ผมชอบคำเปรียบเปรยที่อยู่ในหนังสือเล่มนี้ว่า
“ถ้าคุณให้ค้อนแก่เด็ก ทุกอย่างจะกลายเป็นตะปู”
ความหมายคือ เด็กรู้แค่ว่าค้อนมีไว้ทุบ แต่ไม่รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควรทุบ
นั่นคือเด็กก็จะทุบทุกอย่างที่ขวางหน้า
จริงๆ แล้วพวกเราก็อาจจะเหมือนกับเด็ก
บางคนมีค้อน บางคนมีเลื่อย บางคนมีไขควง
ต่างคนต่างมีเครื่องมือไม่เหมือนกัน
ต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแต่ละคน
ต่างคนต่างก็อยากจะแก้ปัญหาด้วยความรู้ความสามารถที่ตนเองมี
การร่วมกันแก้ปัญหานด้วยมุมมองที่ต่างกัน เป็นได้ทั้งเรื่องดีและไม่ดี
ถ้ามัวแต่ทะเลาะกัน เพราะมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน นั่นคงไม่ใช่เรื่องที่ดี
แทนที่จะเอาชนะกันด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในสาขาของตน
มันจะดีกว่าไหม
ถ้าเรามาเติมเต็มกันและกันด้วยความรู้และมุมมองในแต่ละด้านที่พวกเรามี
เพราะบ้านไม่อาจสร้างได้ด้วยค้อนเพียงอย่างเดียว..
หากต้องเกิดจากการค้อน เลื่อย ไขควง และเครื่องมืออื่นๆ อีกมากมาย
ซึ่งทั้งหมดต้องถูกนำมาใช้ร่วมกัน
ชอบกดไลก์ ใช่กดแชร์ เพื่อเป็นกำลังใจให้นักเขียน
‘1 คนอ่าน 100 คนรู้’ ร่วมแบ่งปันสิ่งดีๆ ไปด้วยกัน ผ่านการอ่านหนังสือ
ติดตาม Book Borrow ได้ใน
IG : @bookborroww
Blockdit : bookborroww
โฆษณา