19 ก.ย. 2020 เวลา 14:22 • ครอบครัว & เด็ก
👍ผลลัพธ์สำคัญพอๆกับกระบวนการ
ในภาพคือผลลัพธ์ค่ะ...แต่กระบวนการทำเด็กๆจะได้เรียนรู้อะไรบ้างแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน ซึ่งแล้วแต่วัตถุดิบ แล้วแต่บริบทแวดล้อมอีกที...พ่อแม่จะเห็นได้ต้องคอยใส่ใจสังเกต และช่วยลูกถอดบทเรียนด้วยนะคะ
😊วันนี้จะขอยกตัวอย่างจากผลงานในภาพนะคะ
กระบวนการที่แฝงการเรียนรู้
1. เด็กเป็นผู้คิดริเริ่มเอง (แม่ต้องมองให้เห็น:บ้านนี้แม่รู้จากบันทึกที่ลูกเขียนค่ะ)
2. แม่ช่วยบอก/เตือนให้ลูกเก็บวัสดุที่ต้องการใช้ให้ดี ถ้าวางไม่ถูกที่ อาจถูกเก็บลงถังขยะ หลังจากประดิษฐ์เสร็จต้องเก็บกวาดด้วย (หัดให้เก็บข้าวของให้เป็นที่ ช่วยกันรักษาความสะอาด)
3. ขณะที่ประกอบชิ้นส่วน(นั่งทำอยู่มุมส่วนตัว แม่นั่งอ่านหนังสือมุมของแม่ มองเห็นกัน) น้องเกิดความหงุดหงิดที่ยังไม่สามารถทำได้ตามที่วาดหวังไว้ เช่น จัดขายาวไม่เท่ากัน หุ่นล้ม คอยาวเกินคอตก เป็นต้น น้องแสดงอาการโวยวาย พูดสบถ กล่าวโทษนั่นนี่...จังหวะนี้ แม่เลือกทำได้หลายอย่างซึ่งจะเกิดบทเรียนที่ต่างกันไป
🙋เข้าไปช่วยทำเพื่อให้ได้ชิ้นงาน และเค้าจะได้สงบสติอารมณ์ได้
🙋ช่วยเตือนสติ ให้รู้ว่าเค้ากำลังมีอารมณ์หงุดหงิด ซึ่งไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา...ชี้ชวนให้คิดแก้ปัญหาที่ตรงจุด
🙋สั่งสอนเรื่องพูดสบถหรือโวยวายเสียงดัง
****บ้านนี้เลือกข้อ2 ค่ะ...ได้บทเรียนคือ
เมื่อเค้ารู้ตัวว่ากำลังหงุดหงิด และเข้าใจว่าถึงโวยวายไปก็ไม่ได้ทำให้งานสำเร็จ แม่แนะว่าลองมองดูผลงานอีกที มันมีข้อผิดพลาดตรงไหน ลองรื้อแก้ใหม่ก็ได้ไม่ต้องรีบ เพราะถ้ารีบเกิน(อยากได้ผลงานไวๆ) จะมองไม่เห็นจุดที่ผิดพลาดก็จะคิดแก้ปัญหาไม่ถูกจุด ผลงานก็ไม่ดีดังใจ...เงียบไปครู่ใหญ่ๆก็ตะโกนบอกแม่ว่า "ในที่สุดก็สำเร็จ"
แม่แสดงความยินดี และถามต่อว่า ทำยังไงถึงสำเร็จได้ เค้าตอบว่า เพราะ หยุดโวยวาย แล้วตั้งใจทำเงียบๆ ไม่ใช้อารมณ์ ให้ใช้ความคิด👼
โฆษณา