29 ก.ย. 2020 เวลา 13:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
LIGANDAL
ถ้ามีเด็กหนุ่มวัย 21 ปีมานำเสนอแนวคิดของบริษัทไบโอเทคโนโลยี ด้วยการตัดต่อยีนที่ไม่เหมือนใคร คุณจะลงทุนกับเค้าไหมครับ?
ไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าคุณจะตอบว่า “ไม่” เพราะ Andre Watson ต้องใช้เวลา 4 ปีกว่าที่เค้าจะสามารถระดมทุนได้ เรื่องราวของหยาดเหงื่อและน้ำตา สู่บริษัทไบโอเทคที่น่าจับตามอง เป็นอย่างไร Innowayถีบจะเล่าให้คุณฟัง
1) เด็กหนุ่มกับฝันที่ยิ่งใหญ่
Andre Watson เริ่มต้นก่อตั้งบริษัท Ligandal ตอนอายุ 22 หลังจากที่เรียนจบวิศกรรม ชีวการแพทย์จาก Rensselaer Polytechnic Institute เค้าตัดสินใจหอบเสื่อผืนหมอนใบย้ายมาอยู่ที่ซิลิคอน วัลเล่ย์ ด้วยความหวังที่ว่าที่นี้ เค้าจะสามารถได้รับเงินทุนสนับสนุน เพื่อสนับสนุนฝันของเค้า “ที่จะทำให้ประชากรของโลกมีสุขภาวะที่ดี โดยความสามารถที่จะโปรแกรมการทำงานของระบบชีวภาพได้ตามต้องการ”
ด้วยเงินที่มีเพียง 1000 เหรียญ Andre ต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อที่จะหาเงิน เพื่อมาใช้พัฒนาเทคโนโลยีของเค้า คำถามจากนักลงทุนที่ว่าทำไมบริษัทใหญ่ๆ จึงไม่สามารถคิดวิธีเหมือนของเค้าได้?
หลายครั้งที่ Andre รู้สึกว่าการที่เค้าไม่ได้มี background มาจากมหาวิทยาลัยที่ชื่อดัง หรือเป็นลูกศิษย์ของโปรเฟสเซอร์ชื่อก้องโลกทำให้เค้าไม่ได้รับความเชื่อมั่น กว่าที่เค้าจะได้รับเงินลงทุนก้อนแรกก็ต้องใช้เวลาเกือบ 4 ปี
แต่แน่นอนความตั้งใจและการต่อสู้-องเค้าไม่สูญเปล่า ปัจจุบัน Lidalgan สามารถระดมทุนได้แล้วกว่า 15 ล้านเหรียญ และยังได้รับคัดเลือกเป็น startup ที่น่าจับตามองของปี 2019 โดยนิตรสาร C&EN อีกด้วย
Andre Watson ผู้ก่อตั้ง Ligandal
2) เทคนิคที่แตกต่างของ Ligandal!!
สิ่งที่ Ligandal พยายามจะทำคือการตัดต่อยีนและนำส่งเข้าสู่เซลล์ในรางกายเพื่อที่จะทำการรักษาโรค
ซึ่งปัญหาของบริษัทที่ใช้ CRISPR เทคโนโลยีมักใช้วิธีการนำส่งแบบทั่วไปซึ่งมีข้อจำกัด เช่น ใช้ไขมันในการเป็นแคปซูลนำส่ง แต่ระบบนี้นำส่งได้เฉพาะบริเวณคือตับ หรือการใช้กระบวนการ electroporation (การใช้ประจุไฟฟ้าช่วยในการเปิดผนังเซลล์ใก้ CRISPR วิ่งเข้าสู่ภายในได้)
แต่คอนเซ็ปท์ของ Andre นั้นเค้าใช้กรดอะมิโนที่ประกอบเป็นสายยาวๆ เรียกว่า เปปไทด์ (peptides) มาพันรอบยีนที่ผ่านการแก้ไขให้มีลักษณะเป็นอนุภาคขนาดเล็ก ซึ่งสายเป็ปไทด์นี้สามารถทำการดีไซน์ให้เหมาะสมกับเซลล์ที่ต้องการโจมตีหรือรักษานั้นเอง
cr: C&EN
3) วิชาการนิดๆกับ CRISPR?
CRISPR (อ่านออกเสียงว่า crisper) เป็นวิธีการที่ใช้ในการปรับเปลี่ยนลำดับของยีน ซึ่งเจ้า CRISPR เนี้ยจะมีโปรตีนชนิดพิเศษที่ขื่อ Cas9 ทำหน้าที่เหมือนกับกรรไกร ที่สามารถส่งไปตัดส่วนของ DNA ที่ต้องการสลับสับเปลี่ยนออกมา
โดยเทคนิคนี้ก็เรียกได้ว่ามีประโยชน์หลากหลายโดยเฉพาะวงการแพทย์ อาทิเช่น ใช้ในการตัดต่อยีนที่ไม่ดีออก (โรคหลายๆอย่างก็เกิดจากการบกพร่องของยีน) หรือการจะใช้ในการรักษาหรือป้องกันการแพร่กระจายของโรค (เหมือนอย่างการพยายามพัฒนาวัคซีนสำหรับ COVID ในปัจจุบัน)
ซึ่งการพัฒนา CRISPR เทคโนโลยีนั้นก็ได้จากการเรียนรู้จากธรรมชาติ โดยเฉพาะกระบวนการของแบคทีเรียหรือสัตว์เซลล์เดียวที่ใช้ในการทำลายไวรัส โดยแบคทีเรียเหล่านี้ก็จะผลิตโปรตีนที่มีความสามารถพิเศษในการตัดทำลายผู้บุกรุกนั้นเอง
Cr: MRS Bulletin
4) Ligandal กับความสามารถในการสร้างและส่งเมโลกุลของยีนที่ผ่านการตัดต่อเข้าสู่ร่างกาย
Ligandal ใช้การทำงานร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์และนักวิทยาศาตรบัณฑิตในการสร้างโมเลกุลที่จะใช้ในการรักษาขึ้นโดยมีขั้นตอนคร่าวๆคือ
> ออกแบบเจ้า โมเลกุลขนาดเล็กของพวกเค้าว่าจะให้ทำงานอย่างไร? เช่น ให้ทำงานเป็น T cell ไปจัดการกับเหล่าร้าย เป็นต้น
>จากนั้นก็จะทำการวิเคราะห์ว่าจะจัดการนำส่งโมเลกุลดังกล่าวไปตรงจุดไหน อย่างไร
>เมื่อได้จุดที่ต้องการให้ไปแล้ว Ligandal ก็มาเริ่มออกแบบยานพาหนะให้มีพื้นผิวที่สามารถยึดเกาะบริเวณที่ต้องการได้ แล้วจึงสังเคราะห์โปรตีนให้มีลักษณะตรงตามที่คำนวณ เพื่อให้ไปจับเซลล์ยังจุดที่กำหนด
> หลังจากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของหุ่นยนต์บาร์เทนเดอร์ในการเขย่าส่วนผสมต่างๆให้ลงตัวที่สุด ให้ได้ยานพาหนะที่สมบูรณ์แข็งแรงสามารถไปยึดเกาะเซลล์ที่ต้องการได้
•••
ขณะนี้ Ligandal กำลังวุ่นวายอยู่กับการออกแบบเปปไทด์ของพวกเค้า เพื่อใช้ในการต่อสู้กัลเจ้าโควิด ซึ่งจากผลการทดลองคำนวณด้วยคอมพิวเตอร์ก็จัดว่ามีความหวังที่เดียว
ตอนนี้คงได้แต่ช่วยกันเป็นกำลังใจให้ทีมงานสามารถสังเคราะห์นาโนโมเลกุลด้วยวิธีของพวกเค้า แล้วผ่านการทดสอบให้ได้โดยเร็ว ✌️
ผลการทดลองประสิทธิภาพการหยุดไม่ให้ไวรัสไปยึดเกาะกับเซลล์ ซึ่งเป็ปไทด์ชนิดที่ 5 และ 6 ทำงานได้ดีแม้ใช้ความเข้มข้นไม่มากนะ
เรื่องราวของ Andre จะว่าไปยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้น บริษัทและความคิดเจ๋งๆของเค้าอาจจะสามารถทำให้พวกเราต่อสู้กับโรคร้ายต่างๆได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้น
การไม่ยอมแพ้และมีเป้าหมายที่ชัดเจน (Andre เคยกล่าวว่าความมุ่งมั่นของเค้าเพื่อการดูแลรักษาให้คนทั้งโลกหายจากการเจ็บป่วยได้ดีขึ้น เรื่องเงินนั้นเป็นความสำคัญลำดับรองลงไป) แม้จะต้องแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แต่เมื่อได้พิสูจน์ว่าถ้าคุณมีของจริงๆ ย่อมมีที่ยืนเปิดกว้างสำหรับคุณเสมอ
Meet the founder and CEO of justentrepreneurs.co.uk, 28 Aug 2020
What is CRISPR, and how has it changed genetic research?, weforum.org, 30 Oct 2015
What Is CRISPR?, livescience.com, 21 Apr 2018
Peptide Antidotes to SARS-CoV-2 (COVID-19), biorxiv.org, pre-printed article
C&EN’s 2019 10 Start-Ups to Watch, cen.acs.org, 11 Nov 2019
โฆษณา